รำวงย้อนยุค อำเภอหล่มสัก จังหวัดเพชรบูรณ์ : อัตลักษณ์และบทบาทต่อชุมชน
Main Article Content
บทคัดย่อ
รำวงย้อนยุคมีพัฒนาการมาจากรำวงมาตรฐาน มีการเปลี่ยนแปลงและพัฒนารูปแบบการแสดงและบทเพลงผ่านระบบการแพร่กระจายทางวัฒนธรรม การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) มีวัตถุประสงค์ของการวิจัย ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาอัตลักษณ์รำวงย้อนยุค อำเภอหล่มสัก จังหวัดเพชรบูรณ์ และ2) เพื่อศึกษาบทบาทรำวงย้อนยุคต่อ ชุมชนอำเภอหล่มสัก จังหวัดเพชรบูรณ์ มีวิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลจากเอกสารและการเก็บข้อมูลจากภาคสนาม ระยะเวลาที่ ทำการศึกษา เริ่มตั้งแต่เดือน มกราคม พ.ศ. 2561 ถึงเดือน สิงหาคม พ.ศ. 2561 การเก็บข้อมูลภาคสนามจากการสัมภาษณ์และการสังเกต เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสัมภาษณ์ และแบบสังเกต โดยศึกษาจากกลุ่มผู้รู้จำนวน 8 คน กลุ่มผู้ปฏิบัติ (นักดนตรี นักร้อง นางรำ ผู้กำกับเครื่องเสียง) จำนวน 10 คน และกลุ่มผู้ให้ข้อมูล (ผู้บริหารชุมชน นักรำวงและผู้ชม) จำนวน 30 คน และนำเสนอผลการวิจัยในรูปแบบการพรรณนาวิเคราะห์ (Descriptive Analytics) จากการวิจัยพบ อัตลักษณ์ (Identity) หรือภาพรวมของรำวงย้อนยุคของรำวงย้อนยุค อำเภอหล่มสัก จังหวัดเพชรบูรณ์ ประกอบด้วย 1) เครื่องดนตรี 4 กลุ่ม ได้แก่ เครื่องสาย เครื่องเป่า เครื่องลิ้มนิ้ว และเครื่องประกอบจังหวะ 2) รูปแบบการแสดง แบ่งเป็น ลักษณะบทเพลงและขั้นตอนการแสดง 3) ลักษณะการแต่งกาย 4) อุปกรณ์ประกอบการแสดง และ5) การศึกษาบทบาทรำวงย้อนยุคต่อชุมชน ได้แก่ วัฒนธรรมประเพณีและเศรษฐกิจชุมชน
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารพิกุล ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสาร ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารพิกุล ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารพิกุล หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใด ๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักอักษรจากวารสารพิกุล ก่อนเท่านั้น
References
กนก คล้ายมุข. (2543). การศึกษาประสิทธิภาพของชุดการสอน เรื่อง ทักษะการปฏิบัติขลุ่ยเพียงออสำหรับนักเรียน ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการประถมศึกษาแห่งชาติ : กรณีศึกษาโรงเรียนวัดโสภณเจติการาม สำนักงานประถมศึกษาจังหวัดพระนครศรีอยุธยา. พระนครศรีอยุธยา: โรงเรียนวัดโสภณเจติการาม.
กำพร ประชุมวรรณ. (2556). การอนุรักษ์และสืบทอดการทำเค่ง (แคน) กลุ่มชาติพันธุ์ม้ง บ้านกนกงาม อำเภอเขาค้อ จังหวัดเพชรบูรณ์. ปริญญาศิลปกรรมศาสตรมหาบัณฑิต สาขาดุริยางคศิลป์ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
เฉลิมศักดิ์ พิกุลศรี. (2535). สังคีตนิยมว่าด้วยดนตรีไทย. กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตร์.
ราชบัณฑิตยสถาน. (2556). พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554. กรุงเทพฯ: นานมีบุ๊คส์พับลิเคชั่นส์,
ลักขณา ชุมพร. (2555). เพลงพื้นบ้านภาคกลาง.เพลงพื้นบ้านสามโก้ อำเภอสามโก้ จังหวัดอ่างทอง. ปริญญานิพนธ์ศิลปกรรมศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชามนุษยดุริยางควิทยา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
สมศักดิ์ ศรีสันติสุข. (2543). สังคมวัฒนธรรมไทย : ลักษณะการเปลี่ยนแปลงทางวิทยาการวิจัยขอนแก่น. ภาควิชาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา คณะมนุษยศาสตร์ ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
MacDonald, Michael B. (2010). Territory and Exchange in Western Canadian Folk Music Festivals. Doctor of Philosophy Department of Music. Faculty of Graduate Studies and Research University of Alberta.