การพัฒนาทักษะการพูดภาษาอังกฤษนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โดยการจัดการเรียนการสอนแบบเน้นประสบการณ์เสริมด้วยบอร์ดเกม

Main Article Content

พัชรา พากุล
เรวณี ชัยเชาวรัตน์

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ


        บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาประสิทธิภาพของการจัดการเรียนการสอนแบบเน้นประสบการณ์เสริมด้วยบอร์ดเกมในการพัฒนาทักษะการพูดภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ตามเกณฑ์ 80/80 2) เพื่อเปรียบเทียบทักษะการพูดภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โดยการจัดการเรียนการสอนแบบเน้นประสบการณ์เสริมด้วยบอร์ดเกม การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงทดลอง กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยครั้งนี้ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ปีการศึกษา 2565 จำนวน 31 คน ได้มาโดยการสุ่มแบบกลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลในการวิจัยครั้งนี้ คือ แบบวัดทักษะการพูดภาษาอังกฤษนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ซึ่งมีลักษณะเป็นข้อสอบแบบปรนัยจำนวน 10 ข้อ และแบบสัมภาษณ์จำนวน 5 ข้อ โดยแบบสัมภาษณ์ผู้เรียนจะต้องจับสลากเพื่อตอบคำถามจำนวน 2 ข้อ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เกณฑ์ประสิทธิภาพ E1/E2 และการทดสอบค่า ที แบบไม่เป็นอิสระ 


        ผลการวิจัยพบว่า 1. ประสิทธิภาพกิจกรรมการจัดการเรียนการสอนแบบเน้นประสบการณ์เสริมด้วยบอร์ดเกมเพื่อพัฒนาทักษะการพูดภาษาอังกฤษนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 มีประสิทธิภาพ E1/E2  เท่ากับ 80.21/80.83 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ 80/80 2. ก่อนเรียนโดยการจัดการเรียนการสอนแบบเน้นประสบการณ์เสริมด้วยบอร์ดเกมนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 มีคะแนนก่อนเรียนเฉลี่ยเท่ากับ 13.78 และหลังเรียนเท่ากับ 25.24 เมื่อทดสอบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยพบว่า ผู้เรียนมีทักษะการพูดภาษาอังกฤษ โดยการจัดการเรียนการสอนแบบเน้นประสบการณ์เสริมด้วยบอร์ดเกมหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05  

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

เอกสารอ้างอิง

กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). ตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้แกนกลาง กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพมหานคร: สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน.

ยุทธพงษ์ บุญภา. (2550). การพัฒนาทักษะการพูดภาษาอังกฤษ โดยใช้เกมสื่อสารนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5. ใน วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรการสอน. มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

รพิสา กันสุข. (2564). การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้ภาษาอังกฤษโดยใช้บอร์ดเกมเพื่อเสริมสร้างความสามารถในการพูดภาษาอังกฤษ. ใน วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการเรียนการสอน. มหาวิทยาลัยนเรศวร.

โรงเรียนบ้านดงบังหนองเขื่อน. (2564). รายงานผลการประเมินตนเอง. อุดรธานี.

วชิรวิทย์ เอี่ยมวิลัย. (2563). การพัฒนาบอร์ดเกมตามแนวทางการคิดอย่างมีวิจารณญานส่งเสริมการเป็นพลเมืองดิจิทัลของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1. ใน วิทยานิพนธ์ศึกษามหาบัณฑิต สาขาเทคโนโลยีการศึกษา. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

วรวุฒิ คุณประทุม. (2561). การพัฒนาทักษะการพูดภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โดยใช้บอร์ดเกม. ชัยภูมิ: โรงเรียนบ้านแท่นวิทยา.

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานีเขต 3. (2566). ระบบจัดการข้อมูลนักเรียน. เรียกใช้เมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม 2566 จาก https://portal.bopp-obec.info/obec66/.

อารี ศรีสุกอง. (2562). ผลการจัดการเรียนรู้แบบเน้นประสบการณ์ที่มีผลต่อสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่องความน่าจะเป็นสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3. ใน ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาหลักสูตรและการเรียนการสอน. มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี.

อำไพร แก้วใจ. (2548). การพัฒนาทักษะการพูดและเจตคติต่อการเรียนวิชาภาษาอังกฤษ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3. ใน วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาหลักสูตรการเรียนการสอน. มหาวิทยาลัยมหาศรีนครินทร์วิโรฒ.

Kolb, D. (1984). Experiential learning:Experienceas thesourceof learningprocess. City: Prentice Hall.