แนวทางพัฒนาการบริหารงานแบบมีส่วนร่วม ในการระดมทรัพยากรเพื่อการศึกษาของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากำแพงเพชร เขต 2

Main Article Content

ชนากานต์ เมฆยะ

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

            การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพปัญหาและเปรียบเทียบสภาพการบริหารงานแบบมีส่วนร่วมในการระดมทรัพยากรเพื่อการศึกษาของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และ 2) หาแนวทางพัฒนาการบริหารงานแบบมีส่วนร่วมในการระดมทรัพยากรเพื่อการศึกษาของสถานศึกษาขั้นพื้นฐานสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากำแพงเพชร เขต 2 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาในครั้งนี้ ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษาจำนวน 96 คนและครูผู้สอนจำนวน 201 คน และผู้เชี่ยวชาญด้านการระดมทรัพยากรเพื่อการศึกษา จำนวน 17 คน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามแบบมาตรประมาณค่า 5 ระดับ แบบสอบถามเลือกตอบมากกว่า 1 และแบบสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้าง วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน t-test F-test ค่าร้อยละ การวิเคราะห์เนื้อหา การแจกแจงความถี่และจัดลำดับความสำคัญ


ผลการศึกษา พบว่า


  1. สภาพการบริหารงานแบบมีส่วนร่วมในการระดมทรัพยากรเพื่อการศึกษาของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากำแพงเพชร เขต 2 ในภาพรวมมีการปฏิบัติอยู่ในระดับมาก ด้านที่มีสภาพการบริหารงานแบบมีส่วนร่วมมากที่สุด ได้แก่ ด้านการให้ข้อมูลข่าวสารข้อเสนอแนะที่เป็นประโยชน์

  2. 2. ปัญหาการบริหารงานแบบมีส่วนร่วมในการระดมทรัพยากรเพื่อการศึกษาของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากำแพงเพชร เขต 2 ด้านที่มีปัญหามากที่สุด ได้แก่ ด้านการกระจายอำนาจและการมอบอำนาจตัดสินใจ

  3. การเปรียบเทียบสภาพการบริหารงานแบบมีส่วนร่วมในการระดมทรัพยากรเพื่อการศึกษาของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากำแพงเพชร เขต 2 จำแนกตามสถานภาพการปฏิบัติงาน ประสบการณ์ในการทำงาน วุฒิการศึกษา และขนาดสถานศึกษา ในภาพรวมและรายด้านไม่แตกต่างกัน

       4. แนวทางพัฒนาการบริหารงานแบบมีส่วนร่วมในการระดมทรัพยากรเพื่อการศึกษาของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถม             ศึกษากำแพงเพชร เขต 2 พบว่าสถานศึกษา ควรให้ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษาเข้ามามีส่วนร่วมในการวางแผน กำหนดกิจกรรมหรือ                         โครงการ ระดมทรัพยากรเพื่อการศึกษา นอกจากนี้ยังต้องสร้างความสัมพันธ์อันดีระหว่างชุมชนกับสถานศึกษาและควรมีการเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับการ                 ระดมทรัพยากรเพื่อการศึกษาต่อสาธารณชนอย่างโปร่งใสเพื่อให้เกิดการสนับสนุนสถานศึกษาอย่างต่อเนื่อง

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ณิฐชานันท์ รุจิราภัทรสิทธิ์ และนุชนา รัตนศิระประภา. (2557). บทบาท ของผู้บริหารสถานศึกษากับการดำเนินการระดมทรัพยากรเพื่อ การศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา เขต 5. วารสารบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยศิลปากร.

ประจักสิน บึงมุมและคณะ. (2558). การพัฒนากลยุทธ์การบริหาร จัดการระดมทรัพยากรเพื่อใช้ในการจัดการศึกษาของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากำแพงเพชร เขต 1 และเขต 2. สักทอง : วารสารมนุษยศาสตร์ (สทมส.). มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร.

ภูมิพิพัฒน์ รักพรมงคล. (2559). การบริหารทรัพยากรทางการศึกษา. คณะครุศาสตร์ : มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร.

อารีรัตน์ สวนหลวงและคณะ. (2560). การนำเสนอกระบวนการระดมทรัพยากรทางการศึกษาของโรงเรียนขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพระนครศรีอยุธยา เขต 2. วารสารครุศาสตร์ปริทรรศน์.

อำพล ราวกลางและเสาวนี ตรีพุทธรัตน์. (2556). แนวทางการระดมทรัพยากรทางการศึกษาเพื่อการบริหารจัดการสถานศึกษาขนาดเล็กกลุ่มโรงเรียนปง 2 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ประถมศึกษาพะเยา เขต 2. วารสารศึกษาศาสตร์ ฉบับวิจัยบัณฑิตศึกษา. หาวิทยาลัยขอนแก่น.