ปัจจัยด้านช่องทางการสื่อสารตลาดออนไลน์ที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจเลือกใช้ บริการห้องพักโรงแรม 5 ดาวในเขตกรุงเทพมหานครของนักท่องเที่ยวชาวไทยในช่วงโควิด-19
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาปัจจัยส่วนบุคคลที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกใช้บริการห้องพักโรงแรม 5 ดาวในเขตกรุงเทพมหานคร ของนักท่องเที่ยวชาวไทยในช่วงโควิด-19 2) ศึกษาปัจจัยด้านช่องทางการสื่อสารตลาดออนไลน์ ที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจเลือกใช้บริการห้องพักโรงแรม 5 ดาวในเขตกรุงเทพมหานคร ของนักท่องเที่ยวชาวไทยในช่วงโควิด-19 การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ โดยมีกลุ่มตัวอย่างเป็นนักท่องเที่ยวชาวไทย อายุระหว่าง 31-35 มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือนประมาณ 50,001 – 75,000 บาท และมีความถี่ในการเข้าใช้บริการอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง ในรอบ 1 ปีที่ผ่านมา ผ่านเครื่องมือการวิจัยแบบสอบถามจำนวน 400 ชุด โดยใช้สถิติ t-test One Way ANOVA และวิเคราะห์การถดถอยแบบพหุคูณ
ผลการวิจัยพบว่า 1) ปัจจัยส่วนบุคคลที่แตกต่างกัน มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจเลือกใช้บริการห้องพักโรงแรม 5 ดาวในเขตกรุงเทพมหานคร ของนักท่องเที่ยวชาวไทยในช่วงโควิด-19 ไม่แตกต่างกันทั้งในด้านของเพศ ระดับการศึกษา อาชีพ และรายได้เฉลี่ยต่อเดือน ซึ่งมีเพียงด้านเดียวที่แตกต่างกัน ได้แก่ ด้านของอายุ ทั้งในด้านการค้นหาข้อมูล ด้านการประเมินทางเลือก และด้านการตัดสินใจซื้อ ที่มีอิทธิพลต่อกระบวนการตัดสินใจ 2) ปัจจัยด้านช่องทางการสื่อสารตลาดออนไลน์ มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจเลือกใช้บริการห้องพักโรงแรม 5 ดาวในเขตกรุงเทพมหานคร ของนักท่องเที่ยวชาวไทยในช่วงโควิด-19 โดยรวมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 (p < 0.05) ซึ่งปัจจัยด้านการสื่อสารการตลาดออนไลน์ ที่มีอิทธิพลมากที่สุดคือ ด้านสื่อสังคมออนไลน์ รองลงมาเป็นด้านเว็บไซต์ ด้านเสิร์ชเอนจิน ด้านตัวแทนการจัดการท่องเที่ยวออนไลน์ และด้านอีเมล์ ตามลำดับ
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
เอกสารอ้างอิง
กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. (2563). COVID-19 กับผลกระทบต่อการท่องเที่ยวไทย. เรียกใช้เมื่อ 15 กรกฎาคม 2563, จาก https://bit.ly/3bcDZZZ.
เขมธัชกานท์ สกุลกฤติธีนันท์ และณารีญา วีระกิจ. (2561). การใช้สื่อสังคมออนไลน์เพื่อการตลาดของโรงแรมอิสระระดับ 4-5 ดาว ในจังหวัดภูเก็ต. Veridian E-Journal, Silpakorn University, 11(3), 345-362.
ฉัตรอนงค์ คำปล้อง. (2563). การสื่อสารการตลาดดิจิทัล ขององค์กรที่ดำเนินธุรกิจไมซ์ (MICE) กรณีศึกษาศูนย์ประชุมและนิทรรศการระดับมาตรฐานสากล ในประเทศไทย. ใน การค้นคว้าอิสระนิเทศศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการสื่อสารการตลาดดิจิทัล. มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.
ชิว หลี่. (2558). ปัจจัยการสื่อสารแบบปากต่อปากทางอิเล็กทรอนิกส์และปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเลือกที่พักของนักท่องเที่ยวชาวจีนในเขตกรุงเทพมหานคร. ใน การศึกษาเฉพาะบุคคลบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.
ธงไชย สุรินทร์วรางกูร และ สุธา พงศ์ถาวรภิญโญ. (2560). ธุรกิจโรงแรมในพื้นที่กรุงเทพมหานครกับการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการตลาด และการส่งเสริมการขาย. วารสารวิชาการการจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศและนวัตกรรม, 4(1), 75-83.
ธนาคารกรุงศรีอยุธยา. (2561). ธุรกิจโรงแรม. เรียกใช้เมื่อ 10 เมษายน 2563 จาก https://bit.ly/2Z9N1nS
ธนาคารไทยพาณิชย์. (2562). เปิดคัมภีร์ Digital Marketing สูตรเฉพาะธุรกิจโรงแรม. เรียกใช้เมื่อ 9 มีนาคม 2563 จาก
https://scbsme.scb.co.th/sme-inspiration-detail/digital-marketing-for-hotel.
ธนาคารไทยพาณิชย์. (2563). Future of Marketing: การตลาดดิจิทัล อาวุธโลกธุรกิจหลังโควิด-19. เรียกใช้เมื่อ 7 เมษายน 2564 จาก https://www.scb.co.th/th/personal-banking/stories/business-maker/future-of-marketing.html
ประภัสสร บุตรดา. (2559). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจจองห้องพักผ่านบริษัทนำเที่ยวออนไลน (Online Travel Agent) ของโรงแรมระดับ 4 ดาว ในเขตกรุงเทพมหานคร. ใน การค้นคว้าอิสระศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการอุตสาหกรรมการบริการและการท้องเที่ยว. มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.
วิชุดา ไชยศิวามงคล ลำปาง แม่นมาตย์ และวัชรา จันทาทับ. (2560). สภาพปัจจุบันของคุณภาพสารสนเทศบนเว็บไซต์พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ ในบริบทประเทศไทย กรณีศึกษาธุรกิจค้าปลีกและธุรกิจบริการที่พัก. สารสนเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 35(4), 24-54.
ศศิโสม ดวงรักษา. (2558). เปรียบเทียบปัจจัยและพฤติกรรมที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจเลือกใช้บริการโรงแรมระดับ 4-5 ดาวของนักท่องเที่ยวชาวไทยและชาวต่างชาติในเขตเมืองพัทยาจังหวัด ชลบุรี. ใน การศึกษาค้นคว้าอิสระศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการอุตสาหกรรมการบริกาสาขาวิชาการจัดการอุตสาหกรรมการบริการและการท่องเที่ยว. มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.
ศูนย์วิจัยกสิกรไทย. (2561). โรงแรมแข่งดุเดือดปรับได้ไปรอด. เรียกใช้เมื่อ 8 มีนาคม 2563 จาก https://bit.ly/3AYhF0H.