การแสดง กวา-เขยียะ ในงานประเพณีปีใหม่ของชนเผ่าลีซู

Main Article Content

สายสุนีย์ ผาสุขคีรี
ชุติมา มณีวัฒนา

บทคัดย่อ

งานวิจัยฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประวัติความเป็นมาของการแสดง “กวา-เขยียะ” ในประเพณีปีใหม่ของชนเผ่าลีซู และศึกษาองค์ประกอบและบทบาทหน้าที่ของการแสดง “กวา-เขยียะ” ที่มีต่อชาวลีซู ในพื้นที่ ตำบลแม่ท้อ อำเภอเมือง จังหวัดตาก ผู้วิจัยใช้วิธีดำเนินการวิจัยเชิงคุณภาพภายใต้แนวคิดชาติพันธุ์วรรณนา โดยศึกษาและเก็บรวบรวมข้อมูลจากงานวิจัยและเอกสารที่เกี่ยวข้อง รวมถึงการศึกษาภาคสนามด้วยการสัมภาษณ์ และการสังเกตอย่างมีส่วนร่วม


               ผลการวิจัยพบว่า การแสดง “กวา-เขยียะ” จัดเป็น “การเต้นนันทนาการ” ที่เป็น “ประเพณี” สำคัญซึ่งสะท้อน “อัตลักษณ์ทางวัฒนธรรม” ของชาวลีซู


               นอกจากนี้การแสดง “กวา-เขยียะ” ยังสะท้อนสภาพสังคมวัฒนธรรมของชาวลีซู ได้แก่ บทบาททางเพศ คือ การที่ผู้ชายเล่นดนตรีและเป็นผู้นำการเต้นรำ ในขณะที่ผู้หญิงจะเต้นรำตามเพียงอย่างเดียว อีกทั้งยังสะท้อนให้เห็นถึงโครงสร้างทางสังคมที่ค่อนข้างมีความเท่าเทียมกัน ไม่มีการแบ่งชนชั้น ทุกคนสามารถร่วมเต้นรำได้อย่างเสมอภาค นอกจากนี้การแสดง “กวา-เขยียะ” ยังมีบทบาทที่สำคัญสำหรับชาวลีซู คือ การสร้างความบันเทิงที่แฝงอยู่บนพิธีกรรมอันศักดิ์สิทธิ์ให้กับคนในชุมชน และยังแสดงให้เห็นถึงลักษณะนิสัยของชาวลีซูที่มีความสนุกสนานรื่นเริงอีกด้วย

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ไกรสร สีมี่. (2562, 26 พฤษภาคม). ผู้ใหญ่บ้านหมู่บ้านลีซู อำเภอเมือง จังหวัดตาก (สัมภาษณ์).

เครือข่ายสื่อชนเผ่าพื้นเมือง Indigenous Media Network – IMN ภายใต้เครือข่ายชนเผ่าพื้นเมืองแห่งประเทศไทย (คชท). (มปป). คู่มือปฏิบัติการ สำหรับคนทำสื่อกับชนเผ่าพื้นเมืองในประเทศไทย. บริษัท โรงพิมพ์AIPP จำกัด.

ชุติมา มณีวัฒนา. (2546). สุนทรียภาพของชีวิต. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ : เสมาธรรม.

ธัญญะ สายหมี. (2552). ฝู่หลู:เครื่องดนตรีชาวเขาเผ่าลีซู อำเภอแม่จัน จังหวัดเชียงราย. วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต. สาขาวิชาดุริยางค์ไทย. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

พระประธาน สมาจาโร (ชูศรีโฉม). (2554). ศึกษาหลักพุทธจริยธรรมที่ปรากฏในประเพณีปีใหม่ของกลุ่มชาติพันธุ์ลีซู. วิทยานิพนธ์ปริญญาพุทธศาสตรมหาบัณฑิต.สาขาพระพุทธศาสนา. บัณฑิตวิทยาลัย.มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

มูลนิธิกระจกเงา.(2550).พิพิธภัณฑ์ชาวเขาออนไลน์ลีซู. (ออนไลน์). จาก http://www.hilltribe.org/thai/lisu/lisu-language.php

วิญญู ผิวรัตน์. (2558). วงโปงลาง : การสร้างและพัฒนามาตรฐานศิลปะการแสดงพื้นบ้านอีสาน. ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต. สาขาวัฒนธรรมศาสตร์. มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

ศราวุฒิ แซ่หว้าง. (2562, 26 พฤษภาคม). มือมือผะ(ผู้นำศาสนา) ประจำหมู่บ้านลีซู อำเภอเมือง จังหวัดตาก (สัมภาษณ์).

เอกรินทร์ พึ่งประชา. (2561). ชาติพันธุ์วรรณนาและกระบวนการฟื้นฟูอัตลักษณ์ทางชาติพันธุ์ลีซอและเย้าในโลกสมัยใหม่บ้านเพชรดำ อำเภอเขาค้อ จังหวัดเพชรบูรณ์. กรุงเทพฯ : ภาควิชามานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยศิลปากร.