การประเมินโครงการพัฒนาคุณภาพการศึกษาโดยยึดกลุ่มเครือข่ายสถานศึกษาเป็นฐาน

Main Article Content

มติภา ชัยชิต
ระพีพัฒน์ หาญโสภา

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ


          บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อการประเมิน CIPPIEST Model โครงการพัฒนาคุณภาพการศึกษาโดยยึดกลุ่มเครือข่ายสถานศึกษาเป็นฐาน สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาหนองคาย เขต 1 เป็นการวิจัยประเมินเชิงระบบผู้วิจัยได้ประยุกต์ใช้ CIPPIEST ของ Stufflebeam กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เลือกแบบเจาะจง แบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม 1) ผู้บริหารการศึกษา ศึกษานิเทศก์ และผู้รับผิดชอบโครงการ ผู้ให้ข้อมูลเชิงปริมาณ จำนวน 5 คน และเชิงคุณภาพ 3 คน 2) ผู้บริหารสถานศึกษา ครู และผู้เข้าร่วมโครงการ ในกลุ่มเครือข่ายสถานศึกษาที่ 1 (หนองคาย 1) ผู้ให้ข้อมูลเชิงปริมาณ จำนวน 122 คน และเชิงคุณภาพ 13 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลมี 2 ประเภท คือ แบบสอบถาม และแบบสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและการวิเคราะห์เนื้อหาข้อมูลเชิงประจักษ์


          ผลการวิจัยพบว่า การประเมินโครงการฯ ระหว่างปีการศึกษา 2563 – 2565 โดยใช้รูปแบบการประเมิน CIPPIEST Model ประกอบด้วย 1) ด้านบริบท พบว่า ข้อมูลสำคัญในการกำหนดวัตถุประสงค์ เป้าหมายของโครงการ ความเป็นไปได้ของโครงการ มีความชัดเจน เหมาะสม 2) ด้านปัจจัยนำเข้า พบว่า ปัจจัยต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับโครงการมีความเหมาะสมช่วยให้การดำเนินงานโครงการบรรลุจุดมุ่งหมายที่กำหนดไว้ รูปแบบการดำเนินการ ทางเลือกที่ได้เลือกสรรแล้วมีความเหมาะสมและสามารถปฏิบัติได้ 3) ด้านกระบวนการ พบว่า การปฏิบัติงานเป็นไปตามแผนที่กำหนดไว้ สามารถที่จะดำเนินกิจกรรมได้ตามโครงการ ข้อมูลและข้อบกพร่องของการดำเนินงานตามขั้นตอนต่าง ๆ ได้รับการแก้ไข และ 4) ด้านผลผลิต เมื่อสิ้นสุดโครงการเป็นการตรวจสอบคุณภาพของผลลัพธ์การดำเนินงานตามวัตถุประสงค์ของโครงการและการประเมินผลสำเร็จของโครงการ ซึ่งเป็นภาคขยายด้านผลผลิต ได้แก่ การประเมินด้านผลกระทบ ประสิทธิผล ความยั่งยืน และการถ่ายโยงความรู้ ผ่านเกณฑ์การประเมินทุกด้าน ทุกตัวชี้วัด

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

เอกสารอ้างอิง

เชาว์ อินใย. (2555). การประเมินโครงการ. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

นฤมล เอกธรรมสุทธิ์ และสิรารักษ์ เจริญศรีเมือง. (2564). แนวทางการประยุกต์ใช้รูปแบบการประเมิน CIPPiest ในการประเมินโครงการทางสุขภาพ. ราชาวดีสารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีสุรินทร์, 11(2), 137- 148.

ระพีพัฒน์ หาญโสภา และคณะ. (2563). การพัฒนาทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 สำหรับโรงเรียนร่มโพธิ์ทองธรรมวิทย์. วารสารสังคมศาสตร์และมานุษยวิทยาเชิงพุทธ วัดวังตะวังตก, 5(11), 18-31.

รัตนะ บัวสนธ์. (2556). CIPP และ CIPPIEST มโนทัศที่คาดเคลื่อนและถูกต้องในการใช้. วารสารศิลปากรศึกษาศาสตร์วิจัย, 5(2), 7-24.

รัตนะ บัวสนธ์. (2558). วิจัยเชิงคุณภาพทางการศึกษา. (พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ลัดดา ภู่เกียรติ. (2561). การเสริมสร้างพลังอำนาจของครูผ่านการศึกษาบทเรียนที่เชื่อมโยงด้วยการทำวิจัยปฏิบัติการและการเรียนรู้แบบร่วมมือรวมพลังในชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ: วิถีทางของโรงเรียนสาธิตพัฒนา. งานมหากรรมทางการศึกษาเพื่อพัฒนาวิชาชีพครู ครั้งที่ ครั้งที่ 12 ณ ศูนย์แสดงสินค้าอิมแพค เมืองทองธานี. 17-19 ตุลาคม 2561.

ศิริชัย กาญจนวาส. (2558). โมเดล CIPP ที่เปลี่ยนไป: ความหมาย ความสำคัญ และพัฒนาการ. สารสมาคมวิจัยสังคมศาสตร์แห่งประเทศไทย, 2(1), 3-10.

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาหนองคาย เขต 1. (2563). แผนปฏิบัติการประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2563. หนองคาย: กลุ่มนโยบายและแผน สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาหนองคาย เขต 1.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2564). แผนพัฒนาการศึกษาขั้นพื้นฐาน (พ.ศ.2564-2565). กรุงเทพมหานคร: สำนักนโยบายและแผนการศึกษาขั้นพื้นฐาน สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ.

Best, J. W. (1981). Research in Education (3rd ed.). Englewood cliffs, New Jersey: Prentice-Hall.

Stufflebeam D. L., and Shinkfield A J. (2007). Evaluation theory, models & applications. San Francisco: Jossey-Bass.

Stufflebeam D. L., and Shinkfield A J (2015). CIPP Evaluation Model Checklist: A Tool for Applying the CIPP Model to Assess Projects and Programs. Western Michigan University. Retrieved from https://shorturl.asia/8IYaS.