วิธีการสกัดข้อมูลการรับรู้จากระยะไกลเพื่อการจำแนกการใช้ที่ดินบนพื้นฐานความสัมพันธ์เชิงพื้นที่ของกระบวนการแบบจำลองเชิงอรรถศาสตร์
Main Article Content
บทคัดย่อ
ข้อมูลการใช้ที่ดินเป็นชั้นข้อมูลพื้นฐานที่สำคัญในการวิเคราะห์เพื่อการจัดการปัญหาเชิงพื้นที่ที่หลากหลาย เช่น การจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม การจัดการภัยพิบัติ ฯลฯ อย่างไรก็ตามสิ่งหนึ่งที่เห็นได้ชัดคือ การขาดความเป็นปัจจุบันของข้อมูล เนื่องจากไม่มีการจัดทำใหม่ให้ทันต่อการประยุกต์ใช้ วัตถุประสงค์ของการศึกษานี้คือ เพื่อสร้างแบบจำลองเชิงอรรถศาสตร์สำหรับจำแนกการใช้ที่ดินจากภาพถ่ายดาวเทียม และเพื่อจำแนกประเภทการใช้ที่ดินในจังหวัดกำแพงเพชรด้วยการวิเคราะห์ข้อมูลภาพเชิงเลข โดยแบ่งเป็น 4 ขั้นตอน คือ 1) รวบรวมข้อมูลภาพถ่ายดาวเทียม ปี 2564 2) เตรียมข้อมูลปรับความคมชัดของภาพ Pan-sharpening ด้วยวิธีการ High Pass Featuring (HPF) 3) สกัดข้อมูลการใช้ที่ดินด้วยการสร้างแบบจำลองเชิงอรรถศาสตร์ และ 4) กระบวนการเปรียบเทียบผลการจำแนกการใช้ประโยชน์ที่ดินและสิ่งปกคลุมดิน ผลลัพธ์ของการศึกษาพบว่า แบบจำลองเชิงอรรถศาสตร์ที่ได้ประกอบด้วย ค่าการสะท้อนในแต่ละแบนด์ ค่าดัชนีพืชพรรณและลายผิว และค่าความถูกต้องโดยรวมและสัมประสิทธิ์แคปปา 84.31 และ 0.80 ตามลำดับ ทั้งนี้พบว่าผลการจำแนกด้วยภาพถ่ายดาวเทียม Landsat8 มีข้อจำกัดในการจำแนกเมืองได้เพียงบางส่วน ซึ่งเป็นผลจากความละเอียดเชิงพื้นที่ (Spatial Resolution) โดยแบบจำลองเชิงอรรถศาสตร์นี้ทำให้เห็นถึงความสัมพันธ์ของรูปแบบการใช้ที่ดินที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว ผสมผสานกับเทคโนโลยีด้านการสำรวจของภาพถ่ายจากดาวเทียม และโปรแกรมสำเร็จรูปเพื่อการจำแนกการใช้ที่ดิน ที่มีความสามารถในการคำนวณทางคณิตศาสตร์เพื่อจำลองประสบการณ์ผู้แปลตีความภาพจากองค์ประกอบการแปลตีความภาพ ให้มีความแม่นยำและสามารถสร้างสารสนเทศเพื่อการตัดสินใจในกรณีเร่งด่วนของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องด้วยข้อมูลที่เผยแพร่สาธารณะและเข้าถึงได้โดยไม่มีค่าใช้จ่าย
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารพิกุล ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสาร ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารพิกุล ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารพิกุล หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใด ๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักอักษรจากวารสารพิกุล ก่อนเท่านั้น
References
กิตติพล มงคลงาม และกานต์ ชื่นศิริชัยมงคล. (2558). การประยุกต์ระบบสารสนเทศทางภูมิศาสตร์เพื่อคาดการณ์พื้นที่เสี่ยงภัยน้ำท่วม กรณีศึกษา : ลุ่มน้ำปิงตอนบน. การประชุมวิชาการนิสิตนักศึกษาภูมิศาสตร์และภูมิสารสนเทศแห่งประเทศไทย ครั้งที่ 8, 25-26 ธันวาคม 2558; 1-9.
ชรัตน์ มงคลสวัสดิ์ และวาสนา พุฒกลาง. การประกอบแบบจำลองเชิงพื้นที่สำหรับประเมินความเหมาะสมของที่ดินสำหรับปลูกยางพารา ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. เอกสารการประชุมวิชาการเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศแห่งชาติ ประจำปี 2553. กรุงเทพมหานคร.
ศิวา แก้วปลั่ง โกวิทย์ และเนติ ศรีหานู. (2553). การวิเคราะห์เชิงพื้นที่และการตัดสินใจหลายเกณฑ์สำหรับการเลือกที่ฝังกลบขยะในพื้นที่เมือง. การประชุมวิชาการ เทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศแห่งชาติ ประจำปี 2553. 15-17 ธันวาคม 2553; นนทบุรี.
สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร. (2553). มันสำปะหลัง. เข้าถึงจาก http://www.oae.go.th/oaenew/OAE/
อุดมลักษณ์ มั่งคง สุระ พัฒนเกียรติ และปกรณ์ สุวานิช. (2553). การจำแนกพื้นที่ที่เหมาะสมสำหรับปลูกพืชทดแทนพลังงานโดยใช้ระบบภูมิสารสนเทศ จังหวัดกาญจนบุรี ประเทศไทย. เอกสารประกอบการประชุมวิชาการเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศแห่งชาติ ประจำปี 2553. 15-17 ธันวาคม 2553; นนทบุรี.
Auger, A., and Barrière, C. (2010). Probing semantic relations : exploration and identification in specialized texts. John Benjamins Publishing.
Björk, A. and Skånes, H. (2016). The Need for Awareness of Semantic Plasticity in International Harmonization of Geographical Information: Seen from a Nordic Forest Classification Perspective. In Land Use and Land Cover Semantics: Principles, Best Practices, and Prospects (1st ed.). CRC Press.
Fitzpatrick-Lins, K. (1981). Comparison of sampling procedures and data analysis for a land-use and land cover map. Photogrammetric Engineering and Remote Sensing. 47(3): 343–351.
Kokla,M.; Baglatzi, A. and Marinos Kavouras, M. (2016). Eliciting and Formalizing the Intricate Semantics of Land Use and Land Cover Class Definitions. In land use and land cover semantics; Principles, Best Practices, and Prospects. CRC Press.
Mörtberg, E.; Karlsson, A. Fyring, C.; Sundin, Ö. (2006). Intensive cognitive-behavioral group treatment (CBGT) of social phobia: A randomized controlled study. Journal of Anxiety Disorders. 20(5), 646-660