แนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 2

Main Article Content

สมพงษ์ ดั่นเจริญ
เสาวนี สิริสุขศิลป์
ปารย์พิชชา ก้านจักร

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ


          บทความวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์ และความต้องการจำเป็นในการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 2 2) เพื่อศึกษาแนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่นเขต 2 การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนา ศึกษาด้านองค์ประกอบ 1) ด้านการมีวิสัยทัศน์สู่การเปลี่ยนแปลง 2) ด้านการทำงานเป็นทีม 3) ด้านความคิดสร้างสรรค์เชิงนวัตกรรม 4) ด้านการสร้างบรรยากาศองค์กรนวัตกรรม การศึกษาแบ่งออกเป็น 2 ระยะ ศึกษาสภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์ ความต้องการจำเป็นในการพัฒนา และแนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรม กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษาและครู กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างด้วยตารางของเครซี่และมอร์แกน สุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้นภูมิ ได้กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 326 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบสอบถามการเก็บรวบรวมข้อมูลตามแบบของลิเคิร์ท สถิติที่ใช้ คือ  ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าดัชนีความต้องการจำเป็นมีค่าดัชนีความสอดคล้อง 0.60-1.00 ค่าความเชื่อมั่น 0.824 และแบบประเมินแนวทางการพัฒนา


ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพปัจจุบันภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษาโดยรวมอยู่ในระดับมาก 2) สภาพที่พึงประสงค์ภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษาโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด 3) ความต้องการจำเป็น อยู่ระหว่าง 0.249 ถึง 0.381  3) แนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษา มีจำนวน 14 แนวทาง ซึ่งผลประเมินแนวทางการพัฒนาอยู่ในระดับมากที่สุด ความเป็นไปได้อยู่ในระดับมากที่สุด และมีความเป็นประโยชน์อยู่ในระดับมากที่สุด

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

เอกสารอ้างอิง

กุลชลี จงเจริญ. (2562). ภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรม. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

จุรีวรรณ จันพลา. (2559). การเสริมสร้างภาวะผู้นำเชิงนวตักรรมของผู้ประกอบการในธุรกิจแปรรูปอาหาร. วารสารเทคโนโลยีภาคใต้, 9(1), 53-60.

ชูชาติ พ่วงสมจิตร์. (2561). หน่วยที่ 15 การบริหารจัดการนวัตกรรมในองค์การทางการศึกษาให้ยั่งยืน. ใน ประมวลสาระชุดวิชานวัตกรรมการบริหารการศึกษาและภาวะผู้นำ หน่วยที่ 11-15 . สาขาวิชาศึกษาศาสตร์: มหาวิทยาสุโขทัยธรรมาธิราช.

ฐิตินันท์ นันทะศรี. (2563). การพัฒนาตัวบ่งชี้ภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. ใน ปริญญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารและพัฒนาการศึกษา. มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.

เนาวรัตน์ เยาวนาถ. (2562). แนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากำแพงเพชร เขต 2. ใน วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

บุญชม ศรีสะอาด. (2554). หลักการวิจัยเบื้องต้น. (พิมพ์ครั้งที่ 9). กรุงเทพมหานคร: สุวิริยาสาส์น.

ปรีชา ออกกิจวัตร. (2564). ความสัมพันธ์เชิงสาเหตุระหว่างองค์ประกอบภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษาในยุคการศึกษา 5.0 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาในภาคกลางและภาคตะวันออก. ใน วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต. มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม.

ปวีณา กันถิน. (2560). ภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษาโรงเรียนประชารัฐ เขตพื้นที่ การศึกษาประถมศึกษาเชียงใหม่ เขต 5. ใน วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

พิสิฐธวัฒน์ กลิ่นไธสงค์, ถนอมวรรณ ประเสริฐเจริญสุข, และ อัจศรา ประเสริฐสิน. (2559). การพัฒนาตัวบ่งชี้ภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา. วารสารบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 12(1),177-186.

ภิรญา สายศิริสุข. (2561). ภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารในโรงเรียนมัธยมศึกษากลุ่มสหวิทยาเขตปัญจภาคีสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 4. ใน ปริญญาศึกษาศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

รัตนะ บัวสนธ์. (2556). วิจัยเชิงคุณภาพการศึกษา. (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

วัชรพงศ์ ทัศนบรรจง. (2563). ภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของสถานศึกษาในโครงการโรงเรียนประชารัฐ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรสงคราม. ใน วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา, มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม.

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่นเขต 2. (2566). วิสัยทัศน์สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่นเขต 2. เรียกใช้เมื่อวันที่ 10 มกราคม 2567 จากhttps://kkn2.go.th/web.

สุวิมล ว่องวาณิช. (2558). การวิจัยประเมินความต้องการจำเป็น. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

อรอนงค์ โรจน์วัฒนบูลย์. (2553). การพัฒนาตัวแบบภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรม. ใน วิทยานิพนธ์ปริญญารัฐประศาสตร์ดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสตร์. สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.

Cho, Y., Shin, M., Billing T.K., & Bhagat, R.S. (2019). Transformational Leadership, Transactional Leadership, and Affective Organizational Commitment: a closer look at their relationships in two distinct national contexts. Asian Business & Management, 18(3): No 2, 187-210.

Cronbach, L.J. (1990). Essentials of psychology testing. 5th ed. New York: Harper Collins.relationships in two distinct national contexts. Asian Business & Management, 18(3): No2.

Horth, D., and Vehar, J. (2014). Becoming a leader who fosters innovation. Retrieved November 13, 2019 from https://shorturl.asia/g32hf.

Krejcie, R.V. and Morgan, D.W. (1970). Determining Sample Size for Research Activities. Educational and Psychological Measurement, 30.

Parnichparinchai, T. (2017). The study of the competencies of learning management for 21stcentury of bachelor degree students in educational project for the development of teacher in the wilderness at the Thai-Myanmar border area Tak province. Journal of Education Naresuan University, 19(4), 123-132. [in Thai].