การพัฒนาโมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุความสุขส่วนตน ของนักศึกษาระดับปริญญาตรี

Main Article Content

ดรุณี ชิงชัย

Abstract

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาโมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความสุขส่วนตนของนักศึกษา ระดับปริญญาตรี และเพื่อตรวจสอบความสอดคล้องของโมเดลที่พัฒนาขึ้นกับข้อมูลเชิงประจักษ์กลุ่มตัวอย่างเป็นนักศึกษาระดับปริญญาตรี สถาบันอุดมศึกษาของรัฐ ในภาคตะวันออก ปีการศึกษา 2554 จํานวน 560 คน เครื่องมือการวิจัยป์นแบบวัด จํานวน 4 ฉบับ ได้แก่แบบวัด การตระหนักรู้ในตนเอง แบบวัดการกํากับตนเอง แบบวัดการสร้างแรงจูงใจภายในตนเอง และแบบวัดความสุขส่วนตน เครื่องมือมีลักษณะ เป็นมาตราส่วนประมาณค่า 4 ระดับ การวิเคราะห์ข้อมูลใช้โปรแกรม SPSS วิเคราะห์ค่าสถิติพื้นฐาน และวิเคราะห์โมเดลความสัมพันธ์ เชิงสาเหตุใช้โปรแกรม LISREL 8.80

ผลการวิจัยชี้ให้เห็นว่า โมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุความสุขส่วนตนของนักศึกษาระดับปริญญาตรีมีความสอดคล้องกับข้อมูล เชิงประจักษ์อยู่ในเกณฑ์ดีพิจารณาได้จากค่าไค-สแควร์เท่ากับ 27.38 ที่องศาอิสระเท่ากับ 45 มีค่าความน่าจะเป็น เท่ากับ 0.98 ดัชนี GFI เท่ากับ 0.99 ดัชนี AGFI เท่ากับ 0.98 ดัชนี CFI เท่ากับ 1.00 ค่า SRMR เท่ากับ 0.01 และค่า RMSEA เท่ากับ 0.00 ตัวแปรการตระหนักรู้ และกํากับตนเอง และตัวแปรการสร้างแรงจูงใจภายในตนเอง มีอิทธิพลทางตรงต่อความสุขส่วนตนของนักศึกษาระดับปริญญาตรีอย่างมี นัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .01 โดยสามารถร่วมกันทํานายความสุขส่วนตนของนักศึกษาระดับปริญญาตรีได้ร้อยละ 74

 

Development of the Causal Relationship Model of Personal Happiness for Undergraduate Students

Darunee Chingchai

The purpose of this research was to develop and validate the causal relationship model of personal happiness for undergraduate students. The sample consisted of 560 undergraduate students in public Universities in the Eastern Region, academic year 2011. The research instruments were scales on personal happiness, self-awareness, self-regulation, and motivation. The data were analyzed by descriptive statistical analysis through SPSS and the causal relationship model analyzed by LISREL.

It was found that the adjusted model was consistent with empirical data. Goodness of fi t indicators included a chi-square value of 27.38 with 45 degrees of freedom, p=0.98, GFI=0.99, AGFI=0.98, CFI=1.00, SRMR=0.01, and RMSEA= 0.00. Variables with a statistically signifi cant direct effect on personal happiness were self-awareness and self-regulation, and motivation. The variables in model accounted for 74 percent of the variance in personal happiness.

Article Details

Section
บทความวิจัย (Research Articles)