ปัญหาความเหลื่อมล้ำและการใช้ดุลพินิจในการเรียกหลักประกัน การปล่อยชั่วคราวผู้ต้องหาหรือจำเลยโดยใช้อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัญหาความเหลื่อมล้ำและการใช้ดุลพินิจในการเรียกหลักประกันการปล่อยชั่วคราวผู้ต้องหาหรือจำเลยโดยใช้อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งพิจารณาจากการปล่อยชั่วคราวผู้ต้องหาหรือจำเลย โดยให้มีประกัน หรือมีประกันและหลักประกัน การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยศึกษาจากแนวคิด ทฤษฎี และเอกสารกฎหมาย
ผลการวิจัยพบว่า ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 106 ในการขอปล่อยชั่วคราวผู้ต้องหาหรือจำเลย ศาลจะพิจารณาโดยไม่ต้องมีประกัน หรือมีประกัน หรือมีประกันและหลักประกันด้วยก็ได้ มาตรา 110 ในการปล่อยชั่วคราวในคดีมีอัตราโทษจำคุกอย่างสูงเกินสิบปีขึ้นไป ผู้ที่ถูกปล่อยชั่วคราวต้องมีประกัน และจะมีหลักประกันด้วยหรือไม่ก็ได้ ซึ่งทั้งสองกรณีนี้ศาลมักจะใช้ดุลพินิจในการอนุญาตให้ปล่อยชั่วคราวโดยมีประกันและหลักประกันด้วยเสมอ เพื่อให้เกิดความมั่นใจว่าจะไม่หลบหนี ทำให้เกิดความเหลื่อมล้ำแก่ผู้ต้องหาหรือจำเลยที่มีฐานะยากจน ไม่สามารถหาประกันและหลักประกันในการปล่อยชั่วคราวได้ จึงเสนอแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 108 วรรคสี่ ในกรณีปล่อยชั่วคราวโดยใช้อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์หรืออุปกรณ์อื่นใด ให้ศาลสืบเสาะ ประวัติ ความประพฤติ สติปัญญา การศึกษาอบรม สุขภาพ ภาวะแห่งจิต นิสัย อาชีพ และสิ่งแวดล้อมของผู้นั้น หรือสภาพความผิด พร้อมทั้งความเห็นของพนักงานฝ่ายปกครองท้องถิ่นที่ผู้นั้นอาศัยอยู่ ประกอบการพิจารณาคำร้องขอปล่อยชั่วคราว โดยไม่มีประกัน หรือไม่มีประกันและหลักประกัน และมาตรา 110 วรรคสี่ ในกรณีปล่อยชั่วคราวโดยใช้อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์หรืออุปกรณ์อื่นใด ให้นำมาตรา 108 วรรคสี่ มาบังคับใช้โดยอนุโลม
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
เอกสารอ้างอิง
ซีต้า ธนฐิติวงศ์. (2553). การควบคุมผู้ต้องโทษด้วยเครื่องมืออิเล็กทรอนิกส์. ใน วิทยานิพนธ์นิติศาสตรมหาบัณฑิต สาขากฎหมายอาญา. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
ธัญญานุช ตันติกุล. (2562). อิสรภาพราคาแพงสำหรับคนจน : การปล่อยชั่วคราว สภาพปัญหาและหนทางแก้ไข (ตอนที่ 1). วารสารดุลพาห, 61(3), 151-179.
ประยงค์ นบนอบ. (2558). ปัญหาข้อกฎหมายในการปล่อยชั่วคราวผู้ต้องหาหรือจำเลยในคดีอาญา. ใน วิทยานิพนธ์นิติศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยปทุมธานี.
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา. (2478). ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 52 หน้าที่ 660 108 หน้า (10 มิถุนายน 2478).
ปาลิดา มณีโชติ. (2559). ปัญหาการนำเครื่องมืออิเล็กทรอนิกส์มาใช้กับการปล่อยชั่วคราวจำเลยในชั้นพิจารณาคดีของศาล. วารสารวิจัยราชภัฏพระนคร, 11(2), 65-83.
ภัควรินทร์ พิชญะพงศ์สกุล และคณะ. (2562). โอกาสและข้อจำกัดในการนำอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ติดตามตัว (EM) มาใช้กับผู้กระทำผิดซึ่งเป็นเยาวชน. กรุงเทพมหานคร: สถาบันวิจัยรพีพัฒนศักดิ์ สำนักงานศาลยุติธรรม.
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560. (2560). ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 134 ตอนที่ 40 ก หน้า 4 (6 เมษายน 2560).
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560. (2560). ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 134 ตอนที่ 40 ก หน้า 8 (6 เมษายน 2560).
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560. (2560). ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 134 ตอนที่ 40 ก หน้า 9 (6 เมษายน 2560).
สิทธิพร บุญคุ้ม. (2550). การคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของผู้ต้องหาและจำเลยในคดีอาญาโดยการปล่อยชั่วคราว. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
อรนิตย์ บุณยรัตพันธุ์. (2547). มาตรการทางกฎหมายในการใช้วิธีการคุมประพฤติแบบเข้ม. ใน วิทยานิพนธ์นิติศาสตร์มหาบัณฑิต คณะนิติศาสตร์. มหาวิทยาลัยจุฬาลงกรณ์.
อริยพร โพธิใส. (2560). การปล่อยชั่วคราว : มาตรการติดตามจับกุมผู้หลบหนีจากการปล่อยชั่วคราวโดยศาล. วารสารจุลนิติ, 14(2), 139-152.
อารีย์พร กลั่นนุรักษ์. (2545). การปล่อยตัวชั่วคราวโดยกำหนดเงื่อนไข. ใน วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชานิติศาสตร์. มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิต.