การพัฒนาเกณฑ์การประเมินการจัดการธุรกิจของกลุ่มธุรกิจชุมชนแม่บ้านเกษตรกร

Main Article Content

วีระ ศิลปรัตนาภรณ์
เสรี ชัดแช้ม
อุทัยพร ไก่แก้ว

บทคัดย่อ

การจัดการธุรกิจชุมชนเป็นกระบวนการดำเนินกิจกรรมทางธุรกิจโดยอาศัยปัจจัยการผลิตที่มีอยู่ในท้องถิ่นเป็นหลัก เป็นกิจกรรมการผลิตที่เกื้อกูลเหมาะสมต่อวิถีชีวิตและระบบนิเวศน์ของแต่ละชุมชน การวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาเกณฑ์การประเมินการจัดการธุรกิจของกลุ่มธุรกิจชุมชนแม่บ้านเกษตรกรด้วยเทคนิคเดลฟายแบบอิเล็กทรอนิกส์ และจัดลำดับด้านและตัวบ่งชี้ด้วยกระบวนการลำดับชั้นเชิงวิเคราะห์ 2) พัฒนาโปรแกรมการประเมินแบบออนไลน์ และ 3) เปรียบเทียบผลการประเมินการจัดการธุรกิจของกลุ่มธุรกิจชุมชนแม่บ้านเกษตรกรระหว่างกลุ่มธุรกิจชุมชนแม่บ้านเกษตรกรทั่วไปกับกลุ่มธุรกิจชุมชนแม่บ้านเกษตรกรที่ได้รับรางวัล ด้วยสถิติทดสอบแมน-วิทนีย์ ยู ผลการวิจัยปรากฏว่า
1. เกณฑ์การประเมินการจัดการธุรกิจของกลุ่มธุรกิจชุมชนแม่บ้านเกษตรกร ประกอบด้วย 7 ด้าน (22 ตัวบ่งชี้) ได้แก่ 1) ด้านลูกค้า 2) ด้านการจัดการบัญชีการเงิน 3) ด้านการผลิต 4) ด้านการเงิน 5) ด้านการจัดการทรัพยากรบุคคล 6) ด้านการจัดการความรู้และข้อมูลทางธุรกิจ และ 7) ด้านผู้นำกลุ่มธุรกิจชุมชนและเครือข่าย สามารถจำแนกระดับการจัดการธุรกิจของกลุ่มธุรกิจชุมชนแม่บ้านเกษตรกร ออกเป็น 5 ระดับ ตั้งแต่ระดับที่ 1 (ควรปรับปรุงอย่างเร่งด่วน) ถึงระดับที่ 5 (ดีมาก)
2. ผลการประเมินโปรแกรมการประเมินการจัดการธุรกิจของกลุ่มธุรกิจชุมชนแม่บ้านเกษตรกรแบบออนไลน์ที่พัฒนาขึ้น มีความเหมาะสมที่จะนำไปใช้งานได้
3. ผลการจัดการธุรกิจของกลุ่มธุรกิจชุมชนแม่บ้านเกษตรกรระหว่างกลุ่มธุรกิจชุมชนแม่บ้านเกษตรกรทั่วไปกับกลุ่มธุรกิจชุมชนแม่บ้านเกษตรกรที่ได้รับรางวัล ปรากฏว่า กลุ่มธุรกิจชุมชนแม่บ้านเกษตรกรที่ได้รับรางวัลมีการจัดการธุรกิจดีกว่ากลุ่มธุรกิจชุมชนแม่บ้านเกษตรกรทั่วไป อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ซึ่งชี้ให้เห็นว่า เกณฑ์การประเมินการจัดการธุรกิจของกลุ่มธุรกิจชุมชนแม่บ้านเกษตรกรมีคุณภาพดี เชื่อถือได้ และมีความตรงเชิงสภาพ

Article Details

บท
บทความวิจัย (Research Articles)

References

กรมการพัฒนาชุมชน. (2560). แนวทางการดำเนินงานสานพลังประชารัฐ. กรุงเทพฯ: กระทรวงมหาดไทย.
คณะทำงานการพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากและประชารัฐ. (2559). สานพลังประชารัฐ. กรุงเทพฯ: อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง.
จันทนา พงศ์สิทธิกาญจนา. (2556). ตัวแบบการจัดการเพื่อการบรรลุยุทธศาสตร์วิสาหกิจชุมชน จังหวัดนครปฐม. วารสารดุษฎีบัณฑิตทางสังคมศาสตร์, 3(2), 8-21.
แดน กุลรูป และกาญจนา ธีระรัตนวิเชียร. (2558). การพัฒนาระบบสารสนเทศทางการบัญชี: กรณีศึกษากลุ่มข้าวกล้องงอกเพื่อสุขภาพ ตำบลไหล่หิน อำเภอเกาะคา จังหวัดลำปาง. วารสารวิทยาการจัดการสมัยใหม่, 8(2), 153-169.
นภาภรณ์ สมอาสา และวรรณภา นิวาสะวัต. (2559). ความสำเร็จของการพัฒนาศักยภาพกลุ่มอาชีพปลาส้ม. วารสารการบริหารท้องถิ่น, 4(3), 40-51.
บุญฑวรรณ วิงวอน, มยุรี พรหมเทพ และอัจฉรา เมฆสุวรรณ. (2557). สภาพการดำเนินงานและแนวทางการยกระดับภูมิปัญญาท้องถิ่นด้วยนวัตกรรมผลิตภัณฑ์เชิงสร้างสรรค์ เพื่อเพิ่มมูลค่ากิจการวิสาหกิจ ขนาดย่อม อำเภอห้างฉัตร จังหวัดลำปาง. ใน การประชุมวิชาการระดับชาติ “นเรศวรวิจัยครั้งที่ 10”(หน้า 1-10). พิษณุโลก: คณะบริหารธุรกิจเศรษฐศาสตร์และการสื่อสาร มหาวิทยาลัยนเรศวร.
พัชรา วงศ์แสงเทียน. (2559). การพัฒนารูปแบบการจัดการตลาดกับภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านหัตถกรรมการจักสานไม้ไผ่เพื่อสร้างความเข้มแข็งของชุมชนดงเดือย อำเภอกงไกรลาศ จังหวัดสุโขทัย. ใน รายงานการประชุมวิชาการและนำเสนอผลการวิจัยระดับชาติและนานาชาติ ครั้งที่ 7 (หน้า 1447-1462). กรุงเทพฯ: สถาบันวิจัยและพัฒนาแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
วาสนา สูนสิทธิ์ และเจตน์ ธนวัฒน์. (2559). ความสำเร็จในการดำเนินงานของกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรอู่ทองพัฒนา. วารสารการบริหารท้องถิ่น, 4(3), 94-139.
สุมามาลย์ ปานคำ และเสรี ชัดแช้ม. (2560). การพัฒนาวิธีการวัดฉันทามติของกลุ่มผู้เชี่ยวชาญโดยใช้ทฤษฎีรัฟเซตในเทคนิคเดลฟายแบบอิเล็กทรอนิกส์. วิทยาการวิจัยและวิทยาการปัญญา, 14(2), 87-101.
สุธิดา แจ้งประจักษ์. (2559). การจัดการวิสาหกิจชุมชน: กรณีศึกษากลุ่มซอสพริกป้าพุ ตำบลบางพระ อำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี.วารสารวิชาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
มหาวิทยาลัยบูรพา, 24(45), 43-63.
อภิสรา ชุ่มจิตร, นิศา ชัชกุล และเครือวัลย์ ชัชกุล. (2558). การพัฒนาศักยภาพการจัดการธุรกิจชุมชน: กรณีศึกษาตำบลคลองเคียน อำเภอตะกั่วทุ่ง จังหวัดพังงา. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต, 10(2), 94-139.
Edmonds, W. A. & Kennedy, T. D. (2013). An applied reference guide to research designs: quantitative, qualitative, and mixed methods.Thousand Oaks: Sage.
Hsu, C. C., & Sandford, B. A. (2007). The Delphi technique: making sense of consensus. Practical Assessment, Research & Evaluation, 12(10), 1-8.
Kaplan, R. S., & Norton, D. P. (2007). Using the balanced scorecard as a strategic management system. Harvard Business Review, 85(7-8), 35-61.
Kung, G. K. (2011). Factors influencing SMEs access to finance: A case study of Westland Division, Kenya. Munich Personal RePEc Archive. Retrieved 26 April
12, 2016, from https://mpra.ub.uni-muenchen.de/66633/
Lechner, C., & Gudmundsson, S. V. (2014). Entrepreneurial orientation, firm strategy and small firm performance. International Small Business Journal, 32(1), 36-60.
Njera, D., Chonde, C., Kambewa, D., Dzanja, J., & Kanyambazinthu, D. (2013). What influences capacity of fish farmer organisations? Experiences of CARP fish Farmer organisations in Dowa and Mchinji district in central Malawi. In African Crop Science Conference Proceedings, 6(11), 699-705.
Oyeku, O. M., Oduyoye, O., Asikhia, O., Kabuoh, M., & Elemo, G. N. (2014). On Entrepreneurial Success of Small and Medium Enterprises (SMEs): A Conceptual
and Theoretical Framework. Journal of Economics and Sustainable Development, 5(16), 14-23.
Polit, D. F., Beck, C. T., & Owen, S. V. (2007) Focus on research methods: Is the CVI an acceptable indicator of content validity? appraisal and recommentations.
Research in Nursing and Health, 30(1), 459-467.
Porter, M. E. (1991). Towards a dynamic theory of strategy. Strategic Management Journal, 12(2), 95-117.
Prybutok, V., Zhang, X., & Peak, D. (2011). Assessing the effectiveness of the Malcolm Baldrige National Quality Award model with municipal government.
Socio-Economic Planning Sciences, 45(3), 118-129.
Raya, A. B. (2016). The Influence of Social Network Structure on the Farmer Group Participation in Indonesia. Asian Social Science, 12(3), 119-129.
Sonam, T., & Martwanna, N. (2012). Performance of smallholder dairy farmers groups in the east and west central regions of Bhutan: Members perspective. Journal of Agricultural Extension and Rural Development, 4(1), 23-29.
Tallam, S. J. (2015). The process of farmer group development and its influence on the effectiveness of collective action: the case of Bungoma County
(Kenya) and Kapchorwa district (Uganda). (Doctoral dissertation, University of Nairobi). Animal Production Science, 40(4), 631-642.