การจัดการเรียนรู้ที่เน้นการสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเองเพื่อพัฒนาความสามารถในการแก้ปัญหาทาง คณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5

Main Article Content

นัยนา ไพจิตต์
คงรัฐ นวลแปง

Abstract

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้ที่เน้นการสร้างองค์ความรู้กับเกณฑ์ 2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ เรื่อง เวกเตอร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้ที่เน้นการสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเองกับเกณฑ์ กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนอัสสัมชัญศรีราชา อําเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี ภาคฤดูร้อน ปีการศึกษา 2557 จํานวน 54 คน ซึ่งได้จากการสุ่มมาหนึ่งห้องเรียน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย แผนการจัดการเรียนรู้ที่เน้นการสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเองจํานวน 6 แผน แบบทดสอบวัดความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ และแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ การวิเคราะห์ข้อมูลใช้การหาค่าเฉลี่ย ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบที (t-test)

ผลการวิจัยปรากฏว่า 1) ความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้ที่เน้นการสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเองสูงกว่าเกณฑ์อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .01 2) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ เรื่อง เวกเตอร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้ที่เน้นการสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเองสูงกว่าเกณฑ์อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .01

 

Learning Activities Based on Constructivism to Develop
Mathematics Problem–Solving Ability of Grade Eleven Students

Naiyana Paijit1 and Kongrat Nualpang2 

1Assumption College Sriracha, Chon Buri, Thailand

2Faculty of Education, Burapha University, Thailand

The purpose of this research was to 1) compare the mathematics problem-solving ability of grade eleven students after they followed the learning activities based onconstructivism with a criterion 2) compare the achievement on a vector algebra test after they followed the learning activities based on constructivism with a criterion. The sample used in this study comprised 45 grade eleven students studying at Assumption Sriracha College in Chon Buri (summer semester of 2014 academic year). These students were randomly selected using cluster sampling. The instruments used for data collection were the six constructivist lesson plans, a mathematics problem-solving test, and an achievement test. Descriptive statistics such as means, standard deviations were computed, and t-test was used to compare pre- and post-test means.

The findings were as follows: 1) The mathematics problem-solving ability of grade eleven students after learning by the use of constructivist lesson plan was significantly higher than the criterion (p < .01). 2) The mathematics achievement scores of grade eleven students after learning by the use of constructivist lesson plan was significantly higher than the criterion (p < .01).

Article Details

Section
บทความวิจัย (Research Articles)