บั้งไฟพญานาค: คติ ความเชื่อ ศรัทธา สู่การยกระดับการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์วิถีชีวิตชุมชนในจังหวัดหนองคาย

Main Article Content

พระมหาจำนงค์ สิริวณฺโณ (ผมไผ)
ทองคํา ดวงขันเพ็ชร
อริย์ธัช เลิศรวมโชค

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ


 บทความวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์ 1. เพื่อศึกษาประวัติบั้งไฟพญานาค คติ ความเชื่อ ศรัทธา ของประชาชนในการมีส่วนร่วมยกระดับการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์วิถีชีวิตชุมชนในจังหวัดหนองคาย 2. เพื่อยกระดับการมีส่วนร่วมของประชาชนเรื่องบั้งไฟพญานาค คติ ความเชื่อ ศรัทธา สู่การท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์วิถีชีวิตชุมชนในจังหวัดหนองคาย 3. เพื่อเสนอแนวทางการมีส่วนร่วมของประชาชนเรื่องบั้งไฟพญานาค คติ ความเชื่อ ศรัทธาในการยกระดับการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์วิถีชีวิตชุมชนในจังหวัดหนองคาย การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ มีวิธีดำเนินการวิจัยโดยการวิเคราะห์ข้อมูลจากการสัมภาษณ์แบบเชิงลึก และเก็บข้อมูลภาคสนาม จากกลุ่มประชากร จำนวน 30 รูป/คน


ผลการวิจัยพบว่า 1) ชุมชนทั้ง 3 แห่งในจังหวัดหนองคาย ประกอบด้วย ชุมชนบ้านหนองกุ้ง ชุมชนบ้านใหม่ ชุมชนบ้านน้ำเป ซึ่งตั้งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำโขง มีวิถีชีวิตตามความเชื่อในพระพุทธศาสนา และให้ความศรัทธาเคารพพญานาค โดยมีการร่วมจัดกิจกรรมชมบั้งไฟพญานาคในวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 11 ทุกปี 2) ยกระดับการมีส่วนร่วมของประชาชนเรื่องบั้งไฟพญานาค คติ ความเชื่อ ศรัทธา สู่การท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์วิถีชีวิตชุมชนในจังหวัดหนองคาย ผ่านวัฒนธรรมชุมชนและความร่วมมือกับหน่วยงานรัฐ โดยจัดกิจกรรมวันออกพรรษา เช่น การทำบุญตักบาตร และ “พาแลง” ที่นักท่องเที่ยวใน “โฮมสเตย์” ร่วมรับประทานอาหารในลานกิจกรรม 3) เสนอแนวทางการมีส่วนร่วมของประชาชนเรื่องบั้งไฟพญานาค เพื่อยกระดับการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ในจังหวัดหนองคาย โดยพัฒนาบุคลากร สถานที่ กิจกรรม และสิ่งแวดล้อม พร้อมถ่ายทอดความรู้ แลกเปลี่ยนความคิดเห็น วางแผนการจัดการ และสร้าง “โฮมสเตย์” รองรับนักท่องเที่ยว รวมถึงพื้นที่จัดกิจกรรมอนุรักษ์ลำน้ำ

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

เอกสารอ้างอิง

กาญจนา แสงลิ้มสุวรรณ และศรันยา แสงลิ้มสุวรรณ. (2555). การท่องเที่ยวเชิงมรดกวัฒนธรรมอย่างยั่งยืน. วารสารนักบริหาร, 32(4), 136-146.

จุฑามาส กฤษฏารักษ์. (2553). กระบวนการเปลี่ยนแปลงเป็นสินค้าของวัฒนธรรมการชมบั้งไฟพญานาค. ใน วิทยานิพนธ์รัฐศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการปกครอง คณะรัฐศาสตร์, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ชาญ เกลี้ยงพิบูลย์. (2540). บั้งไฟพญานาคกับการควบคุมทางสังคม: ศึกษาเฉพาะกรณีกิ่งอำเภอรัตนวาปี จังหวัดหนองคาย. ใน สารนิพนธ์สังคมสงเคราะห์ศาสตรมหาบัณฑิต คณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

นุทิศ เอี่ยมใส. (2555). ทุนทางศิลปวัฒนธรรมประเพณีกับการพัฒนาความเข้มแข็งของชุมชนในจังหวัดเพชรบูรณ์. ใน รายงานวิจัย. มหาวิทยาลัยราชภัฎเพชรบูรณ์.

บุญยงค์ เกศเทศ. (2557). ผีวิถีคน ความเชื่อและการพึ่งพาระหว่างคนกับผี. มหาสารคาม: กากะเยีย.

เบญจภัคค์ เจริญมหาวิทย์. (2564). “บั้งไฟพญานาค” การสื่อความหมายในสังคมไทย. วารสารบริหารธุรกิจและสังคมศาสตร์, มหาวิทยาลัยรามคำแหง, 4(1), 16-26.

ปาวีณา โทนแก้ว. (2554). ธุรกิจการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมเผ่าสีซอจังหวัดเพชรบูรณ์. ใน รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์. มหาวิทยาลัยราชภัฎเพชรบูรณ์.

พลธรรม์ จันทร์คำ. (2551). พญานาค: อุดมการณ์ที่เมืองคำชะโนดสู่กระบวนการทำให้เป็นสินค้า. ใน วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาชนบทศึกษาและการพัฒนา. สำนักบัณฑิตอาสาสมัคร มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

พิเชฐ สายพันธ์. (2539). “นาคาคติ” อีสานลุ่มน้ำโขง: ชีวิตทางวัฒนธรรมจากพิธีกรรมร่วมสมัย. ใน วิทยานิพนธ์สังคมวิทยาและมานุษยวิทยามหาบัณฑิต สาขามานุษยวิทยา, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

วัฒนพันธุ์ ครุฑะเสน. (2557). ปรากฏการณ์บั้งไฟพญานาค: การสร้างนวัตกรรมเพื่อการส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมจังหวัดหนองคาย นครหลวงเวียงจันทน์ และแขวงบอลิคำไซ. วารสารวิชาการ, 7(2), 1611-1625.

สุนิศา กับเกิด. (2546). บั้งไฟพญานาค: เมื่อความเชื่อและวิทยาศาสตร์พบกันในสื่อโทรทัศน์. ใน สารนิพนธ์หลักสูตรปริญญาวารสารศาสตรบัณฑิต สาขาวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

อมรา พงศาพิชญ์. (2551). “cultural capital/ทุนวัฒนธรรม” ในคำและความคิดในรัฐศาสตร์ร่วมสมัย (เล่ม 2). กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.