ภาพสะท้อนสังคมในนวนิยายวาย
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาภาพสะท้อนสังคมในนวนิยายวาย โดยจะศึกษาในด้านครอบครัว ด้านการศึกษา ด้านอาชีพ ด้านฐานะทางสังคม และด้านความรัก ผู้วิจัยเก็บรวบรวมข้อมูลจากนวนิยายวายออนไลน์ที่ได้รับ การตีพิมพ์รวมเล่มจากสำนักพิมพ์ต่าง ๆ โดยคัดเลือกข้อมูลแบบเจาะจงจำนวน 10 เรื่อง ผลการวิจัยด้านภาพสะท้อนสังคมในนวนิยายวาย พบภาพสะท้อนสังคมในนวนิยายวาย 5 ลักษณะ ได้แก่ ด้านครอบครัวปรากฎภาพสะท้อนสังคมเกี่ยวกับความสัมพันธ์ของสมาชิกในครอบครัวและการยอมรับตัวตนของสมาชิกในครอบครัว ด้านการศึกษาปรากฏภาพสะท้อนสังคมเกี่ยวกับระบบการศึกษา การเรียน และการดำเนินชีวิตในสถาบันการศึกษา ด้านอาชีพปรากฏภาพสะท้อนสังคมเกี่ยวกับอาชีพประจำและอาชีพเสริมพิเศษ ด้านฐานะทางสังคมปรากฏภาพสะท้อนสังคมด้านชีวิตความเป็นอยู่ ฐานะทางเศรษฐกิจการเงิน และด้านความรักปรากฏภาพสะท้อนสังคม ความรักที่แสดงความปรารถนาดี ความเสียสละ และความรักอย่างสมหวัง
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารพิกุล ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสาร ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารพิกุล ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารพิกุล หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใด ๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักอักษรจากวารสารพิกุล ก่อนเท่านั้น
References
ฑิตฐิตา นาคเกษม. (2545). การศึกษาวิเคราะห์นวนิยายของประภัสสร เสวิกุล. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวิชาไทยศึกษา,มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
ทิพย์โชค ไชยวิศิษฏ์กุล. (2549). ภาพสะท้อนสังคมกรุงเทพฯ จากเรื่องสั้นที่เข้ารอบสุดท้ายของการประกวดชิงรางวัลสร้างสรรค์ยอดเยี่ยมแห่งอาเซียน ระหว่างปี พ.ศ.2536-2545. ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาภาษาไทย, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
นะเขียน badboyz (นามแฝง). (2559). Make it Right1. กรุงเทพฯ: NALU.
_______ (นามแฝง). (2559). Make it Right2. กรุงเทพฯ: NALU.
นัทธนัย ประสานนาม. (2562). บันเทิงคดีวายในฐานะปรากฏการณ์การอ่านร่วมสมัย. เข้าถึงเมื่อ 20 กุมภาพันธ์ 2562, จาก https://pantip.com/topic/38550464?fbclid=lwAR283vm4V,
นพวรรณ อุ่นมาก. (2557). เพศวิถีของนักเรียนวัยรุ่นชายรักชายระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย : กรณีศึกษาวัยรุ่นชายรักชายที่ไม่เปิดเผยตัวตนต่อครอบครัว. ปริญญาศึกษาศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวิชาการแนะแนว, มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
ประภาศรี สีหอำไพ. (2538). วัฒนธรรมทางภาษา. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
พิเชษฐ คงโต. (2546). แนวความคิดและภาพสะท้อนในเรื่องสั้นของประชาคม ลุนาชัย : การศึกษาเชิงวิเคราะห์. ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต วิชาเอกภาษาไทย, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
รสริน ดิษฐบรรจง. (2550). การใช้ภาษาและภาพสะท้อนสังคมวัฒนธรรมจากไดอารี่ออนไลน์. วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาภาษาไทย, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
สุวัทนา อารีพรรค. (2550). เรียนรู้เรื่องเพศกับคุณหมอ. กรุงเทพฯ:บุญศิริการพิมพ์.
หมอตุ๊ด (นามแฝง). (2559). The Our Story กังหันกับพัดโบก. นนทบุรี: โมโน เจนเนอเรชั่น.
Bittersweet (นามแฝง). (2558). SOTUS พี่ว้ากตัวร้ายกับนายปีหนึ่ง. กรุงเทพฯ: เดอะรีดดิ้งรูม.
Chiffon_cake (นามแฝง). (2559). เดือนเกี้ยวเดือน1. กรุงเทพฯ: เอเวอร์วาย.
______ (นามแฝง). (2559). เดือนเกี้ยวเดือน2. กรุงเทพฯ: เอเวอร์วาย.
______ (นามแฝง). (2559). เดือนเกี้ยวเดือน2. กรุงเทพฯ: เอเวอร์วาย.
______ (นามแฝง). (2559). ร้านบาร์สุราลัย. กรุงเทพฯ: เอเวอร์วาย.
EYEY (นามแฝง). (2559). เสี่ยครับรับรักผมหน่อย. กรุงเทพฯ: มีดี.
Gardy (นามแฝง). (2559). พันธะร้าย นายสารเลว. นนทบุรี: ภาพพิมพ์.
Huskyhund (นามแฝง). (2559). เหนือเมฆ1. กรุงเทพฯ: เอเวอร์วาย.
______ (นามแฝง). (2559). เหนือเมฆ2. กรุงเทพฯ: เอเวอร์วาย.
Karnsaii (นามแฝง). (2559). เล่นเพื่อน1. พิมพ์ครั้งที่2. กรุงเทพฯ:เอเวอร์วาย.
______ (นามแฝง). (2559). เล่นเพื่อน2. พิมพ์ครั้งที่2. กรุงเทพฯ:เอเวอร์วาย.Platinunx (นามแฝง). 2559. ผมกลายเป็นเมียพี่รอง. นนทบุรี: ภาพพิมพ์.