แนวทางการส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์จากทุนทางวัฒนธรรมของชุมชนในตำบลต้นเปา อำเภอสันกำแพง จังหวัดเชียงใหม่
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) วิเคราะห์แนวทางการส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์จากทุนทางวัฒนธรรมของชุมชนในตำบลต้นเปา 2) เพื่อเสนอแนวทางในการส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ในตำบลต้นเปา อำเภอสันกำแพง จังหวัดเชียงใหม่ การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ เก็บรวบรวมข้อมูลจากแหล่งข้อมูลทุติยภูมิ และวิเคราะห์ข้อมูลตามหลักการตีความ โดยนำความรู้จากทฤษฎี วรรณกรรมและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับทุนทางวัฒนธรรม ทั้งที่เป็นทุนทางวัฒนธรรมที่จับต้องได้และจับต้องไม่ได้ ผู้ให้ข้อมูลหลัก ใช้วิธีการเลือกแบบเจาะจง จำนวน 25 คน ใช้แบบสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้าง เพื่อการสัมภาษณ์เชิงลึก
ผลการวิจัยพบว่า 1) ทุนทางวัฒนธรรมของชาวชุมชนในตำบลต้นเปา อำเภอสันกำแพง มีจุดเด่นที่แตกต่างและมีอัตลักษณ์ ได้แก่ ร่มบ่อสร้าง กระดาษสา โคมลอยและโคมประดับ และยังมีวิถีชีวิต ประเพณี วัฒนธรรม กายแต่งกายที่ยังคงไว้จนถึงปัจจุบัน อีกทั้งมีศักยภาพในการต่อยอดทางการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ และเพิ่มมูลค่าให้กับชุมชนได้ 2) แนวทางในการส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ในตำบลต้นเปา สามารถนำเสนอเป็น 2 แนวทาง ได้แก่ แนวทางในการพัฒนาเชิงรุก คือ สิ่งที่พบว่ายังมีจุดอ่อนและเห็นควรให้มีการพัฒนาเพื่อเพิ่มศักยภาพการท่องเที่ยวในชุมชนให้เข้มแข็ง และแนวทางในการพัฒนาเชิงสนับสนุน คือ สิ่งที่ทำได้ดีอยู่แล้ว อีกทั้งมีศักยภาพที่เข้มแข็ง และเห็นควรให้มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่องเพื่อเพิ่มศักยภาพ ทั้งนี้ควรมีการส่งเสริมและพัฒนาระบบการจัดการองค์ความรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านหัตถกรรมของชุมชน ทั้งภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านหัตถกรรมกลุ่มดั้งเดิม และภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านหัตถกรรมกลุ่มใหม่
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
เอกสารอ้างอิง
ชัยพล สกุลเหลืองอร่าม. (2556). ภูมิปัญญาศิลปหัตถกรรมกระดาษสา: กรณีศึกษาหัตกรรมกระดาษสาบ้านต้นเปา อำเภอสันกำแพง จังหวัดเชียงใหม่. ใน วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
ปุญญ์นิรันดร์ อังศุธีรกุล ศรุต ชำนาญธรรม และพศวรรตร์ วริพันธ์. (2566). แนวทางการส่งเสริมศักยภาพทางการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ในจังหวัดจันทบุรี. วารสารวิชาการวิทยาลัยสันตพล. 9(2), 156-165
พิเชษฎ์ จุลรอดและภาณุ ปัณฑุกำพล. (2565). กระบวนการผลิตและการจัดการความรู้ของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนผลิตภัณฑ์ร่มบ่อสร้างอำเภอสันกำแพง จังหวัดเชียงใหม่. สักทอง : วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ (สทมส.) 28(2), 16-30.
ฟองคำ หล้าปินตา. (2566). สัมภาษณ์เมื่อวันที่ 12 พฤศจิกายน 2566
ภูริวัจน์ เดชอุ่ม. (2556). การพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์: กรอบแนวคิดสู่แนวทางปฏิบัติสำหรับประเทศไทย. วารสารมหาวิทยาลัยศิลปากร, 33(2), 331-366.
รัตนา กาวิอิ่น. (21 ธันวาคม 2566). ผลิตโคมของบ้านหนองโค้ง. (ชนิษฐา ใจเป็ง, ผู้สัมภาษณ์)
รุ่งทิวา ท่าน้ำ และอธิป จันทร์สุริย์. (2564). ศักยภาพการท่องเที่ยววิถีถิ่นบนฐานแนวคิดการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ อำเภออุ้มผาง จังหวัดตาก. วารสารวิทยาลัยดุสิตธานี. 15(1), 304-317
ศรัญญู จันทร์วงศ์. (2564). ปัจจัยการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ในเส้นทางวัฒนธรรม กรณีศึกษา ชุมชนท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมย่านเมืองเก่าริมแม่น้ำเพชรบุรี. ใน วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิตสาขาวิชาการจัดการทางวัฒนธรรม (สหสาขาวิชา). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สุดแดน วิสุทธิลักษณ์ พิเชฐ สายพันธ์ อรอุมา เตพละกุล และธีระ สินเดชารักษ์. (2556). การท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ (Creative Tourism). กรุงเทพมหานคร : องค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (องค์การมหาชน).
อธิป จันทร์สุริย์ สุดสันต์ สุทธิพิศาล และขวัญณภัทร ขนอนคราม. (2563). แนวทางการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์บนฐานอัตลักษณ์ ความเป็นไทยตลาดไทยย้อนยุคบ้านระจัน จังหวัดสิงห์บุรี. ทีทัศน์วัฒนธรรม, 19(2), 140-161.
อธิป จันทร์สุริย์. (2561). การพัฒนาตัวบ่งชี้การจัดการมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมเป็นฐานสู่การท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ จังหวัดชุมพร. ใน วิทยานิพนธ์ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการ. มหาวิทยาลัยศิลปากร
อัษฎาวุฒิ ศรีทน และอุมารินทร์ ตุลารักษ์. (2564). ทุนทางวัฒนธรรมในมิติการท่องเที่ยวชุมชนที่อธิบายผ่านเรื่องเล่าตำนาน ประวัติศาสตร์ท้องถิ่นในวิถีชีวิตชุมชน. วารสารศิลปศาสตร์ปริทัศน์ 16(2), 141-158.
อำนาจ หงษ์ทอง (2555). การพัฒนารูปแบบของลวดลายบนผลิตภัณฑ์ด้วยวัฒนธรรมและเอกลักษณ์ของชุมชน: กรณีศึกษา เทศบาลตำบลต้นเปา อำเภอสันกำแพง จังหวัดเชียงใหม่. ใน รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์. มหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงใหม่.