การลดอาการถอนนิโคตินและเพิ่มการผ่อนคลายด้วยโปรแกรมการนวดกดจุดสะท้อน เท้าร่วมกับการใช้น้ำามันหอมระเหยไทยในการเลิกบุหร
Main Article Content
บทคัดย่อ
นิโคตินเป็นสารประกอบในบุหรี่ที่ทำให้เกิดการเสพติด เมื่อหยุดสูบบุหรี่จะเกิดอาการถอนนิโคตินและความเครียด
การวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาโปรแกรมการนวดกดจุดสะท้อนเท้าร่วมกับการใช้น้ำมันหอมระเหยไทยเพื่อลด
อาการถอนนิโคตินและเพิ่มการผ่อนคลายในการเลิกบุหรี่ และเปรียบเทียบอาการถอนนิโคติน กับกลุ่มเปรียบเทียบที่ใช้
หมากฝรั่งนิโคติน กลุ่มตัวอย่างเป็นอาสาสมัครผู้เลิกบุหรี่ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลคลองโคน เพศชาย จำนวน
60คน สุ่มเข้ากลุ่มทดลองและกลุ่มเปรียบเทียบ กลุ่มละ 30คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ มาตรวัดอาการถอน
นิโคตินด้านจิตวิทยา และแบบวัดด้านสมรรถนะการจำสัญลักษณ์ตัวเลข เครื่องวัดอัตราการเต้นของหัวใจ โปรแกรมการ
นวดกดจุดสะท้อนเท้าร่วมกับการใช้น้ำมันหอมระเหยไทย และหมากฝรั่งนิโคติน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ MANOVA
ผลการวิจัยปรากฏดังนี้
1) โปรแกรมการนวดกดจุดสะท้อนเท้าร่วมกับการใช้น้ำมันหอมระเหยไทย ประกอบด้วย ตำแหน่งจุดสะท้อน
เท้า 16 ตำแหน่ง และน้ำมันหอมระเหย 2 ชนิด ได้แก่ น้ำมันหอมระเหยมะกรูด และกระดังงา ใช้เวลานวดครั้งละ
40 นาที วันละ 1ครั้ง
2) ผลการเปรียบเทียบระหว่างก่อนกับหลังการทดลองในกลุ่มที่ใช้โปรแกรมการนวดฯ ปรากฏว่า สามารถลด
อาการถอนนิโคตินด้านจิตวิทยาและเพิ่มสมรรถนะการจำสัญลักษณ์ตัวเลข รวมทั้งสามารถเพิ่มการผ่อนคลายหลัง
การนวดในแต่ละวันได้ (p<.05)
3) ผลการเปรียบเทียบระหว่างกลุ่มที่ใช้โปรแกรมการนวดฯ กับกลุ่มที่ใช้หมากฝรั่งนิโคติน ปรากฏว่า กลุ่มที่ใช้
หมากฝรั่งนิโคตินสามารถลดอาการถอนนิโคตินได้ดีกว่าในช่วงหลังเลิกบุหรี่วันที่ 2และ 3แต่ไม่มีความแตกต่างกัน
ในช่วงหลังเลิกบุหรี่วันที่ 4
สรุปได้ว่า โปรแกรมการนวดกดจุดสะท้อนเท้าร่วมกับการใช้น้ำมันหอมระเหยไทย สามารถลดอาการถอนนิโคติน
ได้ไม่แตกต่างกับการใช้หมากฝรั่งนิโคติน จึงอาจนำไปใช้เป็นวิธีทางเลือกในการลดอาการถอนนิโคตินและเพิ่มการ
ผ่อนคลายในการเลิกบุหรี่ได
Article Details
References
วารสารเกษตรพระจอมเกล้า, 30(2), 78-85.
สำนักควบคุมการบริโภคยาสูบ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข และศูนย์วิจัยและจัดการความรู้เพื่อการควบคุม
ยาสูบ มหาวิทยาลัยมหิดล (2559). สรุปสถานการณ์เฝ้าระวังเพื่อควบคุมการบริโภคยาสูบของประเทศไทย พ.ศ.
2559. พิมพ์ครั้งที่ 1กรุงเทพฯ, เจริญดีมั่นคงการพิมพ์.
สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (2557). สรุปสำหรับผู้บริหาร การสำรวจพฤติกรรมการสูบบุหรี่และการดื่มสุราของประชากร
พ.ศ. 2557. เข้าถึงได้จาก https://www.msociety.go.th/article_attach/17336/13207.pdf
Barbara. K., & Kevin K. (2005). The complete guide to foot reflexology, (3nd ed.). London: Harper Collins.
Cropley, M., Ussher, M., & Charitou, E. (2007). Acute effects of a guided relaxation routine (body scan)
on tobacco withdrawal symptoms and cravings in abstinent smokers. Addiction, 102(6), 989-993.
Delis, D.C., Lucus, J.A., & Kopelman, M.D. (2000). Memory In: Fogel B.S., Schiffer R.B., & Rao S.M.
(Eds), Synopsis of neuropsychiatry. Philadelphia: Lippincott Williams & Wilkins.
Edmonds, W. A., & Kennedy, T. D. (2013). An Applied Guide to Research Designs: Quantitative, qualitative,
and mixed methods. Thousand Oaks, California, Sage.
Heishman, S. J., Boas, Z. P., Hager, M. C., Taylor, R. C., Singleton, E. G., & Moolchan, E. T. (2006). Effect
of tobacco craving cues on memory encoding and retrieval in smokers. Addictive behaviors,
31(7), 1116-1121.
McMorris, T., Collard, K., Corbett, J., Dicks, M., & Swain, J. P. (2008). A test of the catecholamines hypothesis
for an acute exercise–cognition interaction. Pharmacology Biochemistry and Behavior, 89(1), 106-115.
Parsons, T. (2004). An Holistic Guide to Massage: From beginner to advance level and Beyond. London:
Thomson Learning.
Rankin-Box, D. (2009). MRI research sheds new light on reflexology. Complementary Therapies in Clinical
Practice, 15(2), 119.
Schneider, S., Vogt, T., Frysch, J., Guardiera, P., & Strüder, H. K. (2009). School sport-a neurophysiological
approach. Neuroscience letters, 467(2), 131-134.
Steptoe, A., & Ussher, M. (2006). Smoking, cortisol and nicotine. International Journal of Psychophysiology,
59(3), 228-235.
Weinberger, A. H., Krishnan-Sarin, S., Mazure, C. M., & McKee, S. A. (2008). Relationship of perceived risks
of smoking cessation to symptoms of withdrawal, craving, and depression during short-term smoking
abstinence. Addictive behaviors, 33(7), 960-963.
World Health Organization (WHO). (2016). Get ready for plain packaging. Retrieved from http://www.
who.int/mediacentre/ news/releases/2016/worldno-tobacco-day/en/