แนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงพฤติกรรมของผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาจังหวัดหนองคาย
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทคัดย่อ
บทความวิจัยครั้งนี้วัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์ และความต้องการจำเป็นในการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงพฤติกรรมของผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษาในสังกัดสานักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาจังหวัดหนองคาย และ 2) เพื่อศึกษาแนวทางพัฒนาภาวะผู้นำเชิงพฤติกรรมของผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษาในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาจังหวัดหนองคาย การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ โดยแบ่งเป็น 2 ระยะ และความเป็นประโยชน์ของแนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงพฤติกรรม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์สภาพที่พึงประสงค์โดยการใช้เทคนิค Modified Priority Need Index (PNImodified) และการวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพปัจจุบันภาวะผู้นำเชิงพฤติกรรมของผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาจังหวัดหนองคาย โดยรวมอยู่ในระดับปานกลางทุกด้าน ( = 3.14) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า อยู่ในระดับปานกลาง ส่วนสภาพที่พึงประสงค์ โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.60) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า อยู่ในระดับมากที่สุดทุกด้าน ตามลำดับของความต้องการจำเป็นในการพัฒนา (PNImodified) เรียงลำดับจากมากไปหาน้อยคือ 1. พฤติกรรมผู้นำแบบทีม (PNImodified=0.51) 2. พฤติกรรมผู้นำแบบสายกลาง (PNImodified=0.50) 3. พฤติกรรมผู้นำแบบมุ่งผลผลิต (PNImodified=0.43) 4.พฤติกรรมผู้นำแบบมุ่งสัมพันธ์ (PNImodified=0.41) ตามลำดับการทดสอบ 2.) ผลการวิเคราะห์แนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงพฤติกรรมของผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาจังหวัดหนองคาย ตามความคิดเห็นของผู้บริหารสถานศึกษาและครู เรียงลำดับความต้องการจำเป็นจากมากไปหาน้อย พบว่า พฤติกรรมผู้นำแบบทีม มีค่าความจำเป็นมากที่สุด (PNImodifled=0.51) จึงต้องพัฒนาต้องพัฒนาเป็นอันดับแรก
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
เอกสารอ้างอิง
ขวัญใจ เกตุอุดม. (2554). การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษากับ ประสิทธิผลของโรงเรียน สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดชลบุรี. ใน วิทยานิพนธ์คุรุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์.
ณปภัช อาพวลิน. (2557). การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างแบบภาวะผู้นาของผู้บริหารสถานศึกษากับแรงจูงในการทำงานของครู สังกัดสานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพิษณุโลก เขต 1. ใน วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม.
ดวงสมพร สาราญเริญ. (2552). ความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมของผู้บริหารกับประสิทธิผลการจัดการศึกษาในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสานักงานเขตพื้นที่การศึกษาอุบลราชธานี เขต 3. ใน วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี.
เทื้อน ทองแก้ว. (2550). สมรรถนะ (Competency) : หลักการและแนวปฏิบัติ. กรุงเทพมหานคร : มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต.
ปรียาพร วงศ์อนุตรโรจน์. (2553). การบริหารงานวิชาการ. กรุงเทพมหานคร : ศูนย์สื่อเสริมกรุงเทพ.
ยงยุทธ เกษสาคร. (2558). ภาวะผู้นำและการทำงานเป็นทีม. กรุงเทพมหานคร : เอส แอนด์ จี กราฟฟิค.
วิลาวัณย์ เลาหะพิจิตรพงค์. (2558). ความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษากับแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครูในโรงเรียนมัธยมศึกษา จังหวัดกาญจนบุรี สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 8. ใน วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาราชภัฏกาญจนบุรี.
สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน. (2553). คู่มือการกำหนดสมรรถนะในราชการพลเรือน : คู่มือสมรรถนะหลัก. นนทบุรี : บริษัทประชุมช่าง จำกัด.
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติ (พ.ศ. 2560-พ.ศ. 2579). กรุงเทพมหานคร : พริกหวานกราฟฟิค.
แสงสุริยา ศรีพูน และคณะ. (2563). การศึกษาภาวะผู้นำเชิงพฤติกรรมของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของบุคลากรในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาหนองคาย เขต 1. วารสารวิชาการวิทยาลัยสันตพล, 6(2), 205-213.
Cronbach, L. J. (1970). Essentials of psychological testing. 3rd ed. New York: Harper & Row.
Krejcie, R.V., & D.W. Morgan. (1970). “Determining Sample Size for Research Activities”. Educational and Psychological Measurement. 30(3), 607 – 610.
Likert, Rensis. (1967). The Method of Constructing and Attitude Scale. Attitude Theory and Measurement. Fishbeic, Martin, Ed. New York: Wiley & Son.
McClelland, C. David. (1973). Testing for Competence rather than for Intelligence. New Jersey : American Psychologist.