การบริหารสถานศึกษาตามหลักสาราณียธรรม 6 ของผู้บริหารสถานศึกษากลุ่มโรงเรียนมัธยมศึกษาสหวิทยาเขตหลักเมืองเลย สังกัดสานักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเลย หนองบัวลาภู

Main Article Content

สิทธิชัย เทียมไธสงค์
พระครูปลัดสมชัย นิสฺสโภ
พระมหาสุภวิชญ์ ปภสฺสโร

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ


         บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. ศึกษาสภาพการบริหารสถานศึกษาของผู้บริหารสถานศึกษา 2. เปรียบเทียบความคิดเห็นที่มีต่อการบริหารสถานศึกษาตามหลักสาราณียธรรม 6 ของผู้บริหารสถานศึกษา 3. เสนอแนวทางแนวทางการบริหารสถานศึกษาตามหลักสาราณียธรรม 6 ของผู้บริหารสถานศึกษา การวิจัยนี้เป็นการวิจัยแบบผสม กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้สอนในโรงเรียน กลุ่มโรงเรียนมัธยมศึกษา สหวิทยาเขตหลักเมืองเลย สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเลย หนองบัวลำภู จำนวน 260 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ ซึ่งมีค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ 0.97 และแบบสัมภาษณ์ สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ  ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที และการทดสอบค่าเอฟ


         ผลการวิจัยพบว่า 1. การบริหารสถานศึกษาตามหลักสาราณียธรรม 6 ของผู้บริหารสถานศึกษา โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด ได้แก่ ด้านการบริหารงานวิชาการ 2. ผลการเปรียบเทียบความคิดเห็นต่อการบริหารสถานศึกษาตามหลักสาราณียธรรม 6 ของผู้บริหารสถานศึกษาที่มีตำแหน่ง และประสบการณ์ในการทำงานต่างกัน มีความคิดเห็นต่อการบริหารสถานศึกษาตามหลักสาราณียธรรม 6 โดยรวมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ส่วนจำแนกตามระดับการศึกษาไม่แตกต่างกัน 3. แนวทางการบริหารสถานศึกษา ควรกำกับ ติดตาม และประเมินผลการเรียนของนักเรียนเป็นระยะอย่างต่อเนื่อง จัดการสอนในรูปแบบสหวิทยาการ มีการใช้เทคนิควิธีการสอนที่หลากหลาย ชุมชนร่วมกับสถานศึกษาในการจัดสภาพแวดล้อม ปฏิบัติตนที่เหมาะสมกับกาลเทศะ ตำแหน่ง หน้าที่ จัดซื้อ/จัดหาวัสดุอุปกรณ์ให้เพียงพอ เสียสละ และทำหน้าที่มุ่งผลประโยชน์ของสถานศึกษา

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

เอกสารอ้างอิง

กระทรวงศึกษาธิการ. (2553). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2553. กรุงเทพมหานคร: พริกหวานกราฟฟิค.

บุญชม ศรีสะอาด. (2554). การวิจัยเบื้องต้น. (พิมพ์ครั้งที่ 9). กรุงเทพมหานคร: สุวีริยาสาส์น.

พระธรรมปิฎก (ป.อ. ปยุตฺโต). (2547). พจนานุกรมพุทธศาสตร ฉบับประมวลธรรม. (พิมพ์ครั้งที่ 12). กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พิษณุวัชร์ สวัสดี. (2558). สภาพและปัญหาการดำเนินการจัดการเรียนรู้สู่ประชาคมอาเซียนของโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 19. วารสารวิชาการวิทยาลัยสันตพล, 1(2), 78-90.

ภณัฐพงศ์ พลมุขและจักรกฤษ โพดาพล. (2561). สภาพและปัญหาการดำเนินงานประกันคุณภาพภายในของโรงเรียนสังกัดสำงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 19. วารสาร มจร พุทธปัญญาปริทรรศน์, 3(3), 363-375.

รำเพียร น้องเชียงคูณ สุชาติ บางวิเศษ และอุทัย ปลีกล่ำ. (2559). สภาพการใช้ระบบสำนักงานอิเล็กทรอนิกส์ (e-Office) ในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 19. วารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์, 10(3), 135-148.

สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร. (2562). ความมุ่งหมายและคำอธิบายประกอบรายมาตราของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร.

อัครพล นกทอง. (2564). แนวทางการบริหารสถานศึกษาตามหลักสาราณียธรรม 6 ของโรงเรียนในอำเภอชุมแสง จังหวัดนครสวรรค์. ใน วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

Krejcie, R. V. & Morgan, D. W. (1970). Determining Sample Size for Research Activities. Educational and Psychological Measurement, 30(3).