การจัดการความรู้เพื่อพัฒนาคุณลักษณะของผู้เรียนตามมาตรฐานสากลของโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสกลนคร
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์ และความต้องการจำเป็นของการจัดการความรู้ในการพัฒนาคุณลักษณะของผู้เรียน ตามมาตรฐานสากลของโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสกลนคร 2) เพื่อศึกษาแนวทางการจัดการความรู้ในการพัฒนาคุณลักษณะของผู้เรียน ตามมาตรฐานสากลของโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสกลนคร และ 3) เพื่อประเมินแนวทางการจัดการความรู้ในการพัฒนาคุณลักษณะของผู้เรียน ตามมาตรฐานสากลของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสกลนคร การวิจัยนี้เป็นการวิจัยแบบผสมผสาน ใช้วิธีวิทยาทั้งเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ กลุ่มตัวอย่างคือผู้บริหาร และครูผู้สอนโรงเรียนมาตรฐานสากลสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสกลนคร ในปีการศึกษา 2567 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ แบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์ และแบบบันทึกรายการ
ผลการวิจัยพบว่า 1. สภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์ และความต้องการจำเป็นของการจัดการความรู้ในการพัฒนาคุณลักษณะของผู้เรียนตามมาตรฐานสากลของโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสกลนคร 3 ลำดับแรก ดังนี้ ด้านการจัดการความรู้ให้เป็นระบบ ด้านการสร้างความรู้ และการเข้าถึงความรู้ 2. แนวทางการจัดการความรู้ในการพัฒนาคุณลักษณะของผู้เรียนตามมาตรฐานสากลของโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสกลนคร มีหลักการสำคัญของการจัดการความรู้ ดังนี้ 1) การบ่งชี้ความรู้ 2) การสร้างความรู้ 3) การจัดการความรู้ให้เป็นระบบ 4) การเข้าถึงความรู้ และ 5) การแบ่งปันและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ 3. การประเมินแนวทางการจัดการความรู้ในการพัฒนาคุณลักษณะของผู้เรียนตามมาตรฐานสากลของโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสกลนคร พบว่า แนวทางการจัดการความรู้ในการพัฒนาคุณลักษณะของผู้เรียนตามมาตรฐานสากลของโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสกลนคร โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
เอกสารอ้างอิง
กระทรวงศึกษาธิการ. (2553). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545 และ (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2553. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์องค์การรับส่ง สินค้าและพัสดุภัณฑ์.
นวัตกร หอมสิน. (2556). รูปแบบการจัดการความรู้เพื่อพัฒนาจิตสาธารณะของนักเรียนมัธยมศึกษา. ใน วิทยานิพนธ์หลักสูตรศึกษาศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาการบริหารและพัฒนาการศึกษา : มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
บุญชม ศรีสะอาด. (2553). การวิจัยเบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่ 8. กรุงเทพมหานคร : บริษัทสุวีริยาสาส์นจำกัด.
บุญชม ศรีสะอาด. (2560). การวิจัยเบื้องต้น ฉบับปรับปรุงใหม่. พิมพ์ครั้งที่ 10. กรุงเทพมหานคร : บริษัทสุวีริยาสาส์น จำกัด.
สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (องค์การมหาชน). (2555). คู่มือการประเมินคุณภาพภายนอกรอบสาม (พ.ศ.2554-2558) (แก้ไขเพิ่มเติม พฤศจิกายน พ.ศ. 2554). สมุทรปราการ : บริษัท ออฟเซ็ท พลัส จำกัด.
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2552). เรียนรู้การจัดการความรู้ในภาคการศึกษาจากมหกรรมตลาดนัดการจัดการความรู้ระดับภูมิภาคและระดับชาติ. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์แคนนากราฟฟิค.
สำนักบริหารงานการมัธยมศึกษาตอนปลาย. (2553). แนวทางการดำเนินงานโรงเรียนมาตรฐานสากล. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.
สืบสกุล ใจสมุทร. (2563). รูปแบบการผสมผสานการจัดการความรู้และชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพเพื่อพัฒนาผู้ฝึกสอนในโรงเรียนกีฬา. ใน วิทยานิพนธ์หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิทยาศาสตร์การออกกำลังกายและการกีฬา มหาวิทยาลัยบูรพา.
สุวิมล ว่องวาณิช. (2562). การวิจัยประเมินความต้องการจำเป็น. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
Feliciano, J.L. (2007). The success criteria for implementing knowledge management Systems in an Organization. Ph.d dissertation. School of Computer Science and information sytems : Pace University.
Hassandoust,F.&Kazerouni,M.F.(2009) Implications Knowledge Sharing through ECollaboration and Communication Tools. Journal of Knowledge Management. Economics and Information Technology, 7(4), 1-18.
Likert, R. (1967). “The Method of Constructing and Attitude Scale,” in Attitude Theory and Measurement. P.90-95. New York : Wiley & Son.