การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ด้วยแผนผังกราฟิกเพื่อเสริมสร้างความสามารถในการเรียนรู้ ด้านการวิจัยของนักศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์

Main Article Content

สรวงพร กุศลส่ง
จินตนา สายสิงเทศ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพปัญหาและความต้องการในการจัดการเรียนรู้ด้วยแผนผังกราฟิก และความสามารถในการเรียนรู้ด้านการวิจัยของนักศึกษา 2) เพื่อพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ด้วยแผนผังกราฟิก 3) เพื่อทดลองใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ด้วยแผนผังกราฟิกเพื่อเสริมสร้างความสามารถในการเรียนรู้ด้านการวิจัย และ 4) เพื่อศึกษาความพึงพอใจการใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ด้วยแผนผังกราฟิกของนักศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์ กลุ่มตัวอย่างเป็นนักศึกษา สาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย ชั้นปีที่ 4 คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์ จำนวน 25 คน โดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามแบบแผนการวิจัยแบบ One-Group Pretest-Posttest Design และใช้สถิติทดสอบค่า t (t-test) และค่าร้อยละ


ผลการวิจัยพบว่า 1. ผลการศึกษา ข้อมูล และความน่าจะเป็นในการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ด้วยแผนผังกราฟิก และความรู้ด้านการวิจัยของนักศึกษา 2. รูปแบบการจัดการเรียนรู้ด้วยแผนผังกราฟิกที่พัฒนาขึ้น คือ รูปแบบการจัดการเรียนรู้ 6 ขั้นตอนคือ 1) ขั้นเตรียมความพร้อม 2) ขั้นการใช้คำถาม 3) ขั้นการปฏิบัติ 4) การสรุปองค์ความรู้ 5) ขั้นการประยุกต์ใช้ และ6) ขั้นสะท้อนคิด ผลการตรวจสอบคุณภาพโดยผู้เชี่ยวชาญ พบว่ารูปแบบการจัดการเรียนรู้ที่พัฒนาขึ้นมีความเหมาะสม อยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.80, S.D. = 0.45) 3. ผลการทดลองใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ที่พัฒนาขึ้น พบว่า นักศึกษาหลังได้รับการจัดกิจกรรมมีความสามารถด้านการวิจัยสูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05  4. ผลความพึงพอใจในการใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ด้วยแผนผังกราฟิกของนักศึกษาคณะครุศาสตร์ อยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.67, S.D. = 0.37)

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ครองสิน มิตะทัง. (2548). การศึกษาตัวแปรสภาพแวดล้อมในครอบครัว ลักษณะของครูและลักษณะของนักเรียนที่ส่งผลต่อความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณของ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 จังหวัดนครพนม. ปริญญานิพนธ์ การศึกษามหาบัณฑิต สาขาการวิจัยและสถิติทางการศึกษา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

ชัยวัฒน์ สุทธิรัตน์. (2552). 80 นวัตกรรมการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ. กรุงเทพฯ บริษัทแดเน็กซ์ อินเตอร์คอร์ปเปอเรชั่น.

ทิศนา แขมมณี. (2544). วิทยาการด้านการคิด. กรุงเทพฯ. สถาบันพัฒนาคุณภาพวิชาการ.

พรสุรีย์ วิภาศรีนิมิต. (2554). การพัฒนาทักษะการเรียนรู้ของนักศึกษาด้วยการเขียนแผนที่ความคิด. มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.

วิจารณ์ พานิช. (2555). วิถีสร้างการเรียนรู้เพื่อศิษย์ในศตวรรษที่ 21. กรุงเทพฯ : มูลนิธิสดศรี-สฤษดิ์วงศ์.

สมศักดิ์ สินธุรเวชญ์. (2542). มุ่งสู่คุณภาพการศึกษา. พิมพ์ครั้งที่ 2 กรุงเทพฯ : วัฒนาพาณิชย์.

สุวิทย์ มูลคํา และอรทัย มูลคํา. (2552). 21 วิธีจัดการเรียนรู้ : เพื่อพัฒนากระบวนการคิด. พิมพ์ครั้งที่ 8. กรุงเทพ ฯ : ภาพพิมพ์.

สุวิมล ว่องวาณิช. (2546). การวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียน. กรุงเทพฯ : อักษรไทย.