การพัฒนาโปรแกรมการทดสอบแบบปรับเหมาะด้วยคอมพิวเตอร์ สำหรับมาตรวัดความสุขของคนไทย

Main Article Content

สุชาดา สกลกิจรุ่งโรจน์
เสรี ชัดแช้ม
สมพร สุทัศนีย์

Abstract

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาโปรแกรมการทดสอบแบบปรับเหมาะด้วยคอมพิวเตอร์ สำหรับ มาตรวัดความสุขของคนไทย โดยใช้หลักการของวงจรการพัฒนาระบบเป็นแนวทางในการพัฒนาโปรแกรม คลังข้อ คำถามสำหรับมาตรวัดความสุขของคนไทยพัฒนาขึ้นตามทฤษฎีความอยู่ดีมีสุขเชิงอัตวิสัย ซึ่งจัดทำขึ้นในงานวิจัย ก่อนหน้านี้ ผู้วิจัยวิเคราะห์และออกแบบโปรแกรม ด้วยการสร้างแบบจำลองกระบวนการและแบบจำลองข้อมูล รวมทั้งกำหนดรายละเอียดองค์ประกอบของการทดสอบแบบปรับเหมาะด้วยคอมพิวเตอร์ ดังนี้ 1) คัดเลือกข้อ คำถามเริ่มต้นที่ให้ค่าสารสนเทศสูงที่สุด ณ ตำแหน่งค่าคุณลักษณะแฝงเริ่มต้นเท่ากับ 0.0 2) ประมาณค่า คุณลักษณะแฝงของผู้ทดสอบ ด้วยวิธีการ Expected a Posteriori (EAP) 3) คัดเลือกข้อคำถามข้อถัดไป โดยใช้ ผลการประมาณค่าคุณลักษณะแฝงที่ได้จากกระบวนการก่อนหน้ามาเป็นข้อมูลสำหรับการเลือกข้อคำถามข้อถัดไป ที่ให้ค่าสารสนเทศสูงที่สุด ณ ตำแหน่งค่าคุณลักษณะแฝงที่ประมาณค่าได้ และ 4) ยุติการทดสอบ โดยกำหนด เกณฑ์การยุติการทดสอบเมื่อความคลาดเคลื่อนมาตรฐานของการประมาณค่าคุณลักษณะแฝงมีค่าต่ำกว่า 0.30 หรือข้อคำถามหมดคลัง โปรแกรมการทดสอบแบบปรับเหมาะด้วยคอมพิวเตอร์ สำหรับมาตรวัดความสุขของคน ไทย สร้างขึ้นในรูปแบบเว็บแอปพลิเคชัน ใช้ซอฟท์แวร์MySQL เป็นระบบในการจัดการฐานข้อมูล ใช้ภาษา PHP ในการเขียนโปรแกรม แล้วจึงทดสอบระบบโดยใช้เทคนิคการทดสอบแบบกล่องดำ จากนั้นจึงจัดทำคู่มือการใช้งาน แล้วนำโปรแกรมที่พัฒนาขึ้นไปทดลองใช้เพื่อประเมินผลโปรแกรมโดยผู้เชี่ยวชาญและผู้ใช้งาน ผลการวิจัยปรากฏว่า โปรแกรมการทดสอบแบบปรับเหมาะด้วยคอมพิวเตอร์ สำหรับมาตรวัดความสุข ของคน ไทย สามารถเข้าใช้งาน ได้ทุก ที่ทุก เวลาเมื่อ มีก ารเชื่อมต่ออิน เท อร์เน็ต ผ่าน ท างเว็บ ไซต์ http://www.thscat.com/Test การทดลองใช้และผลการประเมินความเหมาะสมของโปรแกรมโดยผู้เชี่ยวชาญ และผู้ใช้งานแสดงให้เห็นว่า โปรแกรมการทดสอบแบบปรับเหมาะด้วยคอมพิวเตอร์สำหรับมาตรวัดความสุขของ คนไทยเป็นที่ยอมรับของผู้เชี่ยวชาญและผู้ใช้งานเป็นอย่างดี ซึ่งชี้ให้เห็นว่าโปรแกรมมีความเหมาะสมสำหรับการ นำไปใช้เพื่อวัดความสุขของคนไทย

 

The Development of Computerized Adaptive Testing Program for Thai Happiness Scale

Suchada Sakolkijrungroj, Seree Chadcham and M.R. Somporn Sudhasani

Centre for Applied Measurement College of Research Methodology and Cognitive Science Burapha University, Thailand

This study was aimed to develop the computerized adaptive testing (CAT) program for Thai Happiness Scale based on System Development Life Cycle (SDLC). The item bank used in this present study derived from the previous research which constructed the item bank using the Subjective Well-Being Theory. The software analysis and design was conducted. The process model and the data model were created. The components of CAT were determined as followed: 1) The first item was selected using the maximum information item at average theta (0.0) 2 ) The person parameter was estimated using the Expected a Posteriori (EAP) method 3 ) The next item was selected using the maximum information method, and 4) The testing would be terminated after the standard error of estimation is less than 0.30 or the item bank is run out. The computerized adaptive testing (CAT) program for Thai Happiness Scale was constructed in web application using MySQL as database management program. The program was written in PHP language. The black box testing was done in order to test the system. The user’s manual was created in document format. The program was used to determine the efficiency by experts and users. The results revealed that the computerized adaptive testing for Thai Happiness Scale can assess via website http://www.thscat.com/Test anywhere and anytime whenever the internet was connected.

The result from efficiency evaluation suggest that the computerized adaptive testing program for Thai Happiness Scale was accepted by the experts and the users which indicated that the computerized adaptive testing program for Thai Happiness Scale can be used for measuring the happiness.

Article Details

Section
บทความวิจัย (Research Articles)