การศึกษาคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของนิสิตครู วิทยาลัยการศึกษา มหาวิทยาลัยพะเยา
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของนิสิตครู วิทยาลัยการศึกษา มหาวิทยาลัยพะเยา 2) เปรียบเทียบคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของนิสิตครู วิทยาลัยการศึกษา ระหว่างเพศ และกลุ่มสาขาวิชา เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของนิสิตครู วิทยาลัยการศึกษา มหาวิทยาลัยพะเยา กับตัวอย่าง ซึ่งเป็นนิสิตครู จำนวน 236 คน ซึ่งได้มาโดยใช้วิธีการสุ่มอย่างง่ายจากประชากรทั้งหมด จำนวน 2,721 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงบรรยาย ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติเชิงอ้างอิง ได้แก่ สถิติทดสอบที (t-test) ผลการวิจัยพบว่า
1. คุณลักษณะที่พึงประสงค์ของนิสิตครู ประกอบด้วย 1) คุณธรรมดี 2) ความรู้ดี 3) คิดดี 4) พูดดี 5) กายใจดี 6) รักษ์ดี และ 7) ผู้นำดี พบว่า นิสิตมีคุณลักษณะที่พึงประสงค์ในภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับมากทุกด้าน
2. ผลการเปรียบเทียบคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของนิสิตครู มหาวิทยาลัยพะเยา พบว่า
2.1 นิสิตชายและนิสิตหญิงมีคุณลักษณะที่พึงประสงค์ในภาพรวมและรายด้านไม่แตกต่างกัน
2.2 นิสิตกลุ่มสาขาวิชาวิทยาศาสตร์และนิสิตกลุ่มสาขาวิชาสังคมศาสตร์มีคุณลักษณะที่พึงประสงค์ในภาพรวมไม่แตกต่างกัน และเมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า นิสิตครูในกลุ่มสาขาวิชาสังคมศาสตร์มีคุณลักษณะ
ที่พึงประสงค์ด้านพูดดีสูงกว่านิสิตครูในกลุ่มสาขาวิชาวิทยาศาสตร์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ส่วนด้านคุณธรรมดี ด้านความรู้ดี ด้านคิดดี
ด้านกายใจดี ด้านรักษ์ดี และด้านผู้นำที่ดี พบว่าไม่แตกต่างกัน
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารพิกุล ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสาร ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารพิกุล ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารพิกุล หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใด ๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักอักษรจากวารสารพิกุล ก่อนเท่านั้น
References
กองแผนงาน มหาวิทยาลัยพะเยา. (2564). แผนยุทธศาสตร์การพัฒนามหาวิทยาลัยพะเยาประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564-2568. สืบค้น 18 กรกฎาคม 2564, จาก https://www.up.ac.th/th/IntroEtcup.aspx?tab=Strategic_64
เกิดพงศ์ จิตรหลัง. (2562). คุณลักษณะที่พึงประสงค์ของครูในศตวรรษที่ 21.วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา, 14(1), 138-148.
นงลักษณ์ วิรัชชัย. (2555). การกำหนดขนาดตัวอย่าง และสถิติวิเคราะห์ใหม่ ๆ ที่น่าสนใจ. สืบค้น 20 มกราคม 2021, จาก http://lllskill.com/web/files/GPower.pdf
บันเย็น เพ็งกระจ่าง. (2561). การศึกษาความคิดเห็นของครูที่มีต่อการพัฒนาครูด้านการเรียนการสอนในศตวรรษที่ 21 ของโรงเรียนสารสาสน์วิเทศคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี. การศึกษาค้นคว้าอิสระ ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเกริก, กรุงเทพฯ.
พจมาลย์ สกลเกียรติ. (2562). การศึกษาคุณลักษณะของครูที่พึงประสงค์ ตามทัศนะของนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา สาขาวิชาหลักสูตรและ การสอน วิทยาลัยครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์. ใน การ ประชุมหาดใหญ่วิชาการระดับชาติและนานาชาติครั้งที่ 10. (หน้า 446-456) วันที่ 12-13 กรกฎาคม 2562 มหาวิทยาลัยหาดใหญ่, สงขลา.
ภราดร สุขพันธ์. (2561). การพัฒนาทักษะการสื่อสารภาษาอังกฤษกับความเป็นบัณฑิตในยุคปัจจุบัน. วารสาร มจร. หริภุญชัยปริทรรศน์, 2(2), 89-100.
วนาลี นพวงศ์ ณ อยุธยา. (2555). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการพัฒนาทักษะการพูดภาษาอังกฤษของนักศึกษามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล. รายงานการวิจัย. โครงการวิจัยทุนสนับสนุนงานวิจัยของมหาวิทยาลัยราชมงคลกรุงเทพ.
วิทยาลัยการศึกษา มหาวิทยาลัยพะเยา. (2564). รายงานการประเมินตนเองระดับหลักสูตร (Self – Assessment report: SAR) ประจำปี การศึกษา 2563. มหาวิทยาลัยพะเยา, พะเยา.
อุทิศ ทาหอม. (2554). บทบาทของครูด้านผู้นําทางคุณธรรมจริยธรรม ใน ทัศนะของนักศึกษา ระดับอุดมศึกษา. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต, สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, กรุงเทพฯ.
Cohen J. (1977). Statistical power for the behavioral sciences. 2nd edition. New York: Academic Press.