พฤติกรรมการบริโภคสินค้าออนไลน์ กับของมันต้องมี : กรณีศึกษาประชาชน ในเขตอำเภอ เขาฉกรรจ์ จังหวัดสระแก้ว

Main Article Content

นิทัช พิงไธสง
เฉลิมพงษ์ จันทร์สุขา
ปิยะ สงวนสิน
คณิต เรืองขจร

บทคัดย่อ

การศึกษาเรื่อง “พฤติกรรมการบริโภคสินค้าออนไลน์ กับของมันต้องมี :กรณีศึกษา ประชาชนในเขตอำเภอเขาฉกรรจ์ จังหวัดสระแก้ว มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมการบริโภคสินค้าออนไลน์ของประชาชนในเขตอำเภอเขาฉกรรจ์ จังหวัดสระแก้ว รวมถึงเพื่อศึกษาลักษณะของมันต้องมี ในของประชาชน ในเขตอำเภอเขาฉกรรจ์ จังหวัดสระแก้ว และเพื่อศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อของมันต้องมีใน ประชาชน ในเขตอำเภอเขาฉกรรจ์ จังหวัดสระแก้ว สมมติฐานการวิจัยคือ“พฤติกรรมการบริโภคสินค้าออนไลน์ มีอิทธิพลต่อลักษณะของมันต้องมี” การศึกษาครั้งนี้เป็นงานวิจัยเชิงปริมาณรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม กลุ่มตัวอย่างได้จากการเลือกสุ่มแบบหลายชั้นภูมิเลือกกลุ่มประชาชน กลุ่มตัวอย่างจำนวน 412 ราย ใช้สถิติเชิงพรรณนาวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐานของตัวแปรทั้งหมด การทดสอบสมมติฐานใช้สถิติการวิเคราะห์ถดถอยพหุ เพื่อหาปัจจัยที่ส่งผลต่อลักษณะของมันต้องมี  ผลการวิจัยพบว่า พฤติกรรมการสั่งซื้อสินค้าออนไลน์ของประชาชนอยู่ในระดับมาก โดยมีค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 3.61 S.D.=0.36 ลักษณะของมันต้องมีอยู่ในระดับปานกลาง โดยมีค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 3.34 S.D.=4.99 ปัจจัยที่ส่งผลต่อลักษณะของมันต้องมี  ได้แก่ กลุ่มเพื่อน เพื่อนบ้าน แอพพลิเคชั่น ประเภทสินค้า รายจ่าย วัตถุประสงค์ ความนิยม และค่านิยม ผลการวิจัยสนับสนุนสมมติฐานที่เสนอไว้

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

จักรทิพย์ ชัยจินดา. (2563). ร่วมทุกข์ ร่วมสุข ร่วมสร้าง สะอาด ปลอดภัย แก้ปัญหาฉับไว. [Online]. Available : https://www.youtube.com/hashtag/ร่วมทุกข์ร่วมสุขร่วมสร้างสะอาดปลอดภัยแก้ปัญหาฉับไว [2562, มกราคม 14].

จิตริน ใจดี. (2562). ความชำนาญเฉพาะทางสาขาจิตเวชศาสตร์. ศูนย์จิตรักษา [Online]. Available : https://www.bangkokhospital.com/doctor/dr-jitarin-jaidee [2562, มกราคม 14].

ชัยวัฒน์ พิทักษ์รักธรรม. (2560). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าออนไลน์ของผู้บริโภค. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร.

ณัฏฐนันท์ พิธิวัตโชติกุล และนิตนา ฐานิตธนกร. (2560). การยอมรับเทคโนโลยีโทรศัพท์มือถือ การตลาดผ่านสื่อสังคมออนไลน์ และพฤติกรรมผู้บริโภคออนไลน์ที่ส่งผลต่อความตั้งใจซื้อ สินค้าออนไลน์ผ่านแอปพลิเคชันของผู้บริโภคในกรุงเทพมหานคร. รายงานสืบเนื่องการประชุมวิชาการระดับชาติสหวิทยาการเอเชียอาคเนย์ 2560 ครั้งที่ 4 (น.1083-1090). กรุงเทพ : มหาวิทยาลัยเอเชียอาคเนย์.

นภัสกร กรวยสวัสดิ์ (2563, กันยายน-ธันวาคม). ปัจจัยที่ส่งผลให้เกิดพฤติกรรมการใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์. วารสารสารสนเทศศาสตร์, 28(3), 81-88.

ปัญญา เศรษฐโภคิน และวรรณธิรา บุญพลอยเลิศ. (2532). รู้จักกับ บลู แอนด์ ไวท์. [Online]. Available: https://www.bwlogistics.co.th/ [2562, มกราคม 14].

พวงรัตน์ ทวีรัตน์. (2543). วิธีการวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์ และสังคมศาสตร์. (พิมพ์ครั้งที่ 7). กรุงเทพฯ: สำนักทดสอบทางการศึกษาและจิตวิทยา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

พวงเพชร สุรัตนกวีกุล. (2541). มนุษย์กับสังคม. กรุงเทพฯ: พิมพลักษณ์.

ภิเษก ชัยนิรันดร์. (2552). การตลาดแนวใหม่ผ่าน Social media. กรุงเทพฯ : ซีเอ็ดยูเคชั่น.

รุจาพงศ์ สุขบท. (2563). New Normal กับวิถีชีวิตหลังโควิด-2019. [Online]. Available : https://www.wearecp.com/new-normal-190563/ [2565, มกราคม 5].

รนิดา จันทร์พรหม และนิตนา ฐานิตธนกร. (2559). คุณค่าตราสินค้า ความซับซ้อนของเว็บไซต์และคุณภาพการบริการอิเล็กทรอนิกส์ที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกซื้อสินค้าผ่านทางตลาดกลางอิเล็กทรอนิกส์ของผู้บริโภคออนไลน์ในกรุงเทพมหานคร. รายงานสืบเนื่องการประชุมวิชาการระดับชาติ ครั้งที่ 6 ประจำปี 2016 เศรษฐกิจดิจิทัลในบริบทของวิสาหกิจเริ่มต้น. กรุงเทพฯ:มหาวิทยาลัยสยาม.

ว. วชิรเมธี. (2554). เมตตาต้องคู่กับปัญญา. [Online]. Available : https://goodlifeupdate.com/healthy-mind/dhamma/ 30503.html [2565, มกราคม 20].

ศิริวรรณ เสรีรัตน์. (2552). การบริหารการตลาดยุคใหม่. กรุงเทพฯ : เพชรจรัสแสงธุรกิจ.

สุวัฒน์ อัศวไชยชาญ. (2563). ของมันต้องมี. [Online]. Available : https://www.sarakadee.com/2020/12/21/มีม-429-editor/ [2565, มกราคม 20].

สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์. (2563). ผู้นำการเปลี่ยนแปลงเพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจอนาคตด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์. [Online]. Available : https://www.egov.go.th/th/government-agency/470/ [2565, มกราคม 15].

สมวลี ลิมป์รัชตามร. (2563). เทรนด์พฤติกรรมผู้บริโภค-ผู้ประกอบการจะไปต่อทิศทางไหนหลัง สถานการณ์โควิด-19. [Online]. Available : https://marketeeronline.co/archives/158845. [2564, ธันวาคม 5].

เสรี วงษ์มณฑา. (2552). กลยุทธ์การตลาดการวางแผนการตลาด. กรุงเทพฯ : ธีระฟิลม์และไซเท็กซ์.

อัฉราวรรณ งานญาณ. (2554, กรกฎาคม-กันยายน). อันเนื่องมาแต่สูตรของยามาเน่. วารสารบริหารธุรกิจ, 34(131), 46-60.