รูปแบบการให้บริการสาธารณะด้านงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในอำเภอเมือง จังหวัดหนองคาย

Main Article Content

ภัณฑิลา น้อยเจริญ
พระครูปริยัติรัตนาลงกรณ์ (สิงหา มุ่งหมาย)
พระครูสุตสารบัณฑิต (จำนงค์ ผมไผ)
อริย์ธัช เลิศรวมโชค
อภิวัฒชัย พุทธจร

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ


บทความวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการให้บริการสาธารณะด้านงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (2) ศึกษาข้อเสนอแนะต่อการให้บริการสาธารณะด้านงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย และ (3) สร้างรูปแบบการให้บริการสาธารณะด้านงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในอำเภอเมือง จังหวัดหนองคาย การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงผสม โดยการวิจัยเชิงปริมาณมีกลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ประชาชนผู้มีอายุ 18 ปีขึ้นไปในเขตอำเภอเมืองหนองคาย จังหวัดหนองคาย จำนวน 400 คน ใช้แบบสอบถามในการเก็บรวบรวมข้อมูล สถิติในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สำหรับผู้ให้ข้อมูลเชิงคุณภาพ ได้แก่ ผู้บริหารองค์กรปกครองท้องถิ่น ผู้นำชุมชนและบุคลากรผู้ปฏิบัติหน้าที่เกี่ยวกับการให้บริการสาธารณะด้านงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย จำนวน 12 คน ใช้แบบสัมภาษณ์ในการเก็บรวบรวมข้อมูล


ผลการวิจัยพบว่า 1) ปัจจัยที่มีผลต่อการให้บริการสาธารณะด้านงานป้องกันและบรรเทา                สาธารณภัย พบว่า โดยรวมมีค่าความสัมพันธ์อยู่ในระดับปานกลาง เท่ากับ .574 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 โดยภาพรวม สามารถอธิบายได้ร้อยละ 35.5 มีค่า R2 = .355 และมีค่า F = 54.318          มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 2) ข้อเสนอแนะต่อการให้บริหาร คือ ควรจัดให้มีการซักซ้อมเสมือนจริงในการปฏิบัติตัว ในการอพยพเคลื่อนย้ายกรณีเกิดสาธารณภัยขึ้นจริง ควรมีระบบสัญญาณแจ้งเตือนในภาวะฉุกเฉิน หรือเกิดสาธารณภัยในพื้นที่ และ 3) รูปแบบการให้บริการสาธารณะ ประกอบด้วย ปัจจัยก่อนเกิดภัย ปัจจัยหลังเกิดภัย ปัจจัยบุคลากร และปัจจัยวัสดุอุปกรณ์

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

เอกสารอ้างอิง

กรมการปกครอง. (2565). จำนวนประชาชนที่มีอายุตั้งแต่ 18 ปีขึ้นไปในอำเภอเมือง จังหวัดหนองคาย. เรียกใช้เมื่อ 20 พฤศจิกายน 2565 จาก https://shorturl.asia/bNH3R.

กระทรวงมหาดไทย. (2558). กรมการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย. แผนการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยแห่งชาติ พ.ศ. 2558. กรุงเทพนมหานคร: กระทรวงมหาดไทย.

ทวิดา กมลเวช. (2554). คู่มือการจัดการภัยพิบัติท้องถิ่น. กรุงเทพมหานคร: ธรรมดาเพลส.

นันทวัฒน์ บรมานันท์. (2543). หลักกฎหมายปกครองเกี่ยวกับบริการสาธารณะ. กรุงเทพมหานคร: บริษัทสำนักพิมพ์วิญญูชน จำกัด.

โภคิน พลกุล. (2559). หลักกฎหมายมหาชนเบื้องต้น. (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์นิติธรรม.

วิทยา สัตนาโค. (2562). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการดำเนินงานโครงการศูนย์ความร่วมมือด้านบรรเทาสาธารณภัย อำเภอเมือง จังหวัดร้อยเอ็ด. ใน วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ. (2547). องค์ประกอบของหลักธรรมาภิบาล. กรุงเทพมหานคร: น้ำฝน.

สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยแห่งชาติ. (2552). แผนการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยแห่งชาติ พ.ศ. 2553-2557. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย.

สำนักงานส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นจังหวัดหนองคาย. (2565). จำนวนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในอำเภอเมือง จังหวัดหนองคาย. หนองคาย: สำนักงานส่งเสริมการปกครองจังหวัด.

สิริพร มณีพันธ์. (2558). การจัดทำบริการสาธารณะท้องถิ่นประเทศไทย: ศึกษาจากปัญหาที่เกิดในกรณีเทศบาลและกรุงเทพมหานคร. ใน วิทยานิพนธ์นิติศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

อธิกสิทธิ์ วิเศษกลิ่น. (2555). การศึกษาปัญหาและอุปสรรคในการดำเนินการป้องกันภัยแล้งในเขตพื้นที่ตำบลบ้านวัง อำเภอโนนไทย จังหวัดนครราชสีมา. ใน รายงานการวิจัย. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี.

Clarke, John J. (1957). Outline of Local Government of the United Kingdom. London: Sir Issac. Pitman.