ภูมิปัญญาช่างศิลป์พื้นถิ่นไทใหญ่และชาติพันธุ์ในจังหวัดแม่ฮ่องสอน

Main Article Content

บุษกร สืบตระกูล
วัชรี วีระแก้ว
กันทนา ใจสุวรรณ

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ


บทความวิจัยเรื่อง ช่างศิลป์พื้นถิ่นไทใหญ่และชาติพันธุ์แม่ฮ่องสอนนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาภูมิปัญญา สำรวจ และจัดทำแผนที่ข้อมูลช่างศิลป์พื้นถิ่นในจังหวัดแม่ฮ่องสอน ใช้รูปแบบการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยมีผู้ให้ข้อมูลการวิจัยคือ ช่างศิลป์พื้นภูมิปัญญาท้องถิ่นในพื้นที่ 7 อำเภอ คืออำเภอเมือง อำเภอปางมะผ้า อำเภอปาย อำเภอแม่ลาน้อย อำเภอขุนยวม อำเภอแม่สะเรียง และอำเภอสบเมย สมาชิกวิสาหกิจชุมชนที่มีคุณสมบัติโดดเด่น หน่วยงานภาครัฐ ใช้เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย แบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์ และการสนทนากลุ่ม


ผลการวิจัยพบว่า ช่างศิลป์ในพื้นที่เป้าหมายที่ปรากฏตามประเภทงานช่างศิลป์และภูมิปัญญา ประกอบด้วย 1) งานจิตรกรรม 2) งานเครื่องดนตรี 3) งานโลหะศิลป์ 4) งานเครื่องจักสาน 5) งานผ้าและสิ่งถักทอ 6) งานปูนปั้น-งานไม้ 7) งานศาสตราวุธ 8) งานเครื่องสด และ 9) เครื่องรัก เครื่องเขิน ช่างศิลป์ท้องถิ่นแต่ละประเภทนั้น ยังคงมีผู้สืบทอดจำนวน 52 คน (83.87%) และไม่มีผู้สืบทอดจำนวน 10 คน (16.13%) โดยช่างศิลป์ท้องถิ่นบางประเภทเครื่องสด งานเครื่องดนตรี โลหะศิลป์ จักสาน และปูนปั้น มีความเสี่ยงต่อการสูญหาย การสำรวจข้อมูลช่างศิลป์พื้นถิ่นในจังหวัดแม่ฮ่องสอน มีประวัติชุมชน ศาสตร์การตั้งถิ่นฐานของชุมชน ข้อมูลช่างศิลป์ รวมถึงงานด้านพุทธศิลป์ มีความแตกต่างจากพุทธศิลป์ในพื้นที่ล้านนา เนื่องจากมีความผสมผสานกับศิลปวัฒนธรรมของชาติพันธุ์ต่าง ๆ ที่อยู่ในพื้นที่ จุดมุ่งหมายในการสร้างและฝึกหัดงานด้านช่างศิลป์เพื่อถวายเป็นพุทธบูชา รวมถึงเป็นงานที่เกี่ยวกับปัจจัยที่จำเป็นต้องใช้ในชีวิตประจำวัน

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

เอกสารอ้างอิง

ปัติมา โฆษิตเกษม. (2559). แนวทางการพัฒนารูปแบบงานเครื่องปั้นดินเผาจังหวัดสุพรรณบุรี. วารสารศิลป์ พีระศรี, 3(2), 127-149.

พิทยา ว่องสกุล. (2559). เอ็นจีโอไทยกับปัญหาสิ่งแวดล้อม. กรุงเทพมหานคร: นิตยสารโลกสีเขียว.

มณฑิรา ศิริสว่าง. (2563). ดนตรีกับวิถีชีวิตชาวไทใหญ่ ตำบลทุ่งยาว อำเภอปาย จังหวัดแม่ฮ่องสอน. วารสารวิจัยราชภัฎเชียงใหม่, 21(2), 219-231.

มยุรี ถาวรพัฒน์. (2557). การอนุรักษ์และฟื้นฟูภาษาและวัฒนธรรมอย่างยั่งยืน: กรณีศึกษากลุ่มชาติพันธุ์เลอเวือะ (ละว้า) บ้านป่าแป๋ อำเภอแม่สะเรียง จังหวัดแม่ฮ่องสอน. กระแสวัฒนธรรม, 15 (28), 59-66.

เมธาวี ธรรมชัย พระครูธีรสุตพจน์ พระสถิตย์ โพธิญาโณ อาภากร ปัญโญ และจิตรเทพ ปิ่นแก้ว. (2562). การสืบทอดและการสร้างงานช่างพุทธศิลป์ล้านนา: กรณีศึกษางานช่างฝีมือพระเบญจิมิน สุตา จากงานพุทธศิลป์วัดหาดนาค ตำบลสบเตี๊ยะ อำเภอจอมทอง จังหวัดเชียงใหม่. วารสารพุทธศาสตร์ศึกษา, 10(1), 51-66.

รัศมี ชูทรงเดช และคณะ. (2564). โครงการมนุษย์ก่อนประวัติศาสตร์และพลวัตทางวัฒนธรรมบนพื้นที่สูงในอำเภอปางมะผ้า จังหวัดแม่ฮ่องสอน (เล่มที่ 9: พิพิธภัณฑสถานศึกษา) มนุษย์ก่อนประวัติศาสตร์และพลวัตทางวัฒนธรรมบนพื้นที่สูงในอำเภอปางมะผ้า จังหวัดแม่ฮ่องสอน (เล่มที่ 9: พิพิธภัณฑสถานศึกษา) พิพิธภัณฑ์. กรุงเทพมหานคร: ภาควิชาโบราณคดี คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร.

ศภฤกษ์ ธาราพิทักษ์วงศ์ และคณะ. (2562). การยกระดับผลิตภัณฑ์และสร้างเครือข่ายวิสาหกิจชุมชนเพื่อสนับสนุนการพัฒนาอย่างยั่งยืนของจังหวัดแม่ฮ่องสอน. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม.

สามารถ จันทร์สูรย์. (2534). ภูมิปัญญาชาวบ้านรากฐานการพัฒนาบ้านเมือง. กรุงเทพมหานคร: วัฒนธรรมไทย.

เสรี พงศ์พิศ. (2534). คืนสู่รากเหง้า : ทางเลือกและทัศนวิจารณ์ว่าด้วยภูมิปัญญาชาวบ้าน. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์ชาวบ้าน.