ผลการปรึกษารายบุคคลทฤษฎีการปรึกษาเน้นทางออกระยะสั้น ต่อการกำกับอารมณ์ของมารดาวัยร่นุ
Main Article Content
Abstract
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลการปรึกษารายบุคคลทฤษฎีการปรึกษาเน้นทางออกระยะสั้นต่อ การกำกับอารมณ์ของมารดาวัยรุ่น โดยการให้การปรึกษาตามแนวทฤษฎีเน้นทางออกระยะสั้น กลุ่มตัวอย่างเป็น มารดาวัยรุ่นอายุ15-19 ปี มีบุตรคนแรกอายุระหว่าง 1 เดือน ถึง 1 ปี ไม่ได้ทำงาน ไม่มีภาวะความผิดปกติทาง ความคิดและอารมณ์ มารับบริการวางแผนครอบครัว แผนกวางแผนครอบครัว โรงพยาบาลพุทธโสธร จังหวัด ฉะเชิงเทรา ผู้วิจัยคัดเลือกตัวอย่างที่มีคะแนนการกำกับอารมณ์ต่ำกว่าเปอร์เซ็นไทล์ที่ 25 ลงมา จำนวนทั้งหมด 13 คนและสมัครใจเข้าร่วมโครงการ จัดเป็นกลุ่มทดลองกลุ่มเดียวทั้ง 13 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย แบบวัดการกำกับอารมณ์ และโปรแกรมการให้การปรึกษาทฤษฎีเน้นทางออกระยะสั้น ดำเนินการ ทดลองการให้การปรึกษาจำนวน 8 ครั้ง ครั้งละ 45-60 นาที โดยใช้แบบแผนการวิจัยเชิงทดลองแบบสองตัว ประกอบแบบวัดซ้ำหนึ่งตัวประกอบ การรวบรวมข้อมูลแบ่งออกเป็น 3 ระยะ คือ ระยะก่อนการทดลอง ระยะหลัง การทดลอง และระยะติดตามผลการทดลอง วิเคราะห์ความแปรปรวนแบบ 1 กลุ่ม วัดซ้ำในกลุ่มเดียวกัน และ ทดสอบความแตกต่างรายคู่วิธีบอนเฟอร์โรนี่ (Bonferroni Procedure)
ผลการศึกษาปรากฏว่า มารดาวัยรุ่นที่ได้รับการปรึกษาทฤษฎีเน้นทางออกระยะสั้นมีคะแนนการกำกับ อารมณ์ในระยะหลังการทดลอง และในระยะติดตามผลการทดลองสูงกว่าก่อนการทดลอง อย่างมีนัยสำคัญทาง สถิติที่ระดับ .05
The Effect of Individual Solution Focus Brief Therapy on Emotion Regulation of Adolescent Mothers
Thanidawan Wanthaneeyakul and Pennapha Koolnaphadol
Faculty of Education, Burapha University, Thailand
The objective of this research was to study the effect of individual solution focus brief therapy on emotion regulation of adolescent mothers. The sample in this study were adolescent mothers aged between 15-19 years old who had first child aged between 1 month to 1 year and attended family planning at Buddhasothorn Hospital, Chachoengsao. The researcher had chosen 13 samples that scores in emotion regulation lower the 25th percentile and classified as the experimental group. The instruments used in this study emotion regulation and solution focus brief counseling program. The experiment was conducted in 45-60 minutes, total of 8 sessions. The two-factor experiment with repeated measures on one factor design was used in this research. The data collection procedure involved three phases: the pre-test, the post-test, and the follow-up. The data were analyzed by Single-Factor Experimental Having Repeated Measures on the Same Elements and tested the difference in pairwise with Bonferroni’s method.
The results showed that the adolescent mothers who attended in counseling program have scored in post – test and follow - up higher than pre – test with statistically significant at .05 levels.