ภาวะผู้นำทางวิชาการวิถีใหม่กับโรงเรียนคุณภาพ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาหนองคาย

Main Article Content

จุฑามาศ ผิวบาง
วัลลภา อารีรัตน์

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ


  บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาระดับภาวะผู้นำทางวิชาการวิถีใหม่ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาหนองคาย 2) เพื่อศึกษาระดับโรงเรียนคุณภาพ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาหนองคาย 3) เพื่อศึกษาภาวะผู้นำทางวิชาการวิถีใหม่ที่ส่งผลต่อโรงเรียนคุณภาพ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาหนองคาย เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ ผู้บริหารสถานศึกษาและครู จำนวน 285 คน ซึ่งได้จากการสุ่มแบบแบ่งชั้น เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม มีค่าความเชื่อมั่นของแบบแบบสอบถามทั้งฉบับ เท่ากับ 0.923 โดยการวิเคราะห์หาค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแบบมีขั้นตอน


          ผลการวิจัยพบว่า 1) ระดับภาวะผู้นำทางวิชาการวิถีใหม่ของผู้บริหารสถานศึกษา โดยภาพรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ด้านการเรียนรู้แบบผสมผสานวิธี และด้านที่มีค่าเฉลี่ยตํ่าสุด คือ ด้านการพัฒนาความเป็นครูมืออาชีพ 2) ระดับโรงเรียนคุณภาพ โดยภาพรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ด้านการพัฒนาศักยภาพผู้เรียน และด้านที่มีค่าเฉลี่ยตํ่าสุด คือ ด้านผู้บริหารมืออาชีพ 3) ภาวะผู้นำทางวิชาการวิถีใหม่ที่ส่งผลต่อโรงเรียนคุณภาพ มีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สันทุกองค์ประกอบมีความสัมพันธ์ในทางบวกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 ได้แก่ ด้านการเรียนรู้แบบผสมผสานวิธี ด้านวิสัยทัศน์ผู้นำวิถีใหม่ ด้านการพัฒนาความเป็นครูมืออาชีพ และด้านบรรยากาศการเรียนรู้และเทคโนโลยีดิจิทัล สามารถร่วมกันพยากรณ์โรงเรียนคุณภาพ ได้ร้อยละ 55.70 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

เอกสารอ้างอิง

กมลวรรณ พันธุ์ดำหริ. (2564). กลยุทธ์การบริหารโรงเรียนเอกชนนอกระบบประเภทกวดวิชาสู่มาตรฐานการจัดการเรียนรู้วิถีใหม่. วารสารครุศาสตร์วิชาการ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย, 6(1), 25-44.

กุลธิดา ทุ่งคาใน. (2564). การเรียนรู้แบบผสมผสาน Blended Learning ในวิถี New Normal. ครุศาสตร์สาร, 15(1). 29-43.

ณิชา พิทยาพงศกร. (2563). New Normal ของการศึกษาไทยคืออะไร เมื่อการเรียนทางไกลไม่ใช่คำตอบ. เรียกใช้เมื่อ 20 ตุลาคม 2565 จาก https://tdri.or.th/2020/05/desirable-new-.

ทัศนีย์ มณีวรรณ. (2564). รูปแบบการพัฒนาผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐานยุคดิจิทัล. วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์, มจร. 9(2), 551-604.

บุญฤดี อุดมผล. (2563). การพัฒนาตัวบ่งชี้สมรรถนะความเป็นครูมืออาชีพของนักศึกษาชั้นปีที่ 5 คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏกลุ่มภาคกลาง. วารสารครุศาสตร์ปริทรรศน์, 7(1), 164-275.

ปารณีย์ สุทธิประภา. (2562). ภาวะผู้นำแบบร่วมพลังของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อโรงเรียนคุณภาพ ในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 25. ใน วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิตสาขาวิชาการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

พนัส จันทร์ศรีทอง. (2565). ชีวิตวิถีถัดไปกับการศึกษา. วารสารครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์, 5(3), 25-36.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (2563). สพฐ. วิถีใหม่ วิถีคุณภาพ. เรียกใช้เมื่อ 20 ตุลาคม 2565 จาก https://shorturl.asia/TER3Y.

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาหนองคาย. (2565). แผนพัฒนาการศึกษา ปี 2564-2568. เรียกใช้เมื่อ 29 กันยายน 2565 จาก https://shorturl.asia/aKsbf.