การจัดการเรียนการสอนเชิงบูรณาการกับการทำงานและการคุ้มครองนักศึกษาฝึกงานภายใต้กฎหมายไทย
Main Article Content
บทคัดย่อ
การเรียนการสอนโดยผสมกลมกลืนกันระหว่างประสบการณ์ทำงานทางวิชาชีพนอกห้องเรียนกับการเรียนในห้องเรียน (Work Integrated Learning, WIL) โดยการส่งนักศึกษาไปทำงานกับผู้ประกอบการตัวจริง ลงมือทำงานจริง ในสภาวะแวดล้อมจริง เพื่อแก้ไขปัญหาตลาดแรงงานในด้านทักษะไม่สัมพันธ์กันกับตำแหน่งอาชีพที่มีอยู่ในปัจจุบัน แต่เนื่องจากนักศึกษาฝึกงานนั้นไม่ได้มีนิติสัมพันธ์เป็นนายจ้างและลูกจ้างตามกฎหมายแรงงาน ทำให้ไม่สามารถนำบทบัญญัติคุ้มครองลูกจ้างตามมาตรฐานขั้นต่ำไว้มาใช้บังคับเพื่อให้ความคุ้มครองแก่นักศึกษาผู้ฝึกงานได้ จึงอาจถูกเอาเปรียบจากบริษัทที่มอบหมายงานอย่างไม่ปรานี ซึ่งในฐานะนักศึกษาฝึกงานยังไม่มีประสบการณ์ต้องใช้เวลาในการเรียนรู้ นำไปสู่การกดดันตนเองจนเกิดภาวะเครียดจนนำไปสู่ปัญหาอื่น ๆ ตามมา ผู้เขียนจึงเห็นควรจัดให้มีการเพิ่มความคุ้มครองตามกฎหมายแก่ผู้ฝึกงานให้เทียบเท่ากับลูกจ้าง โดยมีประเด็นที่ควรพิจารณาคือ ระยะเวลาทำงาน, เวลาพักในระหว่างเวลาทำงาน, วันหยุดประจำสัปดาห์, การจ่ายค่าตอบแทน และความปลอดภัยในการฝึกงาน เพื่อแนวทางในการพิจารณาแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายที่เกี่ยวข้องในอนาคต เนื่องจากระบบการฝึกงานมีบทบาทสำคัญทุกภาคส่วนเป็นนโยบายในทางสังคมที่รัฐบาลควรสนับสนุน เพื่อให้แรงงานมีฝีมือและสามารถต่อยอดการประกอบอาชีพได้ตลอดชีวิตส่งผลต่อการทำธุรกิจของผู้ประกอบการอย่างมีนัยสำคัญต่อไป
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารพิกุล ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสาร ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารพิกุล ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารพิกุล หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใด ๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักอักษรจากวารสารพิกุล ก่อนเท่านั้น
References
จิ๊ด เศรษฐบุตร. (2548). หลักกฎหมายแพ่งลักษณะหนี้. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์เดือนตุลา.
ภานุวัฒน์ ทรงสวัสดิ์ชัย. (2565). แรงงานได้เปล่าชื่อ ‘นักศึกษาฝึกงาน’: สวัสดิการไม่ต้องมี โอทีไม่ปรากฏ บาดเจ็บ-ตายรันทดจบง่าย. (ออนไลน์). สืบค้นเมื่อวันที่ 11 มีนาคม 2565, จากhttps://prachatai.com/journal/2017/05/71261
วินัย ลู่วิโรจน์. (2533). สัญญาจ้างแรงงาน : ศึกษาในแง่ลักษณะความสำคัญของนิติสัมพันธ์. วิทยานิพนธ์นิติศาสตรมหาบัณฑิต สาขากฎหมายเอกชน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
วิรัช กาฬภักดี. (2560). การจัดการเชิงบูรณาการกับการทํางาน : WiL เอกสารประกอบการบรรยาย. กรุงเทพฯ : ศูนย์สหกิจศึกษา มหาวิทยาลัยเจ้าพระยา.
ศรัณย์ จงรักษ์. (2564). ไรเดอร์ไม่ใช่ลูกจ้าง: ความเบี้ยวบิดของระบบกฎหมายไทย. กรุงเทพฯ : CMU Journal of Law and Social Sciences คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
สดุดี สินไชย. (2550). มาตรการทางกฎหมายในการคุ้มครองแรงงานนอกระบบ : ศึกษาเฉพาะกรณีกลุ่มอาชีพไคโยตี้พื้นที่กรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต คณะนิติศาสตร์มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.
สรัลรัตน์ จันทวี. (2558). การคุ้มครองผู้ฝึกงาน. วิทยานิพนธ์นิติศาสตรมหาบัณฑิต สาขากฎหมายเอกชน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
สำนักงานปลัดกระทรวงแรงงาน. (2565). การคุ้มครองแรงงาน. (ออนไลน์). สืบค้นเมื่อวันที่ 14 มกราคม 2565, จาก https://lb.mol.go.th/คนทำงาน/สิ่งที่ลูกจ้างควรรู้/การคุ้มครองแรงงาน