สภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ระบบนิเวศการเรียนรู้ของโรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน

Main Article Content

สุภารัตน์ วัฒนธรรม
วัลลภา อารีรัตน์
เกื้อจิตต์ ฉิมทิม

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ


บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบันระบบนิเวศการเรียนรู้โรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย 2) เพื่อศึกษาสภาพที่พึงประสงค์ระบบนิเวศการเรียนรู้โรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย 3) เพื่อศึกษาความต้องการจำเป็นของระบบนิเวศการเรียนรู้โรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ผู้บริหารและครู โรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ปีการศึกษา 2565 จำนวน 297 คน การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ แบบสอบถามแบบมาตรวัดประมาณค่า 5 ระดับ มีค่า IOC อยู่ในระหว่าง 0.66 - 1.00 และมีค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถามทั้งฉบับ เท่ากับ 0.979 สถิติที่ใช้ ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ค่าความต้องการจำเป็น (PNImodified)


ผลการวิจัยพบว่า 1. สภาพปัจจุบันระบบนิเวศการเรียนรู้ ในภาพรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายด้านพบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดคือ ด้านวิธีการจัดการเรียนรู้ ส่วนด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุดคือ ด้านเครือข่ายการมีส่วนร่วม 2. สภาพที่พึงประสงค์ระบบนิเวศการเรียนรู้ ในภาพรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดคือ ด้านสภาพแวดล้อมการจัดการเรียนรู้และเทคโนโลยีทันสมัย ส่วนด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุดคือ ด้านเครือข่ายการมีส่วนร่วม 3. ค่าดัชนีความต้องการจำเป็นระบบนิเวศการเรียนรู้ ในภาพรวมพบว่า ค่า PNImodified อยู่ระหว่าง 0.066 ถึง 0.084 ลำดับความต้องการจำเป็นสูงสุดคือ ด้านสภาพแวดล้อมการจัดการเรียนรู้และเทคโนโลยีทันสมัย (PNImodified= 0.084) รองลงมาคือ ด้านเครือข่ายการมีส่วนร่วม (PNImodified= 0.082) และลำดับความต้องการจำเป็นต่ำสุดคือ ด้านวิธีการจัดการเรียนรู้ (PNImodified= 0.066)

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

เอกสารอ้างอิง

กัลยา วานิชย์บัญชา. (2554). การใช้ SPSS foe windows ในการวิเคราะห์ข้อมูล. (พิมพ์ครั้งที่ 18). กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

คมสรรค์ ศัตรูพ่าย. (2564). ปัจจัยการบริหารที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการบริหารเครือข่ายความร่วมมือทางวิชาการโรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย. วารสารบัณฑิตศึกษา, 18(81), 153-163.

ทรงสิริ วิชิรานนท์ และคณะ. (2561). ความต้องการจำเป็นในการจัดสภาพแวดล้อที่เอื้อต่อการ พัฒนาการเรียนรู้ของนักศึกษามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร. วารสารวิชาการและวิจัยมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล, 3(1), 75-86.

ธนศักดิ์ เจริญธรรม. (2561). การพัฒนาโปรแกรมพัฒนาครูวิทยาศาสตร์ในการจัดการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียน โรงเรียนมัธยมศึกษา. ใน วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารและพัฒนาการศึกษา. มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

นงลักษณ์ วิรัชชัย. (2555). สถิติชวนใช้. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพมหานคร: ไอคอนพริ้นติ้ง.

บุญชม ศรีสะอาด. (2554). การวิจัยเบื้องต้น. (พิมพ์ครั้งที่ 9). กรุงเทพมหานคร: สุวีริยาสาส์น.

ประเสริฐศักดิ์ เหินไธสง. (2559). การพัฒนาระบบการบริหารแบบมีส่วนร่วมในการจัดสภาพแวดล้อมการเรียนรู้สำหรับโรงเรียนประถมศึกษาขนาดเล็ก. ใน วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารและพัฒนาการศึกษา. มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

พระมหาจักรพล สิริธโร. (2564). การศึกษาในยุค New Normal. วารสารการเรียนรู้สมัยใหม่การพัฒนา, 6(6), 346-356.

พิชิต ฤทธิ์จรูญ. (2556). หลักการวัดและประเมินผลการศึกษา. (พิมพ์ครั้งที่ 8). กรุงเทพมหานคร: บริษัท เฮ้าส์ ออฟ เคอร์มิสท์ จำกัด.

มณฑาทิพย์ นามนุ. (2561). ทักษะของผู้บริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานี เขต 2. ใน วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.

วิโรชน์ หมื่นเทพ. (2565). แนวทางการจัดการเรียนรู้สำหรับผู้เรียนระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานในยุคความเป็นปกติใหม่: กรณีศึกษาโรงเรียนเอกชนในสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานี เขต 2. วารสารวิทยาการจัดการปริทัศน์, 24(1), 55–64.

ศักรินทร์ สมพิศนภา. (2565). การพัฒนารูปแบบการบริหารเครือข่ายความร่วมมือทางวิชาการ โรงเรียนประถมศึกษาขนาดเล็กของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ประถมศึกษา สังกัดคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. วารสารศิลปการจัดการ, 6(4), 1821–1843.

สถาบันอุทยานแห่งการเรียนรู้. (2563). สร้างระบบนิเวศการเรียนรู้ เพื่อรับมือโลกแห่งอนาคต. เรียกใช้เมื่อ 15 ตุลาคม 2565 จาก https://shorturl.asia/JOcQ2.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2564). การศึกษารูปแบบการจัดระบบนิเวศการเรียนรู้ที่เอื้อต่อการพัฒนาศักยภาพของคนไทย 4.0. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา.

สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2563). ยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี (พ.ศ. 2561 - 2580). เรียกใช้เมื่อ 7 กันยายน 2564 จาก http://www.nscr.nesdc.go.th/.

สำนักบริหารงานความเป็นเลิศด้านวิยาศาสตร์ศึกษา. (2563). กลุ่มโรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย. เรียกใช้เมื่อ 5 สิงหาคม 2565 จาก https://shorturl.asia/mxMTP.

สุชาติ ประสิทธิ์รัฐสินธุ์. (2546). ระเบียบวิธีการวิจัยสังคมศาสตร์. (พิมพ์ครั้งที่ 12). กรุงเทพมหานคร: เฟื่องฟ้า ปริ๊นติ้ง.

สุวิมล ว่องวาณิช. (2558). การวิจัยประเมินความต้องการจำเป็น. (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพมหานคร.

อริญญา เถลิงศรี. (2563). “อย่าด่วน Reskill ถ้ายังไม่รู้จัก Learning Skill” สนทนากับ อริญญา เถลิงศรีแห่ง SEAC ทักษะที่จะทำให้อยู่รอดในโลกอนาคต. เรียกใช้เมื่อ 9 ตุลาคม 2565 จาก https://www.brandinside.asia/reskill-and-learning-skill-with-seac/.

Krejcie, R.V. & Morgan, D.W. (1970). Determining Sample Size for Research Activities. Educational and Psychological Measurement, 30(3), 607-610.