แนวทางพัฒนาการดำเนินงานสำนักงานสีเขียว : กรณีศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชรและมหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม

Main Article Content

พิกุล อินไผ่
สมชัย วงษ์นายะ

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

            การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพและปัญหาการดำเนินงานสำนักงานสีเขียว 2) หาแนวทางพัฒนาการดำเนินงานสำนักงานสีเขียว 3) ประเมินแนวทางพัฒนาการดำเนินงานสำนักงานสีเขียว : กรณีศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชรและมหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม ประชากรที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ผู้บริหาร บุคลากรสายวิชาการ และบุคลากรสายสนับสนุนของมหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชรและมหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม ที่ปฏิบัติงานในปี 2563 จำนวน 1,379 คน กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 579 คน รวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง และแบบประเมินแนวทาง วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัย พบว่า (1) สภาพการดำเนินงานสำนักงานสีเขียว พบว่า มีการให้ความรู้แก่บุคลากรเกี่ยวกับมาตรการการใช้ไฟฟ้าในสำนักงาน จัดการความน่าอยู่ของสำนักงาน และกำหนดนโยบายสิ่งแวดล้อมจากผู้บริหารระดับสูง พร้อมทั้งเผยแพร่ให้บุคลากรรับทราบ ส่วนปัญหาการดำเนินงานสำนักงานสีเขียว พบว่า การประชุมทบทวนนโยบายสิ่งแวดล้อมไม่ดำเนินการต่อเนื่อง การใช้พลังงานทดแทนในสำนักงานยังไม่ทั่วถึง และผู้รับผิดชอบด้านการจัดซื้อจัดจ้างขาดความรู้ ความเข้าใจ และประสบการณ์ในการปฏิบัติงาน (2) แนวทางแนวทางพัฒนาการดำเนินงานสำนักงานสีเขียว พบว่ามีแนวทางที่สำคัญ ได้แก่ 1) บูรณาการการจัดการสิ่งแวดล้อมเข้ากับการดำเนินงานตามพันธกิจของสำนักงานและมหาวิทยาลัย 2) สนับสนุนการมีส่วนร่วมของบุคลากรในการนำเสนอมาตรการหรือแนวคิดที่ช่วยประหยัดพลังงานและทรัพยากร 3) เพิ่มการประชาสัมพันธ์เกี่ยวกับมาตรการการใช้ทรัพยากรและพลังงาน และ 4) จัดอบรมให้ความรู้ เรื่อง การลดปริมาณขยะในสำนักงานและสร้างจิตสำนึกในการใช้ทรัพยากรอย่างรู้คุณค่า จัดกิจกรรมโดยกำหนดตารางปฏิบัติงานประจำปีในระดับหน่วยงานและมหาวิทยาลัย (3) การประเมินความเหมาะสม ความเป็นไปได้ และความเป็นประโยชน์ พบว่า แนวทางทั้งหมดผ่านเกณฑ์การประเมินในระดับมากขึ้นไป

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

คณะกรรมการกฤษฏีกา, สำนักงาน. (2562). พระราชบัญญัติการอุดมศึกษา พ.ศ. 2562. เข้าถึงเมื่อ 20 ตุลาคม 2563, จากhttps://bit.ly/3Cftu6G.

ชาตรี คนงานดี. (2563). ปัจจัยที่มีผลต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานภายใต้พระราชบัญญัติและระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 ของผู้ปฏิบัติงานด้านการจัดซื้อจัดจ้าง มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา. วารสารสารสนเทศ, 19(1), 37-48.

บริหารก๊าซเรือนกระจก, องค์การ. (2564). Climate change : กรกฏาคม 2021 อุณหภูมิโลกเฉลี่ย ร้อนที่สุดในรอบ 142 ปี. เข้าถึงเมื่อ 11 กรกฎาคม 2565, จาก https://www. https://bit.ly/3nSqVzb.

ปิยนุช จันหา. (2562). ความพึงพอใจของบุคลากรต่อการจัดการพื้นที่สีเขียวของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน.วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารทรัพยากรป่าไม้และสิ่งแวดล้อม คณะวนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน.

พิชยดา จิรวรรษวงศ์. (2556). การศึกษาต้นทุนในการใช้ไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ในบ้านที่อยู่อาศัย. วิทยานิพนธ์วิศวกรรมศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการทางวิศวกรรม คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.

ธีรธาดา สำเนียง และคนอื่น ๆ. (2562). การพัฒนารูปแบบการเสริมสร้างการอนุรักษ์พลังงานไฟฟ้าของโรงเรียนในจังหวัดหนองคาย. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์, 6(1), 161-179.

ยุทธศักดิ์ คนบุญ. (2561). การนำนโยบายการจัดซื้อจัดจ้างสีเขียวไปปฏิบัติในภาครัฐไทย. วารสารนวัตกรรมการจัดการภาครัฐและภาคเอกชน, 6(2), 103-117.

วรภาส สุภามูล. (2561). การบริหารงานอาคารสถานที่และสิ่งแวดล้อมของโรงเรียนบ้านเวียงแหง จังหวัดเชียงใหม่. วารสารมมร วิชาการล้านนา, 7(1), 1-9.

ส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม, กรม. (2558). คู่มือการประเมินสำนักงานสีเขียว (Green Office). กรุงเทพฯ: กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม.

___________. (2565). รายชื่อหน่วยงานที่ผ่านการรับรองการดำเนินโครงการสำนักงานสีเขียว. เข้าถึงเมื่อ 21 มิถุนายน 2565, จาก https://bit.ly/3uURbwL.

สภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ และคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม, สำนักงาน. (2562). นโยบายและยุทธศาสตร์กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม พ.ศ.2563-2570 และแผนด้านวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม พ.ศ.2563-2565. เข้าถึงเมื่อ 12 กรกฎาคม 2565, จาก https://bit.ly/3CdeINN.

สิรินาฏ ไชยตา. (2557). ปัจจัยการมีส่วนร่วมของบุคลากรส่งผลต่อการดำเนินการสู่ความเป็นมหาวิทยาลัยสีเขียวของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน นครราชสีมา. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสานนครราชสีมา.

ปริญญา ลิ้มวนานนท์. (2559). ปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการประหยัดพลังงานไฟฟ้าในสถานที่ทำงานของพนักงานบริษัทห้างขายยาตราเสือดาว. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิตมหาวิทยาลัยศิลปากร.

อมรรักษ์ สวนชูผล. (2560). การศึกษาสภาพปัญหาการจัดการขยะของมหาวิทยาลัยราชภัฏในเขตภาคกลาง. วารสารวิจัยและพัฒนา วไลยอลงกรณ์ในพระบรมราชูปถัมภ์ สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 12(3), 11-21.

อิสรี รอดทัศนา. (2558). มหาวิทยาลัยสีเขียว. วารสาร มฉก.วิชาการ, 18(36), 171-188.