วิถีการผลิตแบบไร่หมุนเวียน ของชุมชนกะเหรี่ยงในพื้นที่ตำบลแม่วะหลวง อำเภอท่าสองยาง จังหวัดตาก
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาวิถีการผลิตแบบไร่หมุนเวียนของชุมชนกะเหรี่ยง ในพื้นที่ตำบลแม่วะหลวง อำเภอท่าสองยาง จังหวัดตากซึ่งเป็นการวิจัยในเชิงคุณภาพ เก็บข้อมูลจากผู้ให้ข้อมูลจำนวน 10 คน โดยใช้วิธีประชุมกลุ่มย่อย(Focus group) และวิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงอุปนัย (Analytic Induction) ผลการวิจัยพบว่าวิถีการทำไร่หมุนเวียนของชุมชนนั้นจะเริ่มทำกิจกรรมในพื้นที่ตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์และไปสิ้นสุดในเดือนธันวาคมของทุกปี และในการทำกิจกรรมในไร่หมุนเวียนนั้นจะมีกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับประเพณีวัฒนธรรมและความเชื่อ ตลอดระยะเวลาในการทำไร่หมุนเวียน รวมถึงการผลิตในไร่หมุนเวียนนั้นนอกจากจะปลูกข้าวเป็นหลักแล้ว ยังมีการปลูกพืชอาหารชนิดอื่นๆ ที่มีความหลากหลายอยู่ในพื้นที่ไร่หมุนเวียนเพื่อใช้ในการบริโภคในครัวเรือนอีกด้วย
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารพิกุล ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสาร ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารพิกุล ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารพิกุล หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใด ๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักอักษรจากวารสารพิกุล ก่อนเท่านั้น
References
กฤษฏา บุญชัย. (2559,พิเศษ). ไร่หมุนเวียน สิทธิทางวัฒนธรรมเพื่อความเป็นธรรมทางนิเวศและสังคม. วารสารพัฒนาสังคม, 18(ฉบับพิเศษ),137-155.
ฉัตรทิพย์ นาถสุภา. (2554). แนวคิดเศรษฐกิจชุมชน ข้อเสนอทางทฤษฏีในบริบทต่างสังคม (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพฯ: สร้างสรรค์.
ชายชัย จิตรเหล่าอาพร จิดาภา ถิรศิริกุล และสกล สุขเสริมส่งชัย. (2564, กันยายน-ธันวาคม). การพัฒนาที่ยั่งยืนและการเปลี่ยนแปลงเศรษฐกิจโลก. วารสารวิชาการไทยวิจัยและการจัดการ, 2(3), 77-93.
ณัฐรดา วงษ์นายะ ธภัทร มณีรัตน์ และสุระชัย โภคะมณี. (2563, ตุลาคม- ธันวาคม). การอนุรักษ์และฟื้นฟูความหลากหลายของแหล่งอาหาร และพันธุ์พืชสมุนไพรของชุมชนกระเหรี่ยงในเขตอุทยานแห่งชาติคลองลาน จังหวัดกำแพงเพชร. สักทอง: วารสารมนุษย์ศาสตร์และสังคมศาสตร์. (สทมส.), 26(4), 56-71.
พะเกเก วนาอานนท์. (20 พฤศจิกายน 2564). สัมภาษณ์.
ไพสิฐ พาณิชย์กุลและคณะ. (2560). รายงานฉบับย่อโครงการวิจัยเรื่องสิทธิของชุมชนชาวกะเหรี่ยง(ปกาเกอะญอ) กับการดำเนินเขตวัฒนธรรมพิเศษไร่หมุนเวียนในพื้นที่ยุทธศาสตร์การแก้ไขปัญหาข้อพิพาท กรณีที่ดินทำกินและที่อยู่อาศัยของชุมชนกะเหรี่ยงในพื้นที่ป่าภาคเหนือ. สำนักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ.
รัชกรณ์ นภาพรพิพัฒน์. (2563, กุมภาพันธ์-พฤษภาคม). มุมมองความมั่นคงทางอาหาร. วารสารมุมมองความมั่นคง, ฉบับที่ 3, 43-50.
ศิริพร สัจจานันท์. (ม.ป.ป.). แนวคิดเศรษฐกิจชุมชน. เข้าถึงเมื่อ ธันวาคม 6, 2564 จาก https://www.stou.ac.th/stouonline/lom/data/ sec/Alternative/01-01-01.html
ศุภกิจ มรดกบรรพต. (20 พฤศจิกายน 2564). สัมภาษณ์.
สำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ. (ม.ป.ป.). เศรษฐกิจพอเพียงปรัชญาชี้ถึงแนวทางการดำรงชีวิต. เข้าถึงเมื่อ ธันวาคม 6, 2564, จาก http://www.rdpb.go.th/th/Download/หนังสือเศรษฐกิจพอเพียง-c121/เศรษฐกิจพอเพียง-ปรัชญาชี้แนวทางการดำรงชีวิต-60-ปี--v9106
สามารถ ใจเตี้ย. (2560, พฤษภาคม - สิงหาคม). นิเวศวัฒนธรรมชุมชนล้านนากับการจัดการทรัพยากรธรรมชาติ. วารสารมนุษย์สังคมสาร(มสส), 15(2), 59-65.
หทัยชนก คะตะสมบูรณ์. (2564, มิถุนายน). ชุมขนต้นแบบในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติอย่างยั่งยืน กรณีศึกษาป่าชุมชนบ้านสวนพลู-พุต่อ ตำบลทัพหลวง อำเภอบ้านไร่ จังหวัดอุทัยธานี. วารสารสังคมศาสตร์และมานุษยวิทยาเชิงพุทธ, 6(6), 222-237.