ภาวะผู้นำเหนือผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษาโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร

Main Article Content

วีณา ช่วงโชติ
ศิริพงษ์ เศาวภายน

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ


 บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) ศึกษาภาวะผู้นำเหนือผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษา ตามการรับรู้ของครูโรงเรียนในสังกัดกรุงเทพมหานคร 2) เปรียบเทียบภาวะผู้นำเหนือผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดกรุงเทพมหานคร ตามการรับรู้ของครู จำแนกตามระดับการศึกษา ประสบการณ์การทำงาน ตำแหน่งและวิทยฐานะ การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ กลุ่มตัวอย่างเป็นครูโรงเรียนในสังกัดกรุงเทพมหานคร จำนวน 370 คน จากประชากรทั้งหมด 13,597 คน โดยใช้วิธีสุ่มแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่า t และวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียว


ผลการวิจัยพบว่า 1) ภาวะผู้นำเหนือผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดกรุงเทพมหานครโดยรวมเละรายด้านอยู่ในระดับมาก 2) ครูที่มีระดับการศึกษาต่างกัน มีการรับรู้ภาวะผู้นำเหนือผู้นำ โดยภาพรวม แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า การส่งเสริมให้บุคลากรเป็นผู้นำตนเอง การเป็นแบบอย่างในการนำตนเอง การอำนวยความสะดวกให้เกิดภาวะผู้นำตนเอง การอำนวยความสะดวกให้เกิดวัฒนธรรมของผู้นำตนเอง แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3) ครูที่มีประสบการณ์ในการปฏิบัติงานต่างกัน มีการรับรู้ภาวะผู้นำเหนือผู้นำ โดยภาพรวมไม่แตกต่างกัน เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า การกระตุ้นให้บุคลากรตั้งเป้าหมายด้วยตนเองและการอำนวยความสะดวกให้เกิดภาวะผู้นำตนเอง แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิตที่ระดับ .05 และ 4) ครูที่มีตำแหน่งและวิทยฐานะแตกต่างกัน มีการรับรู้ภาวะผู้นำเหนือผู้นำโดยภาพรวมและรายด้านไม่แตกต่างกัน

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

เอกสารอ้างอิง

ดาวรุวรรณ ถวิลการ. (2558). การพัฒนาภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ของนักศึกษา สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. ใน วิทยานิพนธ์ ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา.มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

เทพรัตน์ ศรีคราม. (2562). ภาวะผู้นำเหนือผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา มัธยมศึกษา เขต 32. ใน วิทยานิพนธ์ ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์.

ธร สุนทรายุทธ. (2556). พฤติกรรมเชิงการเมืองในองค์กร : จริตและจริยธรรมองค์กรภาครัฐและเอกชน. (พิมพ์ครั้งที่ 1). กรุงเทพมหานคร : เนติกุลการพิมพ์.

ธิดารัตน์ เอี่ยมเซี่ยม. (2564). ภาวะผู้นำเหนือผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขต พื้นที่การศึกษาประถมศึกษาระยอง เขต 2. วารสารนาคบุตรปริทรรศน์, 14(1), 102-110.

นลธวัช ยุทธวงศ์. (2564). ภาวะผู้นำเหนือผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดอาชีวศึกษา จังหวัดกำแพงเพชร, วารสารการบริหารนิติบุคคลและนวัตกรรมท้องถิ่น, 7(7),149-164.

พวงเพ็ญ เขียวเสนและคณะ. (2562). ภาวะผู้นำเหนือผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 1. วารสารนาคบุตรปริทรรศน์, 11(2),72-80.

สายใจ ชูฤทธิ์. (2561). การศึกษาภาวะผู้นำเหนือผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษาตามการรับรู้ของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากระบี่.ใน การค้นคว้าอิสระ ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี.

สิริวรรณ กองธรรม(2564).ภาวะผู้นำเหนือผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษา กลุ่มสหวิทยาเขตเบญจสิริ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 2.วารสาร Roi Kaensarn Academi,6(1),41-54

สำนักการศึกษา กรุงเทพมหานคร. (2566). แผนปฏิบัติราชการประจำปี พ.ศ. 2566. เรียกใช้เมื่อ 25 มีนาคม 2566 จาก https://webportal.bangkok.go.th.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2560). แเผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560-2579. พิมพ์ครั้งที่ 2.กรุงเทพมหานคร : สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ.