บทบาทของวัดทางพระพุทธศาสนาในมิติการเป็นอุทยานการศึกษา

Main Article Content

พระมหาอำพล ธนปญฺโญ (ชัยสารี)
พระมหาเกริกเกียรติ นิรุตฺติเมธี (ไพศาลเจริญลาภ)
พระครูสุตสารบัณฑิต (จำนงค์ ผมไผ)
ประยูร แสงใส
พระครูประภัสสรวิมลกิจ (เล็ก ทองแสน)

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ


บทความวิชาการนี้มุ่งเน้นให้เห็นถึงความสำคัญของอุทยานการศึกษา ซึ่งเกิดจากการนำสภาพแวดล้อมมาประยุกต์ใช้เป็นสื่อการเรียนรู้สำหรับเยาวชนและประชาชนทั่วไป แนวคิดนี้ได้รับการพัฒนามาต่อเนื่อง โดยเริ่มจากการพัฒนาวัดและโรงเรียนให้เป็นศูนย์กลางการเรียนรู้ รวมถึงการจัดตั้งห้องสมุดในโรงเรียน ห้องสมุดสำหรับประชาชน และห้องสมุดวัด ตลอดจนการอนุรักษ์และพัฒนาหอไตร วัดในฐานะอุทยานการศึกษาจึงเป็นแหล่งการเรียนรู้ที่มีคุณค่าทางพระพุทธศาสนาและวัฒนธรรม โดยชาวไทยและชาวต่างชาติสามารถเข้ามาเพื่อการเรียนรู้ กราบสักการะพระพุทธรูปในวัดสำคัญ หรือทำบุญเพื่อความสุขและความเจริญในชีวิต นอกจากนี้ วัดยังเป็นที่ศึกษาศิลปะในเชิงวัฒนธรรม คำสอนทางพระพุทธศาสนา และอุทยานการศึกษา เป็นการปลูกฝังและส่งเสริมนิสัยรักการอ่าน และแสวงหาความรู้ด้วยบรรยากาศที่เหมาะสมต่อการเรียนรู้ ส่งเสริมให้เด็กและเยาวชนมีนิสัยรักการอ่าน แสวงหาความรู้และเรียนรู้อย่างสร้างสรรค์ตลอดชีวิต ส่งเสริมด้านโอกาสความคิดสร้างสรรค์ แบ่งปันและกระจายโอกาสในการเข้าถึงแหล่งข้อมูล ส่งเสริมทักษะชีวิต สนับสนุนจิตนาการ แรงบันดาลใจ และสร้างนวัตกรรม ความหมายในเชิงโดยพฤตินัย วัด หมายถึง พุทธสถาน ประกอบด้วย 3 เขต คือ เขตพุทธาวาส เขตธรรมาวาส และเขตสังฆาวาส ส่วนในเชิงนิตินัย วัดที่ได้รับการรับรองตามพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ. 2505 และแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2535 ต้องได้รับพระราชทานพระบรมราชานุญาตสำหรับการสร้างวัดเสียก่อน เพื่อให้มีสถานะที่ชอบด้วยกฎหมาย ทั้งนี้ วัดจึงถือเป็นสถาบันสำคัญที่ทำหน้าที่ทั้งอนุรักษ์และเผยแผ่วัฒนธรรม คำสอนทางศาสนา และสร้างแรงบันดาลใจในการแสวงหาความรู้ที่มีคุณค่าต่อสังคม.

Article Details

บท
บทความวิชาการ

References

กนกวรรณ ดุงศรีแก้ว. (2542). การพัฒนาวัดให้เป็นแหล่งท่องเที่ยว. จุลสารการท่องเที่ยว, 18(4), 49-60.

กรมการศาสนา. (2539). หลักการบริหารและการจัดกากรวัดในยุคโลกาภิวัตน์. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานสภาสถาบันราชภัฏ.

กรมการศาสนา. (2543). วัดพัฒนา 43. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์การศาสนา.

แก้ว ชิดตะขบ. (2549). การส่งเสริมให้วัดเป็นศูนย์กลางการเรียนรู้ของชุมชน. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ.

โกวิทย์ วรพิพัฒน์. (2555). อุทยานการศึกษา. เรียกใช้เมื่อ 10 กุมภาพันธ์ 2567 จาก https://www.mediathailand.org/2012/05/blog-post_6277.html.

ชำเลือง วุฒิจันทร์ และไพโรจน์ กิตติโฆษณ์. (2541). ระเบียบ คำสั่ง และประกาศเกี่ยวกับการทำนุบำรุงส่งเสริมและอุปถัมภ์การคณะสงฆ์และการพระศาสนา. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์การศาสนา.

พระครูโสภิตปุญญากร (กล้า กตปุญฺโญ) และคณะ. (2558). บทบาทของวัดในฐานะเป็นแหล่งเรียนรู้เชิงวัฒนธรรม. วารสารครุศาสตร์ปริทรรศน์ฯ, 2(3), 80-86.

พระธรรมวรนายก (โอภาส นิรุตฺติเมธี). (2546). ธรรมปริทัศน์ 46. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

วรพงศ์ ผูกภู่. (2561). องค์ประกอบการพัฒนาแหล่งเรียนรู้. เรียกใช้เมื่อ 30 มีนาคม 2567 จาก https://www.randdcreation.com/content/2992/องค์ประกอบการพัฒนาแหล่งเรียนรู้.

สถาบันอุทยานการเรียนรู้. (2565). แนวทางการบริหารจัดการ อุทยานการเรียนรู้. เรียกใช้เมื่อ 10 กุมภาพันธ์ 2567 จาก https://www.tkpark.or.th/tha/home.

สมเด็จพระพุฒาจารย์ (เกี่ยว อุปเสโณ). (2542). การดำรงตน. กาญจนบุรี: สหธรรมิก.

สามารถ มังสัง. (2557). วัด : แหล่งเรียนรู้อันควรอนุรักษ์. เรียกใช้เมื่อ 30 มีนาคม 2567 จาก https://mgronline.com/daily/detail/9570000143892.

สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ. (2563). คู่มือพระสังฆาธิการ. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ.

สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ. (2566). หลักเกณฑ์และแนวทางในการพิจารณาคัดเลือกอุทยานการศึกษาในวัด. เรียกใช้เมื่อ 10 กุมภาพันธ์ 2567 จาก https://shorturl.asia/7cOQX.

สิริวัฒน์ คำวันสา. (2544). เอกสารประกอบการฝึกอบรมหลักสูตรโครงการเสริมความรู้ถวายพระสงฆ์เพื่อการพัฒนาสังคมไทย. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์: สำนักเสริมศึกษาและบริการสังคม.