คุณภาพชีวิตการทำงานและความผูกพันต่อองค์กรของบุคลากรสายสนับสนุน โรงพยาบาลสังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข ในเขตสุขภาพที่ 6

Main Article Content

วิพารัตน์ ศรีสวัสดิ์
จิราพร ระโหฐาน

บทคัดย่อ

การศึกษาวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับคุณภาพชีวิตการทำงานและความผูกพันที่มีต่อองค์กรของบุคลากรสายสนับสนุนโรงพยาบาล 2) เปรียบเทียบคุณภาพชีวิตการทำงานและความผูกพันที่มีต่อองค์กรจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคลของบุคลากรสายสนับสนุนโรงพยาบาล 3) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างคุณภาพชีวิตการทำงานกับความผูกพันที่มีต่อองค์กรของบุคลากรสายสนับสนุนโรงพยาบาล กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาวิจัยได้แก่ บุคลากรสายสนับสนุนของโรงพยาบาลสังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข ในเขตสุขภาพที่ 6 จำนวน 342 คน โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที (t-test) วิเคราะห์ค่าความแปรปรวนทางเดียว (one -way ANOVA) เปรียบเทียบความแตกต่างเป็นรายคู่โดยวิธี LSD หาค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน และสร้างสมการทำนายโดยการวิเคราะห์ถดถอยด้วยสหสัมพันธ์พหุคูณ


          ผลการศึกษาพบว่า 1) ระดับคุณภาพชีวิตการทำงานของบุคลากร โดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง ( = 3.24) 2) ระดับความผูกพันต่อองค์กรของบุคลากรโดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง ( = 3.24) 3) ปัจจัยส่วนบุคคลด้านอายุ ระยะเวลาในการปฏิบัติงานในโรงพยาบาล สภาพการจ้างงาน และรายได้ ต่อคุณภาพชีวิตการทำงานและความผูกพันต่อองค์กร แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < 0.05) แต่ปัจจัยส่วนบุคคลด้าน สถานภาพสมรส ระดับการศึกษา และตำแหน่งงานที่รับผิดชอบ ต่อความผูกพันต่อองค์กร แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับความเชื่อมั่น 95 % กล่าวคือ เฉพาะคุณภาพชีวิตการทำงานที่มีค่า p-value มากกว่า 0.05 เท่านั้นที่ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ 4) ปัจจัยคุณภาพชีวิตการทำงาน ด้านค่าตอบแทนที่เพียงพอและยุติธรรม (β = .40) ด้านความก้าวหน้าและความมั่นคงในการทำงาน (β = .24) ด้านสิทธิส่วนบุคคลในการทำงาน (β = .17) ด้านชีวิตการทำงานมีความเกี่ยวข้องกับสังคม (β = .13) ด้านสภาพการทำงานที่ปลอดภัยและถูกสุขลักษณะ (β = -.14) มีผลต่อความผูกพันต่อองค์กรโดยรวมของบุคคลกรสายสนับสนุนโรงพยาบาล อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < 0.05)

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

จุฑามาศ วิเวโก. (2554). ความผูกพันต่อองค์กรของบุคลากรในโรงพยาบาลนายายอาม จังหวัดจันทบุรี. วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการภาครัฐและภาคเอกชน, มหาวิทยาลัยบูรพา.
ชวลิต กะลำพัก. (2559). ความสัมพันธ์ระหว่างคุณภาพชีวิตการทำงานกับความผูกพันต่อองค์กรของผู้ช่วยพยาบาลโรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า. สารนิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการทรัพยากรมนุษย์ วิทยาลัยบัณฑิตศึกษาด้านการจัดการ มหาวิทยาลัยศรีปทุม.
ชินกร น้อยคำยาง ปภาดา น้อยคำยาง. (2555). ปัจจัยที่ส่งผลต่อดัชนีความสุขในการทำงานของบุคลากรในสำนักหอสมุดกลาง มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. รายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์ สำนักหอสมุดกลาง มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
วนิดา เหลืองสัจจกุล. (2552). การศึกษาคุณภาพชีวิตการทำงานและความผูกพันของพนักงานที่มีต่อบริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) กรณีศึกษา ส่วนบริการลูกค้าจังหวัดราชบุรี. การค้นคว้าอิสระหลักสูตรปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจดการภาครัฐและภาคเอกชน มหาวิทยาลัยศิลปากร.
ยุทธศาสตร์ชาติระยะ 20 ปี. (2561). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 135 (ตอนที่ 82 ก.).
สุขใจญา เกศศิริตระกูล. (2551). การศึกษาความผูกพันต่อองค์กรของข้าราชการ และเจ้าหน้าที่มหาวิทยาลัยมหิดลวิทยาเขตศาลายา. วิทยานิพนธ์สาขาการจัดการทั่วไป คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม
สุรีพร สกุณี. (2557). ความสัมพันธ์ระหว่างความผูกพันต่อองค์กรกับคุณภาพชีวิตการทำงานของบุคลากรโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชสระแก้ว. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (สาธารณสุขศาสตร์) สาขาวิชาเอกบริหารสาธารณสุข คณะสาธารณสุขศาสตร์ และบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล.
Hackman, Richard J., & Suttle, Lloyd J. (1977). Improving Life at Work; Behavioral Science Approach to Organization Change. Santa Monica. Calif: Goodyear Publishing.