พงศาวดารน่าน: ประวัติพัฒนาการและการพัฒนาสู่การเรียนรู้ชุมชนน่าน
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาประวัติความเป็นมาของวรรณกรรมพงศาวดารน่าน 2) ปริวรรตและวิเคราะห์คัมภีร์พงศาวดารน่าน 3) พัฒนาหลักสูตรท้องถิ่นการเรียนรู้พงศาวดารน่าน เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพและการวิจัยเชิงปฏิบัติการ กลุ่มผู้ให้ข้อมูลสำคัญในการศึกษา ได้แก่ ผู้ทรงคุณวุฒิเชี่ยวชาญด้านปริวรรตและแปลภาษาล้านนา ผู้เชี่ยวชาญการพัฒนาหลักสูตรของพื้นที่ปฐมศึกษาน่าน ผู้เชี่ยวชาญประวัติศาสตร์ท้องถิ่นน่าน จำนวน 7 รูป/คน ผู้เชี่ยวชาญการพัฒนาหลักสูตรจำนวน 6 ท่าน ผู้ทรงคุณวุฒิตรวจสอบหลักสูตรท้องถิ่น จำนวน 5 ท่าน เครื่องมือการวิจัยได้แก่ แบบสัมภาษณ์เชิงลึก การจัดประชุมกลุ่มย่อย การปฏิบัติการในการพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่น วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการพรรณนา
ผลการวิจัยพบว่า 1) ประวัติความเป็นมาของคัมภีร์พงศาวดารน่าน เกิดจากความประสงค์ของ พระเจ้าน่านองค์ที่ 63 พระองค์ทรงได้มอบหมายให้แสนหลวงราชสมภาร เป็นผู้รวบรวมและเรียบเรียงจากเอกสารใบลานต่าง ๆ ให้ได้เนื้อหาที่สมบูรณ์มากที่สุด แล้วจดบันทึกด้วยอักษรธรรมล้านนา 2) การปริวรรตคัมภีร์พงศาวดารน่าน มีรูปแบบการปริวรรต 3 รูปแบบ คือ 1. การปริวรรตตามรูปอักษรตัวต่อตัว 2. การปริวรรตอักษรพื้นเมืองตามเสียงในภาษาท้องถิ่น 3. การปริวรรตคำในท้องถิ่นให้ตรงกับคำในภาษาไทยกลาง ในการปริวรรตคัมภีร์พงศาวดารน่านจากล้านนาไทยเป็นภาษาไทย ใช้หลักการปริวรรตคำในท้องถิ่นให้ตรงกับคำในภาษาไทยกลาง 3) การพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่นการเรียนรู้พงศาวดารน่าน เป็นการพัฒนาหลักสูตรจากองค์ความรู้ของการปริวรรตคัมภีร์พงศาวดารน่าน ผ่านกระบวนการวิเคราะห์ สังเคราะห์ให้มีเนื้อหาเหมาะสมกับผู้เรียน โดยมีกระบวนการพัฒนาหลักสูตรสามารถแบ่งออกเป็น 3 กระบวนการ คือ 1) วิเคราะห์เนื้อหาสาระสำคัญจากพงศาวดารน่าน 2) พัฒนาหลักสูตรท้องถิ่นเรียนรู้พงศาวดารน่าน 3) ตรวจสอบหลักสูตรท้องถิ่นการเรียนรู้พงศาวดารน่าน
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
เอกสารอ้างอิง
กนกวรรณ รุกชชาติ. (2541). แนวโน้มการพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่นการศึกษานอกโรงเรียนสายอาชีพจากภูมิปัญญาชาวบ้านในศตวรรษที่ 21. ใน วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
จังหวัดทหารบกน่าน. (2552). พระเจ้านครน่าน. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์เอบอย.
ชลดา สังวร. (2553). เอกลักษณ์น่าน. เชียงใหม่: สำนักพิมพ์แม็ก.
รัตนา จันทร์เทาว์. (2548). การปริวรรตใบลานอีสาน : ตำรายา. ใน รายงานการวิจัย. สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ.
วรรณวิทย์ เหลืองประภัสร์. (2547). การศึกษาวิเคราะห์คัมภีร์ใบลานเรื่องสัตราอภิธรรมกำเนิด. ใน สารนิพนธ์หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยศิลปากร.