การพัฒนาเครือข่ายการบริหารจัดการขยะเพื่อผลสำเร็จของโครงการ กรุงเก่าเมืองสะอาด อำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) ระดับองค์ประกอบของเครือข่ายในการบริหารจัดการขยะของโครงการกรุงเก่าเมืองสะอาด (2) ระดับผลสำเร็จในการดำเนินกิจกรรมของโครงการกรุงเก่าเมืองสะอาด และ (3) แนวทางการยกระดับประสิทธิภาพการบริหารจัดการขยะของโครงการกรุงเก่าเมืองสะอาด การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงผสมผสาน โดยการวิจัยเชิงปริมาณมีกลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ประชาชนที่เป็นผู้นำชุมชน กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน และผู้แทนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น รวมจำนวน 252 คน ใช้แบบสอบถามในการเก็บรวบรวมข้อมูล สถิติในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สำหรับผู้ให้ข้อมูลเชิงคุณภาพ ได้แก่ ผู้แทนภาคเอกชน ผู้บริหารส่วนราชการ และผู้แทนภาคเครือข่าย รวมจำนวน 5 คน ใช้แบบสัมภาษณ์ในการเก็บรวบรวมข้อมูล
ผลการวิจัยพบว่า 1) องค์ประกอบของเครือข่ายในการบริหารจัดการขยะพบว่า โดยรวมอยู่ในระดับมาก เรียงลำดับองค์ประกอบตามค่าเฉลี่ยคือ เป้าหมายในการเข้าร่วมเครือข่าย รองลงมาคือ ระบบบริหารจัดการภายในเครือข่าย ประโยชน์ของเครือข่าย และปฏิสัมพันธ์ภายในเครือข่าย 2) ผลสำเร็จในการดำเนินกิจกรรมของโครงการกรุงเก่าเมืองสะอาดพบว่า โดยรวมอยู่ในระดับมาก เรียงลำดับตามค่าเฉลี่ย คือ ปริมาณขยะมูลฝอยในชุมชนลดลง รองลงมาคือ การสร้างเครือข่ายอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และจุดเรียนรู้การบริหารจัดการขยะแบบครบวงจรในชุมชน และ 3) ข้อเสนอแนะในการการบริหารจัดการขยะของโครงการกรุงเก่าเมืองสะอาดในอนาคต คือ การลดปริมาณขยะในชุมชน ได้แก่ การขยายพื้นที่ดำเนินการในชุมชนต่าง ๆ ที่สนใจเข้าร่วมโครงการให้ครบทุกตำบล และการประสานขอความร่วมมือจากตลาดชุมชน เพื่อเข้าร่วมกิจกรรมตลาดปลอดโฟม พัฒนาจุดเรียนรู้การบริหารจัดการขยะแบบครบวงจร โดยจัดตั้งกองทุนธนาคารขยะระดับอำเภอ
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
เอกสารอ้างอิง
กระทรวงมหาดไทย. (2566). แผนปฏิบัติการจัดการขยะมูลฝอยชุมชน “จังหวัดสะอาด” ประจำปี พ.ศ. 2566. กรุงเทพมหานคร: กระทรวงมหาดไทย.
เกรียงศักดิ์ เจริญวงศักดิ์. (2543). การจัดการเครือข่าย: กลยุทธ์สำคัญสู่ความสำเร็จของการปฏิรูปการศึกษา. กรุงเทพมหานคร: ซัคเซส มีเดีย.
จังหวัดพระนครศรีอยุธยา. (2565). แผนพัฒนาจังหวัดพระนครศรีอยุธยา (พ.ศ. 2566-2570). พระนครศรีอยุธยา: จังหวัดพระนครศรีอยุธยา.
ณฤทัย ทองมี. (2566). การบริหารจัดการขยะมูลฝอยชุมชนต่อการส่งเสริมการเป็นจังหวัดสะอาด: กรณีศึกษา บ้านป่าตึงงาม เทศบาลตำบลป่าสัก อำเภอเมือง จังหวัดลำพูน. Procedia of Multidisciplinary Research, 1(5), 45.
นันทิยา หุตานุวัตร และณรงค์ หุตานุวัตร. (2547). การพัฒนาองค์กรชุมชน. กรุงเทพมหานคร: เคล็ดไทย.
ปาริชาติ สถาปิตานนท์ และชัยวัฒน์ ถิระพันธ์. (2546). สื่อสารกับสังคมเครือข่าย. กรุงเทพมหานคร: สถาบันชุมชนท้องถิ่นพัฒนา.
สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม. (2565). จัดการขยะที่ต้นทางสู่ปลายทางที่ยั่งยืน. กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม. กรุงเทพมหานคร: บริษัท สำนักพิมพ์สื่อตะวัน จำกัด.
เสรี พงศ์พิศ. (2548). เครือข่าย : ยุทธวิธีเพื่อประชาคมเข้มข้น ชุมชนเข้มแข็ง. กรุงเทพมหานคร: สถาบันส่งเสริมวิสาหกิจชุมชน.
อำเภอพระนครศรีอยุธยา. (2565). โครงการกรุงเก่าเมืองสะอาด อำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา. พระนครศรีอยุธยา: อำเภอพระนครศรีอยุธยา.
อำเภอพระนครศรีอยุธยา. (2565). แผนพัฒนาอำเภอพระนครศรีอยุธยา ปี 2566-2567. พระนครศรีอยุธยา: อำเภอพระนครศรีอยุธยา.
Frederickson, George H. (1989). Minnowbrook II: Changing Epochs of Public Administration. Public Administration Review, 49(2),pp.95-100.
Yamane, Taro. (1973). Statistics; An Introduction Analysis. Harper International Edition: Tokyo.