วิธีการวิจัยในประชากรกลุ่มเปราะบางทางการศึกษา

Main Article Content

จิราภรณ์ ผันสว่าง
เอกราช โฆษิตพิมานเวช
ระพีพัฒน์ หาญโสภา
อมรรัตน์ ผันสว่าง

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ


         ความเหลื่อมล้ำความไม่เสมอภาค แบ่งแยกความแตกต่างมีช่องว่างระหว่างกลุ่มชนชั้น ความไม่เท่าเทียมกันระหว่าง “ผู้มีโอกาส” กับ “ผู้ขาดโอกาส” ในที่นี้ ผู้เขียนให้ความสำคัญต่อผู้ขาดโอกาสที่ขอเรียกว่า “กลุ่มเปราะบาง” คือ ประชากรกลุ่มที่ไม่อาจเข้าถึงบริการสังคมด้วยเหตุผลหลากหลาย กลุ่มที่ถูกละเลยโดยระบบการศึกษา ที่มีความเสี่ยงถูกกีดกันจากระบบการศึกษาสูงแม้ในภาวะปกติ และยิ่งสูงขึ้นในภาวะปกติใหม่ภายหลังการระบาดของโรคติดเชื้อ COVID-19 ผู้เขียนมีความเชื่อว่าผู้เรียนที่เป็นกลุ่มเปราะบางทางการศึกษาเป็นประจักษ์พยานของการขาดความเสมอภาคทางการศึกษาที่ทวีความรุนแรงในภาวะวิกฤต การให้ความช่วยเหลือแก่ผู้เรียนกลุ่มนี้ รวมถึงการลดจำนวนผู้เรียนกลุ่มดังกล่าวในระยะยาว เพื่อการรับมือวิกฤตอื่น ๆ ในอนาคต โดยคำนึงถึงความต้องการที่แตกต่างกันของผู้เรียนทุกกลุ่ม เนื้อหาที่ผู้เขียนนำเสนอมุ่งเน้นอภิปรายเกี่ยวกับวิสัยทัศน์และแนวปฏิบัติที่นำไปสู่ความเสมอภาคทางการศึกษา แนวคิดนักวิชาการด้านการศึกษาวิจัยในตัวอย่างที่มีความเปราะบาง ซึ่งต้องใช้หลักการและเทคนิคการวิจัยในหลายรูปแบบ ได้แก่ การเข้าถึงข้อมูล การนำเสนอกลยุทธ์การเก็บข้อมูลเชิงคุณภาพ การใช้แนวทางการดำเนินการวิจัยที่มีความเหมาะสม ซึ่งนอกจากจะได้ผลการศึกษาวิจัยที่มีคุณภาพแล้ว ยังเป็นการลดความเหลื่อมล้ำ สร้างความเสมอภาคในการปฏิบัติของนักวิจัยต่อตัวอย่างหรือผู้เข้าร่วมที่มีความแตกต่างกัน นักวิจัยควรตระหนักถึงการพิทักษ์สิทธิ์ของกลุ่มตัวอย่าง จริยธรรมการวิจัยในมนุษย์ การดำเนินการภายใต้วิธีวิทยาการวิจัยซึ่งเป็นองค์ความรู้หลัก หรือการดำเนินการภายใต้ความมีเหตุและผลตามหลักวิชาการของวิธีการศึกษานั้น ๆ

Article Details

บท
บทความวิชาการ

References

เอกสารอ้างอิง

กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (กสศ.). (2565). ประชุมวิชาการนานาชาติเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา 2022 ครั้งที่ 2 ภายใต้แนวคิด ก้าวสู่ความเสมอภาคไปด้วยกัน ระหว่างวันที่ 19 - 20 ตุลาคม 2565. เรียกใช้เมื่อวันที่ 25 สิงหาคม 2566 จาก https://shorturl.asia/yArSO.

ไกรยส ภัทราวาท. (2566). กสศ. เผยเด็กกลุ่มเปราะบางเผชิญปัญหารอบด้าน ชี้ครอบครัวเป็นปัจจัยสำคัญ ช่วยเด็กพ้นภาวะวิกฤตการศึกษา. เรียกใช้เมื่อวันที่ 27 สิงหาคม 2566. จาก https://www.thereporters.co/tw-humanity/0708231731/.

ชลิตา หนูหล้า. (2564). กลุ่มเปราะบางทางการศึกษา’ ด่านที่ต้องฝ่าเพื่อความเสมอภาค. เรียกใช้เมื่อวันที่ 27 สิงหาคม 2566. จาก https://www.eef.or.th/vulnerable-groups-in-education-inequality/.

ระพีพัฒน์ หาญโสภา. (2563). การจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21: ทฤษฎีสู่การปฏิบัติ. วารสารวิชาการธรรมทรรศน์, 20(2), 163-172.

วรภัทร วีรพัฒนคุปต์. (2563). ความเหลื่อมล้ำประชากรกลุ่มเปราะบางสิทธิมนุษยชน. เรียกใช้เมื่อวันที่ 27 สิงหาคม 2566 จาก http://ucl.or.th/?p=3495.

วรรณวดี พูลพอกสิน. (2563). บทเรียนรู้จากการใช้วิธีการวิจัยในตัวอย่างเปราะบาง: จากทฤษฎีสู่การปฏิบัติ. หนังสือรวมบทความสัมมนาทางวิชาการเนื่องในวันสถาปนาคณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ 66 ปี สังคมสงเคราะห์และสวัสดิการสังคม: การปลดล็อกความเหลือมล้ำสู่ความยั่งยืน.

สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล. (2560). เสริมพลังกลุ่มเปราะบาง สร้างสังคมที่ไม่ทอดทิ้งกัน. นครปฐม: สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล.

สำนักงานปฏิรูป สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ. (2555). แนวทางการปฏิรูปประเทศไทย ข้อเสนอต่อพรรคการเมืองและผู้มีสิทธิเลือกตั้ง. (พิมพ์ครั้งที่ 2). นนทบุรี: บริษัท หจก.บางกอกบล็อก.

สุรศักดิ์ เก้าเอี้ยน. (2566). สถานการณ์เด็กในวิกฤตหลุดจากระบบการศึกษา เสียงเงียบที่ต้องฟัง ทางออกที่มองเห็น. เรียกใช้เมื่อวันที่ 26 สิงหาคม 2566. จากhttps://www.eef.or.th/infographic-210623/.

Baker, A. J. L., and Charvat, B.J. (2008). Research methods in child welfare. New York, NY: Columbia University Press.

Britten, N. (2000). Qualitative interviews in health care research. In C. Pope & N. Mays (Eds.), Qualitative research in health care. (2nd ed.). Bristol: BMJ Publishing.

Campbell, A., Taylor, B.J., & McGlade, A. (2017). Research design is social work: Qualitative and quantitative methods. New Delhi: Sage.

Charnaram S. (2018). Practical guidelines for research’s ethical analysis in the processes of conducting qualitative research. ARU Research Journal, 5(1), 79-86.

Liamputtong, P. (2013). Qualitative research methods. (4th ed.). Victoria: Oxford University Press.

Merriam SB, Tisdell EJ. (2016). Qualitative research: a guide to design and implementation. (4 ed). San Francisco: Jossey-Bass.

Padgett, D.K. (2017). Qualitative methods in social work research. (3rd ed.). California: Sage.

Setia, M.S. (2017). Methodology series module 10: Qualitative health research. Indian journal of dermatology. doi: 10.4103/ijd.IJD_290_17.