แนวทางที่เหมาะสมในการเสนอขอพระราชทานอภัยโทษเป็นการทั่วไปหรืองานสาธารณประโยชน์แทนค่าปรับ

Main Article Content

อำนาจ ศรีวะวงค์
บัณฑิต ขวาโยธา

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ


          กฎหมายอภัยโทษในปัจจุบันกำหนดให้จำเลยที่ทำงานบริการสังคมหรืองานสาธารณประโยชน์แทนค่าปรับ จะได้รับการอภัยโทษต้องไม่ทำผิดเงื่อนไขหรือคำสั่งศาล ไม่ว่าจะด้วยเหตุผลใด ๆ ก็ตาม              หากไม่ผิดเงื่อนไข แม้ยังไม่ทำงานใช้หนี้แทนค่าปรับก็ได้รับอภัยโทษ บทความวิจัยนี้จึงได้ศึกษา                 ความเหมาะสมของการอภัยโทษกรณีดังกล่าว โดยมีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาแนวคิด ทฤษฎี เกี่ยวกับการอภัยโทษตามกฎหมายไทย 2) เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบการจำกัดสิทธิของจำเลยในการได้รับอภัยโทษ กรณีจำเลยทำงานใช้หนี้แทนค่าปรับตามกฎหมายไทยและต่างประเทศ 3) เพื่อศึกษาและวิเคราะห์ปัญหาหรือผลกระทบจากการนิยามความหมายคำว่า ผู้ทำงานบริการสังคมหรือทำงานสาธารณประโยชน์แทนค่าปรับ ตามมาตรา 3 แห่งพระราชกฤษฎีกาพระราชทานอภัยโทษในระหว่างปี พ.ศ. 2563 – 2565 4) เพื่อเสนอแนวทางที่เหมาะสมในการเสนอขอพระราชทานอภัยโทษกรณีดังกล่าว โดยใช้รูปแบบการวิจัยเชิงคุณภาพ ด้วยการค้นคว้าข้อมูลที่เกี่ยวกับการอภัยโทษของประเทศไทย อังกฤษและญี่ปุ่น แล้ววิเคราะห์เปรียบเทียบกับประเด็นปัญหาพร้อมนำเสนอแนวทางแก้ไข


          ผลการวิจัยพบว่า การอภัยโทษกรณีดังกล่าวไม่มีความเหมาะสม เป็นการจำกัดสิทธิจำเลย                        ไม่สอดคล้องต่อเจตนารมณ์ของกฎหมายหรือพระราชประสงค์ของพระมหากษัตริย์ ซึ่งส่งผลกระทบต่อจำเลยและผู้เกี่ยวข้อง จึงเสนอแก้ไขพระราชกฤษฎีกาพระราชทานอภัยโทษในปัจจุบัน ดังนี้ 1) นิยามความหมายของผู้ทำงานบริการสังคมหรืองานสาธารณประโยชน์แทนค่าปรับตามมาตรา 3 โดยยกเลิกถ้อยคำ “…โดยผู้นั้นได้ปฏิบัติตามคำสั่งศาลและมิได้กระทำผิดเงื่อนไขแต่อย่างใด” 2) เพิ่มเติมมาตรา 5 (2) ด้วยถ้อยคำ “…โดยให้ผู้นั้นหลุดพ้นจากหนี้ค่าปรับที่ต้องทำงานแทนดังกล่าว”           

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

เอกสารอ้างอิง

กฤษณ์ วงศ์วิเศษธรและกันตพิชญ์ อินชมพู. (2561). ผลทางกฎหมายของพระราชกฤษฎีกาพระราชทานอภัยโทษต่อการกักขังแทนค่าปรับ. วารสารสังคมศาสตร์วิจัย, 9(2), 347-361.

เกียรติขจร วัจนะสวัสดิ์. (2551). คำอธิบายกฎหมายอาญาภาค 1. (พิมพ์ครั้งที่ 10). กรุงเทพมหานคร: พลสยาม พริ้นติ้ง.

จรัญ โฆษณานันท์. (2547). นิติปรัชญา. (พิมพ์ครั้งที่ 13). กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

เจษฎา พรไชยา. (2546). พระราชอำนาจของพระมหากษัตริย์ของประเทศไทยกับประเทศอังกฤษ. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ชฎารัตน์ ทองรุต. (2556). ความชอบธรรมของอำนาจในการอภัยโทษ. ใน วิทยานิพนธ์ปริญญานิติศาสตรมหาบัณฑิต สาขานิติศาสตร์. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

เพ็ญจันทร์ โชติบาล. (2533). พระราชอำนาจในการพระราชทานอภัยโทษของพระมหากษัตริย์ไทย. ใน วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขานิติศาสตร์. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

วิไล อรุณเรืองศิริเลิศ. (2561). การบังคับโทษปรับตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 29/1 : ปัญหา อุปสรรค และแนวทางในการปฏิบัติงาน. เอกสารวิชาการรายบุคคลการอบรมหลักสูตร“ผู้พิพากษาหัวหน้าศาล” รุ่นที่ 17 สถาบันพัฒนาข้าราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรม สำนักงานศาลยุติธรรม เรียกใช้เมื่อ 1 ตุลาคม 2566 จาก https://library.coj.go.th/pdf-view.html?fid=12401&table=files_biblio.

ศิริ ปะทะขีนัง. (2550). การอภัยโทษ : ศึกษาปัญหาทางกฎหมายในการอภัยโทษ. ใน วิทยานิพนธ์ปริญญานิติศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชานิติศาสตร์. มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิต.

สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ป.อ.ปยุตตฺโต). (2560). ธรรมของพระราชา. ธรรมทานบุญกิริยาบรมราชูทิศ วันพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร วันพฤหัสบดีที่ 26 ตุลาคม 2560. เรียกใช้เมื่อ 1 ตุลาคม 2566 จาก https://www.watnyanaves.net/th/book_detail/640.

สุรศักดิ์ ลิขสิทธิ์วัฒนกุล. (2552). พระราชอำนาจในการพระราชทานอภัยโทษ. วารสารวิชาการศาลปกครอง, 9(1), 25-56.

อัจฉรียา ชูตินันท์. (2555). อาชญาวิทยาและทัณฑวิทยา. กรุงเทพมหานคร: วิญญูชน.

เอกูต์ เอช. (2478). กฎหมายอาชญา. พระนคร: โรงพิมพ์อักษรนิติ.

Kattumuri, R., & Holm, A. K. (2011). Reconciliation and transitional justice: the contribution of forgiveness towards healing and restoration. Global Civil Society 2011: Globality and the Absence of Justice, 38-47.