การสื่อสารเพื่อสร้างการมีส่วนร่วมในการพัฒนาการท่องเที่ยวอุทยานธรณีโลกสตูล
Main Article Content
บทคัดย่อ
การสื่อสารมีส่วนสำคัญอย่างยิ่งต่อการพัฒนาส่งเสริมการท่องเที่ยว เพราะการสื่อสารเปรียบเสมือนตัวกลางในการเชื่อมโยงปรากฏการณ์ทางสังคม และมีบทบาทในการกระตุ้นให้กลุ่มบุคคลในระดับสังคมหรือ ชุมชนที่มีการจัดการการท่องเที่ยวให้เกิดการรวมตัวกัน เกิดจิตสำนึก ความสามัคคี และความเข้าใจที่ตรงกันต่อ ประเด็นปัญหาต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการจัดการการท่องเที่ยว จนสามารถประสานความร่วมมือ ร่วมใจ เพื่อแก้ไขปัญหาต่างๆ ได้เป็นอย่างดี อันนำมาสู่การพัฒนาความเป็นชุมชนเข้มแข็ง และพัฒนาส่งเสริมการท่องเที่ยวของจังหวัดสตูล
บทความนี้ผู้เขียนมีความสนใจที่จะนำเสนอความหมายของอุทยานธรณีโลกสตูล แหล่งธรณีวิทยาที่ ได้รับการบริหารจัดการแบบองค์รวม ซึ่งประกอบด้วย การคุ้มครองหรือการอนุรักษ์ การให้การศึกษา และการพัฒนาอย่างยั่งยืน มีลักษณะการบริหารจัดการการท่องเที่ยวอย่างเป็นระบบ โดยมุ่งเน้นรูปแบบ กระบวนการการสื่อสารเพื่อสร้างการมีส่วนร่วมของชุมชน ในการค้นหาปัญหาและสาเหตุของปัญหา และร่วมตัดสินใจ เกิดการเรียนรู้ในปัญหาและผลกระทบจากการท่องเที่ยวซึ่งจะนำไปสู่การหาแนวทางการในการพัฒนาการท่องเที่ยวได้ การมีส่วนร่วมในการลงมือปฏิบัติ การสนับสนุนการดำเนินกิจกรรม ร่วมบริหารงาน พัฒนาให้มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล การมีส่วนร่วมในการร่วมรับผลปะโยชน์ ซึ่งเป็นแรงกระตุ้นให้เกิดการมีส่วนร่วม ร่วมควบคุมติดตามตรวจสอบ และประเมินผล การดำเนินกิจกรรมนั้นๆ
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารพิกุล ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสาร ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารพิกุล ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารพิกุล หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใด ๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักอักษรจากวารสารพิกุล ก่อนเท่านั้น
References
กฤษฎา สุริยวงค์, สุวันชัย หวนนากลาง และฐิตินัน บุญภาพ คอมมอน. (2564). การสื่อสารเพื่อการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์โดยชุมชนมีส่วนร่วมของจังหวัดเพชรบุรี. สืบค้น 19 เมษายน 2565, จาก: file:///C:/Users/SAMSUNG/Downloads/chaon,+%7B$userGroup%7D,+4
การจัดการการสื่อสาร. สืบค้น 19 เมษายน 2565, จาก: https://hmong.in.th/wiki/Communication_management#title
กาญจนา แก้วเทพ. (2551). การจัดการความรู้เบื้องต้นเรื่อง การสื่อสารชุมชน.
กรรณิการ์ เพ็งปรางค์และ กาญจนา แก้วเทพ. (2548). การมีส่วนร่วมในการสื่อสาร: จากแนวคิดสู่การปฏิบัติจริง. วารสารนิเทศศาสตร์, 23 (3-4), หน้า 62-81.
กาญจนา แก้วเทพ และคณะ. (2543). สื่อเพื่อชุมชน : การประมวลองค์ความรู้. กรุงเทพฯ :สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย.
กาญจนา แก้วเทพ. (2552). สื่อเล็กๆ ที่น่าใช้ในงานพัฒนา. กรุงเทพฯ : สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย.การสื่อสารเพื่อการพัฒนาสังคม. สืบค้น 15 มิถุนายน 2565, จาก:http://www.aritbooks.nrru.ac.th/uploadfiles/books/2-2018-08-30-08-37-50.pdf
พิฑูรย์ ทองฉิม. (2558). โครงการท่องเที่ยวเพื่อชีวิตและธรรมชาติ. การท่องเที่ยวโดยชุมชน. สืบค้น 19 เมษายน 2565, จาก: https://kb.psu.ac.th/psukb/bitstream/2010/10157/1/404539.pdf
ปาริชาต สถาปิตานนท์. (2549). การสื่อสารแบบมีส่วนร่วมและการพัฒนาชุมชน : จากแนวคิดสู่ปฏิบัติการวิจัยในสังคมไทย. กรุงเทพฯ : สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย.
วีระศักดิ์ สมยานะ. (2554). การพัฒนาศักยภาพการบริหารจัดการการทองเที่ยวโดยชุมชน จังหวัดเชียงใหม. สํานักงานคณะกรรมการวิจัยแหงชาติ(วช.). อุทยานธรณี. 15 มิถุนายน 2565, จาก: https://www.geopark-thailand.org//
Mr. Narongrit Thungprue. (2018). อุทยานธรณีโลกสตูล อุทยานธรณีโลกของยูเนสโกแห่งแรกของประเทศไทย. สืบค้น 15 มิถุนายน 2565, จาก: http://www.satun-geopark.com/