ภาวะผู้นำเชิงศรัทธาบารมีของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดธานี เขต 1
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทคัดย่อ
การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับภาวะผู้นำเชิงศรัทธาบารมี ของผู้บริหารสถานศึกษาและระดับประสิทธิผลของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 1 2) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำเชิงศรัทธาบารมี กับความมีประสิทธิผลของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 1 และ 3) ศึกษาภาวะผู้นำเชิงศรัทธาบารมีที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของสถานศึกษา สังกัดสำนักงาน เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 1 กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้บริหารและครู จำนวน 123 โรงเรียน โรงเรียนละ 3 คน รวม 369 คน เครื่องมือที่ใช้เก็บข้อมูล คือ แบบสอบถาม แบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ ค่าความเชื่อมั่นแบบสอบถามทั้งฉบับเท่ากับ 0.95 สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัย พบว่า 1) ระดับภาวะผู้นำเชิงศรัทธาบารมีของผู้บริหารสถานศึกษา โดยรวมอยู่ในระดับมาก และระดับประสิทธิผลของสถานศึกษา โดยรวมอยู่ในระดับมากเช่นกัน 2) ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำผู้นำเชิงศรัทธาบารมีที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของสถานศึกษา โดยรวมมีความสัมพันธ์ทางบวกกับประสิทธิผลของสถานศึกษา อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .01 และภาวะผู้นำเชิงศรัทธาบารมีทุกด้าน มีความสัมพันธ์กับปัจจัยรายด้านอยู่ในระดับสูง 3) ภาวะผู้นำเชิงศรัทธาบารมีส่งผลต่อประสิทธิผลของสถานศึกษา ร้อยละ 38.50 ตัวแปรพยากรณ์ส่งผลต่อประสิทธิผลของสถานศึกษา 3 ตัวแปร ได้แก่ 1. ด้านเป็นแรงบันดาลใจ 2. ด้านความสามารถในการตัดสินใจ 3. ด้านความมั่นใจในตัวเอง โดยสามารถเขียนสมการพยากรณ์ในรูปคะแนนดิบ และสมการในรูปคะแนนมาตรฐาน ได้ดังนี้
สมการพยากรณ์ในรูปคะแนนดิบ
= 1.703 + .226 (X4) +.215 (X3) + .161 (X5)
สมการพยากรณ์ในรูปคะแนนมาตรฐาน
= .317 (X4) + .296 (X3) + .228 (X5)
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
เอกสารอ้างอิง
ณัฐฐา พลเยี่ยม. (2563). ภาวะผู้นำเชิงศรัทธาบารมีและภาวะผู้นำแบบร่วมพลังที่ส่งผลต่อ
การมีส่วนร่วมของชุมชนของโรงเรียนประถมศึกษาในจังหวัดชัยภูมิ: โมเดลแข่งขัน
ภาวะผู้นำเชิงศรัทธาบารมีและภาวะผู้นำแบบร่วมพลัง. ใน วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
รัตติกรณ์ จงวิศาล. (2556). ภาวะผู้นำ: ทฤษฎีการวิจัยและแนวทางสู่การพัฒนา. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
วรวิทย์ จินดาพล. (2559). การปรับเปลี่ยนกระบวนทัศน์วัฒนธรรมและค่านิยมของคณะกรรมการสภาคณาจารย์และข้าราชการ: กรณีศึกษาบุคลากรมหาวิทยาลัยราชภัฏในกรุงเทพมหานคร. ใน รายงานวิจัย. มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา.
วิราพร ดีบุญมี. (2556). ภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ของผู้ปริหารที่ส่งผลต่อความมีประสิทธิผลของโรงเรียนสังกัดเทศบาลนครขอนแก่น. ใน วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
วัชระ คงแสนคำ. (2565). รูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงศรัทธาบารมีของผู้บริหารสถานศึกษาขนาดเล็ก. ใน วิทยานิพนธ์ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการศึกษาและพัฒนาท้องถิ่น . มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 1. (2566). แผนปฏิบัติการประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566. อุดรธานี : กลุ่มนโยบายและแผน สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ประถมศึกษาอุดรธานี เขต 1.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2557). เกณฑ์รางวัลคุณภาพ (OBECQA)
ของโรงเรียนมาตรฐานสากล. กรุงเทพมหานคร : ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2561). มาตรฐานการศึกษาของชาติ พ.ศ. 2561.
กรุเทพมหานคร : บริษัท 21 เซ็นจูรี่ จำกัด.
Cronbach, L. J. (1990). Essentials of psychological testing. (5th ed.). New York: Harper Collins Publishers.
Ivancevich, J. M., Konopaske, R., and Matteson, M. T. (2008). Organizational Behavior and Management. 8 th ed. Boston: McGrawhill.
Krejcie,R. V., & Morgan, D.W. (1970). Determination sample size for research activities. cEducation and Psychology Measurement, 30(3), 607-610.
Likert, Rensis. (1967). The Method of Constructing and Attitude Scale.
Attitude Theory