การศึกษาสภาพ ปัญหา ความต้องการและปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการควบคุมการบริโภคยาสูบและการแก้ไขปัญหายาเสพติดของชุมชนในพื้นที่บริการวิชาการของมหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ต้องการนำเสนอผลการศึกษาสภาพ ปัญหา ความต้องการและปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการควบคุมการบริโภคยาสูบและการแก้ไขปัญหายาเสพติดของชุมชนในพื้นที่บริการวิชาการของมหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร โดยใช้การเก็บข้อมูลจากการศึกษาเอกสารการสนทนากลุ่ม และการสัมภาษณ์เชิงลึก โดยผู้ศึกษาทำการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพจากคำให้สัมภาษณ์ของกลุ่มผู้ให้ข้อมูลหลัก ผลการศึกษาพบว่า ในการควบคุมการบริโภคยาสูบและการแก้ไขปัญหายาเสพติดนั้น (1) หน่วยงานภาครัฐและชุมชนมีบทบาทสำคัญโดยอาศัยทั้งมาตรการทางกฎหมายและมาตรการทางสังคมด้วยรูปแบบการป้องกัน ปราบปราม และบำบัดรักษา (2) ปัญหาที่พบ ได้แก่ ปัญหาด้านงบประมาณ กฎหมาย การให้ความร่วมมือ กระบวนการป้องกัน ปราบปรามและการแก้ไขปัญหายาเสพติด รวมถึง นโยบายจากส่วนกลาง (3) ความต้องการของชุมชน ได้แก่ ชุมชนต้องการให้มีการแก้ไขข้อกฎหมายและการบังคับใช้กฎหมายอย่างเข้มงวด การจัดการอบรมให้ความรู้ การสร้างพื้นที่สำหรับการทำกิจกรรมที่สร้างสรรค์ในชุมชน ต้องการให้หน่วยงานกลางทำหน้าที่เป็นผู้สานความร่วมมือและสร้างความเข้าใจ และความต้องการในด้านงบประมาณ (4) ปัจจัยที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ ปัจจัยด้านสภาพแวดล้อมทางสังคม สุขภาพของผู้สูบและผู้เสพ การให้ความสำคัญและจริงจังกับการแก้ไขปัญหาของทุกภาคส่วน และการเข้าถึงยาสูบและยาเสพติดได้ง่ายขึ้นในปัจจุบัน
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารพิกุล ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสาร ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารพิกุล ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารพิกุล หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใด ๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักอักษรจากวารสารพิกุล ก่อนเท่านั้น
References
ปรีชา อุปโยคินและคณะ. (2556). รูปแบบการควบคุมทางสังคมเพื่อการเลิกสูบบุหรี่: การบูรณาการความร่วมมือระหว่างเครือข่ายชุมชนกับระบบการบริการสุขภาพของรัฐระดับชุมชน. กรุงเทพฯ: ศูนย์วิจัยและจัดการความรู้เพื่อการควบคุมยาสูบ (ศวย.) และ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.).
ปรีชา อุปโยคิน. (2557, ธันวาคม 29). รูปแบบการควบคุมทางสังคมเพื่อการเลิกสูบบุหรี่: การบูรณาการความร่วมมือระหว่างเครือข่ายชุมชนกับระบบการบริการสุขภาพของรัฐระดับชุมชน. MFU Connexion: Journal of Humanities and Social Sciences. 3(2), 46-68.
รณรงค์เพื่อการไม่สูบบุหรี่, มูลนิธิ. (2560). “คนไทย 1 ล้านคนป่วยจากการสูบบุหรี่”. เข้าถึงเมื่อ มกราคม 3, 2561, จากhttp://www.ashthailand.or.th.
รุ่งทิพย์ กล้าหาญ. (2552). การป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดด้วยหลักพุทธธรรมในหมู่บ้านป่าไผ่ ต.แม่โป่ง อ.ดอยสะเก็ด จ.เชียงใหม่. รายงานการวิจัย, มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตเชียงใหม่.
เรือนแก้ว ภัทรานุประวัติ. (ม.ม.ป.). ปัญหายาเสพติด: มุมมองทางสังคมวิทยา. ม.ป.พ., เข้าถึงเมื่อ ธันวาคม 28, 2561, จาก https://km.moi.go.th.
สถิติแห่งชาติ, สำนักงาน. (2560). “ผลสำรวจพฤติกรรมการสูบบุหรี่ พ.ศ. 2560”. เข้าถึงเมื่อ มกราคม 3, 2561, จาก http://www.nso.go.th.
สุขภาพจิต, กรม. (2561). “บุหรี่”ทำตายก่อนวัยเกือบ18ปีชายไทย 1 ใน 6 ทุกข์ทรมานก่อนตาย. เข้าถึงเมื่อ มกราคม 3, 2561, จาก https://dmh.go.th.
สมจิต ยาใจ. (2564). รูปแบบการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดโดยการมีส่วนร่วมของชุมชน จังหวัดจันทบุรี. วารสารวิทยาลัยพยาบาลพระปกเกล้า จันทบุรี. 32(1), 224-236
เอกรัตน์ หามนตรี. (2561). ความสำเร็จของชุมชนในการป้องกันและแก้ไขปัญหาเยาวชนที่มีพฤติกรรมเสี่ยงต่อการติดยาเสพติดในจังหวัดอ่างทอง. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์. 5(2), 434-451.