แนวทางการพัฒนาคุณภาพงานต่อการปฏิบัติของหน่วยงานตรวจสอบภายในที่มีผลต่อหน่วยรับตรวจ
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสำรวจความพึงพอใจของหน่วยรับตรวจที่มีต่อการปฏิบัติงานของหน่วยตรวจสอบภายใน และเปรียบเทียบระดับความพึงพอใจของหน่วยรับตรวจที่มีต่อการปฏิบัติงานตรวจสอบภายใน กลุ่มตัวอย่างที่ทำการศึกษาในงานวิจัยครั้งนี้ได้มาโดยการเลือกแบบเฉพาะเจาะจงคือ หน่วยงานภายในมหาวิทยาราชภัฏกำแพงเพชร จำนวน 15 หน่วยงาน ผลการศึกษามีดังนี้ ผลการเปรียบเทียบด้านการปฏิบัติงานตรวจสอบภายใน ปี 2561-2563 พบว่า ปี 2562 มีระดับความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด รองลงมาคือ ปี 2563 และ ปี 2561 มีระดับความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก ผลการเปรียบเทียบด้านเจ้าหน้าที่ตรวจสอบภายในที่ให้บริการ ปี 2561-2563 พบว่า ปี 2562 มีระดับความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด รองลงมาคือ ปี 2563 มีระดับความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด และ ปี 2561 มีระดับความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก ผลการเปรียบเทียบด้านการรายงานผลการตรวจสอบ ปี 2561-2563 พบว่า ปี 2562 มีระดับความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด รองลงมาคือ ปี 2563 และ ปี 2561 มีระดับความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก ผลการเปรียบเทียบด้านการให้คำปรึกษา ปี 2561-2563 พบว่า ปี 2562 มีระดับความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด รองลงมาคือ ปี 2563 มีระดับความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด และ ปี 2561 มีระดับความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารพิกุล ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสาร ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารพิกุล ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารพิกุล หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใด ๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักอักษรจากวารสารพิกุล ก่อนเท่านั้น
References
กานต์ เสกขุนทด. (2560). แนวทางการพัฒนาระบบตรวจสอบภายใน ในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในจังหวัดฉะเชิงเทรา, วารสารราชนครินทร์ , 53-62.
กรมบัญชีกลาง. (2549). กระบวนการตรวจสอบภายใน. (ออนไลน์). เข้าถึง ได้จากhttp://www.audit.moi.go.th/pdf_new/14-2pdf. สืบค้นเมื่อวันที่ 28 มกราคม พ.ศ.2564
กลุ่มงานสถิติวิเคราะห์ สำนักแผนงาน. (2562). รายงานการสำรวจความพึงพอใจและความไม่พึงพอใจ ของผู้ใช้บริการท่าเรือโดยสารริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา. (รายงานผลการวิจัย). กรมเจ้าท่า.
กลุ่มงานอำนวยการ. (2562). การศึกษาความพึงพอใจของผู้รับบริการและผู้มีส่วนได้เสียในการบริหารงานและการจัดการของสำนักงานเขตพื้นที่ประถมศึกษามหาสารคาม เขต 1. (รายงานผลการวิจัย). กระทรวงศึกษาธิการ.
จิรพงษ์ สุทธะมุสิก. (2556). ความพึงพอใจของประชาชนต่อการให้บริการของเทศบาลตำบลละอุ่น จังหวัดระนอง. (รายงานผลการวิจัย). หลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต.มหาวิทยาลัย บูรพา.
พรชัย ขาวสบาย. (2560). แนวทางการพัฒนาระบบการตรวจสอบภายในของกรมราชองครักษ์ ลักษณะวิชา : การทหาร. (รายงานผลการวิจัย). กรมราชองครักษ์.
เพ็ญนภา จรัสพันธ์. (2557). ความพึงพอใจของลูกค้าต่อคุณภาพการให้บริการของศูนย์บริการลูกค้า จีเนทโมบายเซอร์วิส เซ็นเตอร์
จันทบุรี. (รายงานผลการวิจัย). หลักสูตรรัฐประศาสนศาสตร มหาบัณฑิต.มหาวิทยาลัยบูรพา.
ภัทรกร มิ่งขวัญ. (2559). การศึกษาความพึงพอใจของครูที่มีต่อการบริหารงานโรงเรียนขนาดเล็กจังหวัดนครสวรรค์. (รายงานผลการวิจัย). หลักสูตรครุศาสตรมหาบัณฑิต.มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์.
รสสุคนธ์ วาริทสกุล และคณะ. (2560). การศึกษาความพึงพอใจของเครือข่ายระดับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นต่อการให้การสนับสนุนของสถาบัน การแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ. วารสารพยาบาลทหารบก. 16(3). 42-50.
รพงษ์ คงสัตย์ และธีรชาติ ธรรมวงค์. (2558). การหาค่าความเที่ยงตรงของแบบสอบถาม (IOC). มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย