ปัญหาการถอดถอนสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่นตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการลงคะแนนเสียงเพื่อถอดถอนสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น พ.ศ. 2542
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาแนวคิด ทฤษฎี กฎหมายของต่างประเทศและกฎหมายไทยที่เกี่ยวกับการถอดถอนผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองท้องถิ่น 2) ศึกษาปัญหาพระราชบัญญัติว่าด้วยการลงคะแนนเสียงเพื่อถอดถอนสมาชิกสภาท้องถิ่น หรือผู้บริหารท้องถิ่น พ.ศ. 2542 3) เพื่อวิเคราะห์หาแนวทางแก้ไขปัญหาของพระราชบัญญัติว่าด้วยการลงคะแนนเสียงเพื่อถอดถอนสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น พ.ศ. 2542 การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ มีวิธีดำเนินการวิจัยโดยศึกษาค้นคว้าจากหนังสือ บทความ รายงานการวิจัย วิทยานิพนธ์ สื่อข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์ เปรียบเทียบกฎหมายต่างประเทศ ร่างกฎหมาย
การศึกษาพบว่า การถอดถอนจากตำแหน่งเป็นการให้อำนาจทางการเมืองของประชาชน ตามแนวคิดอำนาจอฺธิปไตยเป็นของปวงชน ประชาชนมีอำนาจอธิปไตยเป็นของตน สามารถใช้อำนาจที่มีเรียกคืนอำนาจจากผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองที่เห็นว่าไม่ควรดำรงตำแหน่งต่อไปได้ โดยยึดหลักนิติธรรมมากำหนด ให้เกิดความยุติธรรมเสมอภาค และสังคมสงบสุข จะเห็นว่ากฎหมายการถอดถอนผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองของไทย ยังไม่บัญญัติเรื่องของการกำหนดเหตุแห่งการถอดถอนที่ชัดเจน ผลคะแนนเสียงที่ใช้ถอดถอนมีจำนวนที่สูงเกินไป ถ้อยคำที่กำหนดในบัตรเลือกตั้งยังคลุมเครือ เกิดความสับสน ต้องแก้ไขพระราชบัญญัติว่าด้วยการลงคะแนนเสียงเพื่อถอดถอนสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น พ.ศ. 2542 เรื่องสัดส่วนคะแนนเสียงถอดถอนให้น้อยลง เพื่อเพิ่มโอกาสการถอดถอน กำหนดเหตุแห่งการถอดถอนให้มีความชัดเจน เห็นข้อเท็จจริงถึงพฤติการณ์ที่เป็นเหตุการถอดถอน ข้อความในบัตรลงคะแนนเสียงให้ชัดเจน เพื่อชี้ถึงความเห็นของประชาชนที่เข้าชื่อถอดถอน
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
เอกสารอ้างอิง
เกียรติขจร วัจนะสวัสดิ์. (2550). การมีส่วนรวมของประชาชนต่อการดำเนินนโยบายของรัฐบาลด้านการบริการจัดหางาน. กรุงเทพมหานคร : (ม.ป.พ.).
คะนึงนิจ ศรีบัวเอี่ยม. (2545). แนวทางการเสริมเสร้างประชาธิปไตยแบบมีส่วนร่วมตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2540. กรุงเทพมหานคร : ธรรมดาเพลส.
คณาธิป ไกยชน. (2564). การเข้าชื่อเสนอกฎหมายของประชาชนตามพระราชบัญญัติการเข้าชื่อเสนอกฎหมาย พ.ศ. 2564. เรียกใช้เมื่อ 10 กันยายน 2566 จากhttps://library.parliament.go.th/th/radioscript-rr2564-dec3
ชายชาญ อุทธสิงห์. (2558). รูปแบบที่เหมาะสมในการถอดถอนผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองระดับสูงโดยประชาชน. ในวิทยานิพนธ์นิติศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวิชานิติศาสตร์. มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์
ณัฐกร วิทิตานนท์. (2564, 6 มิถุนายน). ร่าง พ.ร.บ.การเข้าชื่อถอดถอนสมาชิกสภาท้องถิ่นฉบับใหม่ : ประชาธิปไตยทางตรงที่ถูกทำลาย?. เรียกใช้เมื่อ 2 เมษายน 2566 จาก https://www.the101.world/recall-election/
ปฏิมา รุ่งนาค. (2555). ปัญหากฎหมายเกี่ยวกับหลักเกณฑ์และกระบวนการดำเนินการถอดถอนสมาชิกสภาท้องถิ่นและผู้บริหารท้องถิ่น ในวิทยานิพนธ์ปริญญานิติศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชานิติศาสตร์. มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิต; 2555
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560. (2560) ราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 134 ตอนที่ 40 ก (6 เมษายน 2560).
พระราชบัญญัติว่าด้วยการลงคะแนนเสียงเพื่อถอดถอนสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น พ.ศ. 2542. (2542). ราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 166 ตอนที่ 104 ก หน้า 12 (26 ตุลาคม 2542).
สำนักนายกรัฐมนตรี. (26 มกราคม 2564). รายงานการวิเคราะห์ผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากกฎหมาย. หนังสือราชการ. นร 0503/3351.
วิษณุ เครืองาม. (2530). กฎหมายรัฐธรรมนูญ. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพมหานคร : นิติบรรณาการ.