การพัฒนาระบบศูนย์การเรียนหลวงพ่อพระใส (วัดโพธิ์ชัย) จังหวัดหนองคาย
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาองค์ความรู้เกี่ยวกับการพัฒนาระบบศูนย์การเรียนหลวงพ่อพระใส จังหวัดหนองคาย 2) ประเมินความต้องการเกี่ยวกับการพัฒนาระบบศูนย์การเรียนหลวงพ่อพระใส จังหวัดหนองคาย 3) พัฒนาระบบศูนย์การเรียนหลวงหลวงพ่อพระใส จังหวัดหนองคาย 4) ทดสอบการพัฒนาระบบศูนย์การเรียนหลวงพ่อพระใส จังหวัดหนองคาย 5) ประเมินและรับรองคุณภาพจากผู้ทรงคุณวุฒิของการพัฒนาระบบศูนย์การเรียนหลวงพ่อพระใส จังหวัดหนองคาย เป็นการวิจัยและพัฒนา มีวิธีดำเนินการวิจัยโดยมี 5 ขั้นตอน กลุ่มตัวอย่างได้แก่ ประชาชนที่เข้าร่วมกิจกรรม จำนวน 34 คน
ผลการวิจัยพบว่า 1) องค์ความรู้เกี่ยวกับการพัฒนาระบบศูนย์การเรียนหลวงพ่อพระใส มี 5 ด้าน คือ ด้านการบริหาร ด้านอาคารสถานที่ ด้านแหล่งการเรียน ด้านการบริการ และด้านเครือข่าย 2) ประเมินความต้องการ ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ย 4.56 และอยู่ในระดับมากที่สุดในทุก ๆ ด้าน 3) การวิเคราะห์ข้อมูลและนำมาสังเคราะห์สร้างระบบ วัดโพธิ์ชัย 5ส SYSTEM ประกอบด้วย ส ที่หนึ่ง คือ สร้างสรรค์ ส ที่สอง คือ สาระ ส ที่สาม คือ สงบ ส ที่สี่ คือ สติ ส ที่ห้า คือ สำนึก 4) การทดลองใช้กิจกรรม พบว่า ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก การมีศูนย์การเรียนภายในวัดเหมาะสม กิจกรรมมีประโยชน์ต่อประชาชนที่เข้าร่วม และสามารถนำไปปรับใช้ได้จริงในชีวิตประจำวัน กิจกรรมมีความหลากหลาย และสามารถเลือกทำกิจกรรมได้ตามความต้องการ 5) การประเมินและการปรับปรุง ในภาพรวมพบว่าอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน จากมากไปหาน้อย พบว่า ด้านความเป็นประโยชน์ ด้านความเหมาะสม ด้านความถูกต้อง และด้านความเป็นไปได้ ตามลำดับ
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
เอกสารอ้างอิง
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย. (2551). คู่มือศูนย์เรียนรู้ชุมชน ฉบับประชาชน.กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์ สุภัชนิญค์.
กาญจนา แก้วเทพ. (2549). คติชาวบ้านอีสาน. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพมหานคร : อักษรวัฒนาการพิมพ์.
ครรชิต พุทธโกษา. (2554). คู่มือการพัฒนาชุมชนแห่งการเรียนรู้ ฉบับสมบูรณ์. (พิมพ์ครั้งที่ 1). กรุงเทพมหานคร : สำนักงานคณะกรรมการการวิจัยแห่งชาติ.
ชุติมา สัจจานันท์. (2548). “รูปแบบยุทธศาสตร์และแนวทางการบูรณาการการศาสนากับการศึกษาของวัดในพระพุทธศาสนา : กรณีการจัดการศึกษาตามอัธยาศัย”. รายงานการวิจัย. สำนักงานเลขาธิการการสภาการศึกษาแห่งชาติ : กระทรวงศึกษาธิการ.
บุญส่ง บุญทศ. (2543). “ศึกษากรณีส่วนร่วมของคณะกรรมการศูนย์การเรียนชุมชนในการดำเนินงาน ศูนย์ การเรียนชุมชน : ศึกษาเฉพาะกรณีจังหวัดมุกดาหาร”. ภาคนิพนธ์ กศม. การบริหารการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย สถาบันบัณฑิตพัฒนาบริหารศาสตร์.
พระครูปลัดสราวุธ ฐิตปญฺโญ. (2560). “การพัฒนาวัดเพื่อเป็นศูนย์กลางการเรียนรู้ของชุมชนในจังหวัด ชลบุรี”. วารสาร มจร. สังคมศาสตร์ปริทรรศน์. 6(2), 505-522.
พระอริยานุวัตรเขมาจารีเถระ. (2536). คติความเชื่อของชาวอีสาน. (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพมหานคร:สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สุญาดา สุนทรศารทูล. (2552). “รูปแบบความร่วมมือของบ้าน วัด โรงเรียนและชุมชน ในการสร้างภูมิคุ้มกันทางวัฒนธรรมแก่เด็กและเยาวชนในเขตปริมณฑลกรุงเทพมหานคร”. ดุษฎีนิพนธ์สาขาวัฒนธรรมศาสตร์. มหาวิทยาลัยสารคาม.