แนวทางการพัฒนากรอบความคิดแบบเติบโตของผู้บริหารโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาหนองคาย เขต 2
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) ศึกษาสภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์และความต้องการจำเป็นของกรอบความคิดแบบเติบโตของผู้บริหาร 2) ศึกษาแนวทางการพัฒนากรอบความคิดแบบเติบโตของผู้บริหารโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาหนองคายเขต 2 การวิจัยนี้ใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบผสมผสาน ประชากรที่ใช้ในการวิจัยเป็นผู้บริหารสถานศึกษาและครู จำนวน 269 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม และแบบสัมภาษณ์ มีค่าอำนาจจำแนกอยู่ในช่วงระหว่าง 0.67 - 1.00 และค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาค เท่ากับ 0.96
ผลการวิจัยพบว่า สภาพปัจจุบันอยู่ในระดับปานกลาง โดยด้านความมุ่งมั่นในการพัฒนาตนเองมีค่าเฉลี่ยสูงสุด และด้านการสร้างความท้าทายให้ตนเองมีค่าเฉลี่ยต่ำสุด สำหรับสภาพที่พึงประสงค์ พบว่าอยู่ในระดับมากที่สุด โดยด้านการไม่ย่อท้อต่ออุปสรรคมีค่าเฉลี่ยสูงสุด และด้านการหาแรงบันดาลใจในการทำงานมีค่าเฉลี่ยต่ำสุด ค่าดัชนีความต้องการจำเป็นภาพรวม (PNI_Modified) อยู่ระหว่าง 0.371-0.382 โดยความต้องการจำเป็นสูงสุดคือการไม่ย่อท้อต่ออุปสรรค (PNI_Modified = 0.382) และต่ำสุดคือการหาแรงบันดาลใจในการทำงาน (PNI_Modified = 0.371) แนวทางพัฒนาการบริหารงานมี 5 ด้าน ได้แก่ การไม่ย่อท้อต่ออุปสรรค โดยการวางแผนแก้ไขปัญหาอย่างเป็นระบบ การสร้างความท้าทายให้ตนเองผ่านการส่งเสริมการมีส่วนร่วมในการจัดทำกลยุทธ์ การเรียนรู้จากคำวิจารณ์ ด้วยการเปิดโอกาสให้ครูสะท้อนปัญหาอย่างสร้างสรรค์ การมุ่งมั่นพัฒนาตนเองโดยนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาประยุกต์ใช้ในการทำงาน และการหาแรงบันดาลใจผ่านการแสดงความคิดเห็นเชิงบวก การเปิดใจรับฟัง และสร้างความสัมพันธ์ที่ดีในองค์กร
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
เอกสารอ้างอิง
ไกรสร พิมพ์ประชา. (1 มี.ค. 2566). แนวทางการพัฒนากรอบความคิดแบบเติบโตของผู้บริหารโรงเรียน(นางสาวกฤษฎาพร พากเพียร, ผู้สัมภาษณ์).
ชาญวิทย์ โคตะพันธ์. (28 ก.พ. 2566). แนวทางการพัฒนากรอบความคิดแบบเติบโตของผู้บริหารโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาหนองคาย เขต 2. (นางสาวกฤษฎาพร พากเพียร, ผู้สัมภาษณ์).
ธวัช ถาโท. (3 มี.ค. 2566). แนวทางการพัฒนากรอบความคิดแบบเติบโตของผู้บริหารโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาหนองคาย เขต 2. (นางสาวกฤษฎาพร พากเพียร, ผู้สัมภาษณ์).
บุญชม ศรีสะอาด. (2554). การวิจัยเบื้องต้น. (พิมพ์ครั้งที่ 10). กรุงเทพมหานคร: สุวีริยาสาส์น.
ผัลย์ศุภา คนคล่อง. (2565). สมรรถนะของผู้บริหารในวิถีปกติใหม่ที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามุกดาหาร. ใน วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
วชิรศักดิ์ มัชฌิมาภิโร. (2561). การบริหารเชิงสร้างสรรค์เพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษาอย่างยั่งยืน. วารสารบัณฑิตศึกษา, 15(68), 16-22.
วรัญญภรณ์ ชาลีรักษ์. (2564). การพัฒนาข้อเสนอเชิงนโยบายการติดตามการบริหารจัดการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. เรียกใช้เมื่อ 7 สิงหาคม 2565 จาก https://shorturl.asia/MG09y.
วีระยุทธ แสนพินิจ. (2562). รูปแบบการพัฒนากรอบความคิดแบบเติบโตของผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษา: การวิจัยผสมผสานวิธี. ใน วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา, มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาหนองคาย เขต 2. (นางสาวกฤษฎาพร พากเพียร, ผู้สัมภาษณ์).
สำนักงานคณะกรรมการการพัฒนาการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2563). นโยบายการขับเคลื่อนการศึกษา. เรียกใช้เมื่อ 7 สิงหาคม 2566, จาก https://www.obec.go.th/archives/830562.
สุภางค์ จันทวานิช. (2553). การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สุวิมล ว่องวานิช. (2548). การวิจัยประเมินความต้องการจำเป็น. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
อรพิน โคตรวิทย์. (2563). แนวทางการพัฒนากรอบความคิดแบบเติบโตของครูในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดร เขต 3. ใน วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารและพัฒนาคุณภาพการศึกษา. มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
Dweck, C.S. (2012). Mindset: How you can fulfill your potential. Retrieved August 4, 2022, from https://golink.icu/y2LBQbh.
Dweck, C.S. (2012). Mindset by Carol Dweck –Summary. Retrieved October 4, 2022, from https://alexvermeer.com/why-your-mindset-important/.
Dweck, C.S. (2019). Carol Dweck Revisits the 'Growth Mindset'. Retrieved August 4, 2022, from https://www.edweek.org/ew/articles/2015/09/23/carol-dweck-revisits-the -growthmindset.html.
Nitas, Wallapha , Saowanee. (2021). Developing factors and indicators of growth mindset for school administrators in Thailand, International Educational Research, 4(1), 61-70.
Trzesniewski and Dweck. (2013). An implicit theories of personality intervention reduces adolescent aggression in response to victimization and exclusion. Retrieved August 10, 2022, from https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC3660787/.