แนวทางการบริหารสถานศึกษาตามหลักธรรมาภิบาลของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพิษณุโลก เขต 3
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวทางการบริหารสถานศึกษาตามหลักธรรมาภิบาลของผู้บริหารสถานศึกษา ในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพิษณุโลก เขต 3 โดยมีระเบียบวิธีวิจัยแบบผสานวิธี โดยใช้กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ โรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพิษณุโลก เขต 3 จำนวน 163 โรงเรียน โดยใช้วิธีสุ่มกลุ่มตัวอย่างตามตารางของเครจซีและมอร์แกน จำนวน 105 โรงเรียน โดยกลุ่มผู้ให้ข้อมูล คือ ผู้บริหารสถานศึกษาและครู เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ แบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า และแนวคำถามในการสัมภาษณ์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การศึกษาแนวทางในการบริหารโดยการเลือกกลุ่มผู้ให้ข้อมูลแบบเจาะจง โดยใช้การสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้างและวิเคราะห์เชิงเนื้อหาโดยนำประเด็นที่ได้จากสภาพการบริหารสถานศึกษาตามหลักธรรมาภิบาลมาสร้างประเด็นในการสัมภาษณ์เพื่อหาแนวทางการบริหารสถานศึกษา
ผลการวิจัยพบว่า แนวทางการบริหารสถานศึกษาตามหลักธรรมาภิบาลของผู้บริหารสถานศึกษา พบว่า ด้านหลักนิติธรรม ควรมีการปรับปรุงกฎระเบียบให้เหมาะสม ทันสมัย เป็นที่ยอมรับของบุคลากรในสถานศึกษา ด้านหลักคุณธรรม ควรส่งเสริมการจัดกิจกรรมเสริมสร้างคุณธรรมให้แก่บุคลากรในสถานศึกษาอยู่เสมอ ด้านหลักความโปร่งใส ควรมีระบบการตรวจสอบการบริหารงานเพื่อความถูกต้องชัดเจน ด้านหลักการมีส่วนร่วม ผู้บริหารสถานศึกษาควรเปิดโอกาสให้บุคลากรในสถานศึกษาเข้าร่วมในกิจกรรมต่าง ๆ ทำได้โดยอิสระไม่มีการบังคับ ด้านหลักความรับผิดชอบ ควรมีการจัดเตรียมระบบการแก้ไขหรือบรรเทาปัญหาและผลกระทบที่อาจจะเกิดขึ้น ด้านหลักความคุ้มค่า ควรมีการควบคุม กำกับดูแล การใช้วัสดุอุปกรณ์อย่างคุ้มค่า
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
เอกสารอ้างอิง
กระทรวงศึกษาธิการ. (2546). พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ. 2546. กรุงเทพมหานคร : สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา.
คณะกรรมการการกระจายอำนาจ, สำนักงาน. (2549). คู่มือการปฏิบัติงานการประเมินความพร้อมในการจัดการศึกขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น. กรุงเทพมหานคร : สำนักงานคณะกรรมการการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น.
ถวิลวดี บุรีกุล. (2561). หลักธรรมาภิบาลจากแนวคิดสู่การปฏิบัติในสังคมไทย. กรุงเทพมหานคร : สถาบันพระปกเกล้า.
ทวีศักดิ์ คิ้วทอง. (2561). แนวทางการนำหลักธรรมาภิบาลมาใช้ในการบริหารวิทยาลัยเทคนิคมีนบุรี สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา: รายงานการศึกษาส่วนบุคคล (Individual Study). นครปฐม: สถาบันพัฒนาครู คณาจารย์ และบุคลากรทางการศึกษา.
ธีระ รุญเจริญ. (2557). การบริหารโรงเรียนยุคปฏิรูปการศึกษา. กรุงเทพมหานคร : บริษัท เอ็กซเปอร์เน็ท จำกัด.
บุญเกิด พรภิญโญยิ่ง. (2561). แนวทางการประยุกต์ใช้หลักธรรมาภิบาลของผู้บริหารที่ส่งผลต่อการปฏิบัติงานของบุคลากรทางการศึกษาในโรงเรียนประถมศึกษาของภาคเอกชน อำเภอเมืองบุรีรัมย์. ใน วิทยานิพนธ์ปริญญาเศรษฐศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์การเมืองและการบริหาร. มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์
ปรัชญา เวสารัชช. (2554). หลักการจัดการศึกษา. กรุงเทพมหานคร : ภาพพิมพ์.
ภคอร จันทรคณา. (2560). การนำหลักธรรมาภิบาลมาใช้ในการบริหารสถานศึกษา. วารสารวิชาการครุศาสตร์อุตสาหกรรม พระจอมเกล้าพระนครเหนือ, 8(2), 1-9
ภาระดี เหมะ. (2565). แนวทางการบริหารตามหลักธรรมาภิบาลของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดเทศบาลนครนครสวรรค์ จังหวัดนครสวรรค์. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม, 16(1), 223-235.
รัตนาภรณ์ ส่งเสริม. (2559). การบริหารโรงเรียนตามหลักธรรมาภิบาลของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุบลราชธานีเขต 4. ในวิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี.
สุดารัตน์ สัจจรักษ์. (2559). การศึกษาสภาพการบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาลของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จังหวัดพิจิตร. วารสารการวิจัยกาสะลองคำ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย, 11(1), 97-107
Creswell, J.W. (2013). Research Design: Qualitative, Quantitative, and Mixed Methods Approaches. 4th Edition, SAGE Publications, Inc., London.