การวิเคราะห์ตัวแปรที่เกี่ยวข้องกับการดําเนินการวิจัยของมหาวิทยาลัยวิจัยไทย โดยประยุกต์ใช้เทคนิคดุลยภาพ

Main Article Content

เพ็ญศรี ทิพยสุวรรณกุล

Abstract

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อนําเสนอผลการวิเคราะห์ตัวแปรที่เกี่ยวข้องกับการดําเนินการวิจัยของมหาวิทยาลัยวิจัยใน ประเทศไทยโดยประยุกต์ใช้เทคนิคดุลยภาพ ขั้นตอนการวิเคราะห์เริ่มจากการศึกษาเอกสารที่เกี่ยวข้องสัมภาษณ์ผู้บริหารมหาวิทยาลัยวิจัย ที่กำกับดูแลงานวิจัยเพื่อวิเคราะห์ เนื้อหาสรุปสาระเกี่ยวกับกลยุทธเป้าหมาย ลักษณะการด้านเน้นงานวิจัย และการประเมินผลการดำเนินงาน ของมหาวิทยาลัยวิจัย ตามมุมมองแต่ละด้านของเทคนิคดุลยภาพ จากนั้นกําหนดตัวแปรที่เกี่ยวข้องกับการดําเนินงานด้านการวิจัยในแต่ละ มุมมอง ตรวจสอบความเหมาะสมของตัวแปรที่ กำหนดโดยผู้ทรงคุณวุฒิวิเคราะห์ค่าดัชนีความสอดคล้องของข้อมูล ผลการตรวจสอบตัวแปร ที่มีค่าดัชนีความสอดคล้องตั้งแต่ 0.5 ขึ้นไป ถือว่ามีความเหมาะสม ผลการวิเคราะห์สรุปได้ว่า ตัวแปรที่เกี่ยวข้องกับการดําเนินการวิจัยของมหาวิทยาลัยวิจัยไทยมี 60 ตัวแปร จําแนกเป็นมุมมอง ด้านลูกค้า 20 ตัวแปร ด้านการเรียนรู้และการพัฒนา 8 ตัวแปร ด้านกระบวนการภายใน 28 ตัวแปร และ ด้านการเงิน 4 ตัวแปร

 

An Analysis of Variables Related to the Research Proceedings of Thailand’s Research Universities by Applying Balanced Scorecard Technique

Pensri Tipsuwannakul

This research article aims to present the results of an analysis of variables related to the research proceedings of Thailand’s research universities by applying balanced scorecard technique. At the beginning, the examination of relevant documents and the interviews with the university administrators supervising the research affairs have been pursued. This is to analyze the contents; to draw the conclusions on the strategies, targets, and characteristics of research proceedings; and to assess research universities’ performance based on each aspect of balanced scorecard technique. Then, the variables related to each aspect of research proceeding have been determined, while the suitability of those variables are validated by senior experts. Also, Index of Item Objective Congruence (IOC) has been analyzed, whereas an IOC of 0.5 is regarded as ‘suitable’. According to the analysis, it can be concluded that there are 60 variables related to the research proceedings. They can thus be categorized under the following categories: Customer Perspective (20 variables), Learning and Growth Perspective (8 variables), Internal Process Perspective (28 variables), and Financial Perspective (4 variables).

Article Details

Section
บทความวิจัย (Research Articles)