การศึกษาแนวทางการพัฒนากระบวนการเป็นเมืองอย่างยั่งยืนขององค์การบริหารส่วนตำบลนครสวรรค์ตก จังหวัดนครสวรรค์
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัญหาและหาแนวทางการพัฒนากระบวนการเป็นเมืองอย่างยั่งยืนขององค์การบริหารส่วนตำบลนครสวรรค์ตก ผู้ให้ข้อมูลหลักในการศึกษาครั้งนี้ ได้แก่ ผู้นำชุมชน จำนวน 10 ตัวแทนประชาชนแต่ละหมู่ 10 คน ตัวแทนภาคเอกชน 10 คน นักวิชาการ 10 คน โดยใช้การสัมภาษณ์และการประชุมกลุ่ม เป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล และวิเคราะห์ผลโดยการวิเคราะห์เนื้อหาแบบอุปนัย ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ คือ 1. ปัญหากระบวนการเป็นเมืองในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลนครสวรรค์ตก ได้แก่ 1.1) ปัญหาการมีส่วนร่วมในการวางแผนพัฒนาเมือง 1.2) เป้าหมายของการพัฒนาพื้นที่ไม่ชัดเจน 1.3) การบริหารเมืองยังไม่มุ่งเน้นประสิทธิภาพครอบคลุมทุกด้าน 1.4) ปัญหาการบูรณาการกับหน่วยงานในการพัฒนาเมือง 1.5) งบประมาณไม่สมดุลกับการพัฒนาเมือง 1.6) การติดตามการพัฒนาเมืองยังไม่ต่อเนื่อง และ 2. แนวทางการพัฒนากระบวนการเป็นเมืองขององค์การบริหารส่วนตำบลนครสวรรค์ตก ได้แก่ 2.1) แนวทางจัดทำยุทธศาสตร์การพัฒนาเมืองแบบมีส่วนร่วม 2.2) แนวทางวางเป้าหมายในเชิงพื้นที่ของท้องถิ่น 2.3) แนวทางการสร้างระบบธรรมาภิบาลในการจัดการเมืองของท้องถิ่น 2.4) แนวทางการบูรณาการหน่วยงาน ในองค์การปกครองส่วนท้องถิ่นกับภาคีเครือข่ายในการพัฒนาเมือง 2.5) แนวทางการจัดการงบประมาณในท้องถิ่นสู่การพัฒนาเมือง และ 2.6) แนวทางการติดตามผลและสะท้อนข้อมูลกลับโดยการมีส่วนร่วมของท้องถิ่นในการพัฒนาเมือง
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารพิกุล ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสาร ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารพิกุล ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารพิกุล หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใด ๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักอักษรจากวารสารพิกุล ก่อนเท่านั้น
References
กุลธิดา จันทร์เจริญ. (2560). เส้นทางการพัฒนาพื้นที่สุขภาวะเขตเมือง. กรุงเทพฯ: พี เอ ลิฟวิ่งการพิมพ์.
กุลธิดา จันทร์เจริญ และคณะ. (2556). การศึกษาบริบทพื้นที่ชุมชนเมืองเพื่อการพัฒนาพื้นที่สุขภาวะ เขตภาษีเจริญ กรุงเทพมหานคร. กรุงเทพฯ: ศูนย์วิจัยเพื่อพัฒนาชุมชน มหาวิทยาลัยสยาม.
ดารณี ถวิลพิพัฒน์กุล. (2544). กระบวนการเป็นเมืองกับการเปลี่ยนแปลงทางสังคมในประเทศกำลังพัฒนา. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
จารุวรรณ ประวันเน. (2564). กระบวนการเปลี่ยนแปลงสู่ความเป็นเมืองอัจฉริยะ : กรณีศึกษาเทศบาลนครขอนแก่น. มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.
สุภางค์ จันทวานิช. (2553). วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ. (พิมพ์ครั้งที่ 18). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม. (2564). แผนแม่บทบูรณาการจัดการความหลากหลายทางชีวภาพ พ.ศ. 2558-2564. ออนไลน์ เข้าถึงใน: https://chm-thai.onep.go.th/?page_id=789. สืบค้นเมื่อ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2566.
สำนักงานบริหารการทะเบียนกรมการปกครอง. (2566). ออนไลน์ เข้าถึงใน https://stat.bora.dopa.go.th/. สืบค้นเมื่อ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2566.
สำนักงานพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2566). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 13 พ.ศ. 2566-2570. ออนไลน์ เข้าถึงใน https://www.nesdc.go.th/main.php?filename=develop_issue. สืบค้นเมื่อ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2566.
Hawley, Amos H. (1981). Urban Society: An Ecological Approach. New York: John Wiley & Son.