รูปแบบการบริหารการศึกษาตามหลักพุทธบูรณาการในสถานการณ์การระบาดของโรคโควิด-19 ของสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่ การศึกษามัธยมศึกษา

Main Article Content

ธีร์ ภวังคนันท์
สิน งามประโคน
สมศักดิ์ บุญปู่

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ  


         บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพการบริหารการศึกษาในสถานการณ์การระบาดของโรคโควิด-19 2) พัฒนารูปแบบการบริหารการศึกษาตามหลักพุทธบูรณาการในสถานการณ์การระบาดของโรคโควิด-19 3) เสนอรูปแบบการบริหารการศึกษาตามหลักพุทธบูรณาการในสถานการณ์การระบาดของโรคโควิด-19 ของสถานศึกษา โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบผสานวิธี ได้แก่ การวิจัยเชิงปริมาณ ใช้กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 361 คน สถิติที่ใช้ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิจัยเชิงคุณภาพ สัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 10 คน และสนทนากลุ่ม จำนวน 10 คน


         ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพการบริหารการศึกษาในสถานการณ์การระบาดของโรคโควิด-19 ได้กำหนดแนวทางปฏิบัติตามระเบียบของกระทรวงสาธารณสุข ควบคุมจำนวนนักเรียนที่มาร่วมกิจกรรม และจัดการเรียนการสอนในรูปแบบของสื่อออนไลน์ 2) พัฒนารูปแบบการบริหารการศึกษาตามหลักพุทธบูรณาการของโรคโควิด-19 ประกอบด้วย 4 ส่วน คือ (1) ส่วนนำ สภาพแวดล้อม วัตถุประสงค์ในการจัดการเรียนการสอน และหลักการบริหาร คือ คน งบประมาณ วัสดุอุปกรณ์ การจัดการ และการติดต่อสื่อสาร (2)  ตัวแบบ ได้แก่ ระบบงานการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19  ใน 6 ด้าน คือบูรณาการร่วมกับหลักสัมมัปปธาน 4 ได้แก่ ป้องกัน ปราบปราม ลดความเสี่ยง รักษา พัฒนาดูแลร่างกายให้มีภูมิคุ้มกัน อนุรักษ์และวิธีป้องกัน (3) ขั้นตอนการนำไปใช้ ตามโครงสร้างขอบข่ายของการบริหาร             (4) เงื่อนไขความสำเร็จในบริบทของการป้องกันโควิด-19 3) เสนอรูปแบบการบริหารการศึกษาตามหลักพุทธบูรณาการในสถานการณ์การระบาดของโรคโควิด-19 ของสถานศึกษา ด้วยรูปแบบ 1 ส่วนนำ 2 ตัวแบบ 3 ขั้นตอนการนำไปใช้ 4 เงื่อนไขความสำเร็จ ปฏิบัติตามองค์ความรู้ “SAVE Model”

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

เอกสารอ้างอิง

กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. (2563). คู่มือการปฏิบัติสำหรับสถานศึกษา ในการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคโควิด 19. นนทบุรี : บริษัท คิว แอดเวอร์ไทซิ่ง จำกัด.

นภชา สิงห์วีรธรรม และนพมาส เครือสุวรรณ. (2563). ความจำเป็น กลุ่มเสี่ยง และการจัดตั้งศูนย์ฟื้นฟูและดูแลประชาชนกลุ่มเสี่ยง จากโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) นอกสถานพยาบาล : กรณีศึกษาวิทยาลัยเทคโนโลยีทางการแพทย์และสาธารณสุข กาญจนาภิเษก. วารสารเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้, 7(3), 1-8.

นันทิยา นุ่นจุ้ย และคณะ. (2565). การบริหารจัดการศึกษาในสถานการณ์โควิด-19 ของโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเพชรบุรี เขต 2. Journal of Roi Kaensarn Academi, 7(11), 340-356.

เพียงเพ็ญ จิรชัย. (2550). การพัฒนารูปแบบการจัดโครงสร้างองค์กรตามแนวการกระจายอำนาจของสถานศึกษาขั้นพื้นฐานสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. ใน วิทยานิพนธ์ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาบริหารการศึกษา. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สำนักคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ. (2562). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542. กรุงเทพมหานคร : พริกหวานกราฟฟิก.

สิรภพ เหล่าลาภะ. (2545). พุทธศาสตร์การเมือง. กรุงเทพมหานคร : สหธรรมิก.

Pioneer. (2563). การกำหนดกลุ่มตัวอย่าง. เรียกใช้เมื่อ 23 มิถุนายน 2563 จาก http://pioneer. netserv.chula.ac.th/~jaimorn/re6.htm