ปัญหาทางกฎหมายในเรื่องการกำหนดผู้ทำหน้าที่แทนกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน กรณีการยกฐานะท้องถิ่นเป็นเทศบาลเมือง หรือเทศบาลนคร

Main Article Content

อัญชนา สุริยะ
อัจฉราพร สีหวัฒนะ

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ


         บทความวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาถึงความเป็นมา เจตนารมณ์ ที่เกี่ยวข้องกับการพ้นจากตำแหน่งและการยกเลิกตำแหน่งกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน และปัญหาที่เกิดขึ้น วิเคราะห์เปรียบเทียบพระราชบัญญัติลักษณะปกครองท้องที่ พระพุทธศักราช 2457 และพระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ. 2496 และเปรียบเทียบกฎหมายต่างประเทศ และเพื่อเสนอแนะแนวทางการปรับปรุงหรือแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายเกี่ยวกับการพ้นจากตำแหน่งและการยกเลิกตำแหน่งกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน เพื่อให้มีความเหมาะสม และสอดคล้องกับบริบทของพื้นที่ การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงเชิงคุณภาพ โดยศึกษาข้อมูลจากเอกสารต่าง ๆ ทั้งในประเทศ และต่างประเทศ


         ผลการวิจัยพบว่า การที่ตำแหน่งของกำนัน ผู้ใหญ่บ้านถูกกำหนดให้พ้นไปเมื่อเขตพื้นที่นั้น             ยกฐานะเป็นเทศบาลเมืองหรือเทศบาลนคร ส่งผลกระทบกับทั้งตัวอดีตกำนัน ผู้ใหญ่บ้านที่ถูกกำหนดให้พ้นจากตำแหน่งเอง และประชาชน ในเรื่องของการติดต่อ ประสานงาน รับบริการกับราชการ                  ส่วนภูมิภาคที่ยังมีอยู่เป็นจำนวนมาก และราชการส่วนภูมิภาคเองที่ขาดกำลังหลักสำคัญระดับพื้นที่              ที่ใกล้ชิดประชาชนที่สุด ในการขับเคลื่อนนโยบายแห่งรัฐ โดยที่ยังไม่มีมาตรการใด ๆ แห่งการพ้น               จากตำแหน่งมารองรับ จึงเห็นปัญหาสำคัญ 2 ประการ คือ 1) ไม่มีมาตรการเยียวยาตัวผู้ถูกให้พ้นจากตำแหน่ง 2) ไม่มีผู้ใดมากระทำหน้าที่แทนกำนัน ผู้ใหญ่บ้านได้ ตามระเบียบกฎหมายบางเรื่อง ผู้วิจัยจึงมีข้อเสนอแนะในการแก้ไขปัญหาคือ กำหนดผู้ทำหน้าที่แทนโดยกำหนดให้การใดที่กำนัน ผู้ใหญ่บ้านมีหน้าที่ แต่ต้องพ้นจากตำแหน่งเพราะการยกฐานะขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ให้ผู้นำชุมชนมีอำนาจ หน้าที่แทน และกำหนดมาตรการเยียวยา โดยกำหนดให้พ้นจากตำแหน่งและได้รับค่าตอบแทนจนกว่าจะถึงรอบการประเมิน 4 ปี ของบุคคลนั้น

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

เอกสารอ้างอิง

โกวิทย์ พวงงาม. (2554). การปกครองท้องถิ่นไทย หลักการและมิติใหม่ในอนาคต. กรุงเทพมหานคร: วิญญูชน.

ณัฐธิดา บุญธรรม. (2556). ระบบการปกครองท้องถิ่นของประเทศสาธารณรัฐฟิลิปปินส์. กรุงเทพมหานคร: สถาบันพระปกเกล้า.

ดาวนภา เกตุทอง. (2563). การกระจายอำนาจสู่องค์กรปกครองท้องถิ่น. วารสาร มจร เพชรบุรีปริทรรศน์, 3(2), 46 - 57.

เทศบาลเมืองบึงกาฬ. (2565). บทบาทและอำนาจหน้าที่. เรียกใช้เมื่อ 1 สิงหาคม 2566 จาก https://www.buengkhanml.go.th/obt/duty.

นครินทร์ เมฆไตรรัตน์. (2546). บทบาทอำนาจหน้าที่ของกำนันผู้ใหญ่บ้านและการปกครองท้องที่. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา.

ประกาศกระทรวงมหาดไทย. (2563). เรื่อง ยุบเลิกเทศบาลตำบลวิศิษฐ์ รวมองค์การบริหารส่วนตำบล บึงกาฬกับเทศบาลตำบลบึงกาฬ อำเภอเมืองบึงกาฬ จังหวัดบึงกาฬ และเปลี่ยนแปลงเขตและฐานะเป็นเทศบาลเมืองบึงกาฬ. ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 137 ตอนพิเศษ 179 ง หน้า 3 (5 สิงหาคม 2563).

ประมวล รุจนเสรี. (2541). นายอำเภอในฝัน. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์มติชน.

ประเสริฐ จิตติพัฒนพงศ์. (2532). การปกครองท้องถิ่นและการเลือกตั้งท้องถิ่นในญี่ปุ่น. วารสารพัฒน บริหารศาสตร์, 29(2), 145 - 155.

ปริญ นิทัศน์เอก. (2553). พัฒนาการของการปกครองท้องที่ไทยในพระราชบัญญัติลักษณะปกครองท้องที่. ใน วิทยานิพนธ์ปริญญารัฐศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

พรหมศักดิ์ แสงโพธิ์. (2554). การกระจายอำนาจแบบฝรั่งเศส. เรียกใช้เมื่อ 15 กรกฎาคม 2566 จาก https://www.facebook.com/notes/เชียงใหม่จัดการตนเอง/การกระจายอำนาจแบบฝรั่งเศส.

พระราชบัญญัติเทศบาล (ฉบับที่ 12). (2546). ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 120 ตอนที่ 124 ก หน้า 1 (22 ธันวาคม 2546).

ภิรมย์พร ไชยยนต์. (2557). การกระจายอำนาจการปกครองท้องถิ่น: ศึกษากรณีการปกครองตนเองตามเจตนารมณ์ของประชาชนในระดับจังหวัด. ใน วิทยานิพนธ์หลักสูตรนิติศาสตรมหาบัณฑิต สาขานิติศาสตร์. สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.

โภคิน พลกุล. (2536). หลักเกี่ยวกับการจัดระเบียบบริหารราชการ. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

มรุต วันทนากร และดรุณี หมั่นสมัคร. โครงสร้างการบริหารงานของเทศบาล. เรียกใช้เมื่อ 1 สิงหาคม 2566 จาก http://wiki.kpi.ac.th/index.php?title=โครงสร้างการบริหารงานของเทศบาล.

ระเบียบ ก.พ.ค. ว่าด้วยการเยียวยาความเสียหายให้แก้ผู้อุทธรณ์ และผู้ร้องทุกข์ หรือดำเนินการอื่นใดเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรม. (2565). ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 139 ตอนพิเศษ 77 ง ฆน้า 6 (1 เมษายน 2565).

ระเบียบกระทรวงมหาดไทย ว่าด้วยคณะกรรมการชุมชนของเทศบาล. (2564). ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 138 ตอนพิเศษ 45 ง หน้า 1 (25 กุมภาพันธ์ 2564)

วสันต์ เหลืองประภัสร. (2558). การรวมศูนย์อำนาจและการกระจายอำนาจกับการบริหารราชการแผ่นดินไทย:ทบทวนแนวคิด ข้อถกเถียง และข้อพิจารณาเพื่อการปฏิรูป. กรุงเทพมหานคร: บริษัท ซัน แพคเกจจิ้ง (2014) จำกัด.

วุฒิสาร ตันไชย และธีรพรรณ ใจมั่น. (2547). สารานุกรมการปกครองท้องถิ่นไทยสถาบันพระปกเกล้า. นนทบุรี: สถาบันพระปกเกล้า.